กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโภชนาการในชุมชน ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L8008-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุข ฯเทศบาลเมืองสตูล
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 300,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรัตนา เจ๊ะลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัย( อายุ0 – 72เดือน )เป็นวัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเร็วมากทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อวัยวะที่เจริญมากที่สุดในระยะนี้คือสมอง และเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหาร ซึ่งผลเสียจากการขาดสารอาหารนั้นเด็กจะมีการพัฒนาการสมองได้น้อย สติปัญญาต่ำ การเรียนรู้ช้ามักพบว่าเด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีปัญหาขาดสารอาหารมากกว่าวัยอื่นๆและเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายอัตราป่วย อัตราตาย จากโรคต่าง ๆ สูงดังนั้นจึงได้มี ระบบการเฝ้าระวังภาวะขาดสารอาหารโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของเด็กเพื่อติดตามและการวางแผนแก้ไข
การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น เป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้รู้สถานการณ์ และดำเนินการส่งเสริมภาวะโภชนาการ ป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการเน้นการติดตามเป็นรายบุคคลการดำเนินงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในพื้นที่ตำบลพิมาน ดำเนินการในพื้นที่ที่มี อสม. ทั้ง 20 ชุมชน โดยอสม. จะดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กรายบุคคล ในพื้นที่เป้าหมายที่รับผิดชอบ และบันทึกพร้อมแปลผลลงในแบบรายงานโภชนาการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม นำข้อมูลลงบันทึกรายงานผลการดำเนินงานลงในโปรแกรม เพื่อแปลผลข้อมูลเจริญเติบโตของเด็กโดยแสดงในรูปแบบการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักการเจริญเติบโตด้านส่วนสูงและการเจริญเติบโตด้านภาวะอ้วน – ผอมแต่การแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ ได้ใช้ผลจากการแปลผลการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักเป็นเกณฑ์ และจากรายงานการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0–72เดือน ในพื้นที่ตำบลพิมานปีงบประมาณ 2558จำนวน4 งวดสรุปการแปลผลการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักดังนี้
งวดที่ 1 เด็กได้รับการชั่งน้ำหนักทั้งหมด 603คนน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์36คน คิดเป็นร้อยละ 5.97
งวดที่ 2 เด็กได้รับการชั่งน้ำหนักทั้งหมด 575 คนน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 46คน คิดเป็นร้อยละ 8.0
งวดที่ 3 เด็กได้รับการชั่งน้ำหนักทั้งหมด589คน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์38คน คิดเป็นร้อยละ 6.45 งวดที่ 4 เด็กได้รับการชั่งน้ำหนักทั้งหมด693คน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์69คน คิดเป็นร้อยละ 9.95 จากรายงานเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ พบว่าในรายงวดที่1-3 ยังสุงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนดคือร้อยละ7 ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ ผู้เลี้ยงดูไม่มีความรู้ด้านโภชนาการ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นเทศบาลเมืองสตูลได้เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จึงได้จัดโครงการโภชนาการในชุมชนขึ้น เพื่อสนับสนุนส่งเสริมสุขภาพให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น และเพื่อให้ผู้เลี้ยงดูเด็กปรับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการติดตามเฝ้าระวังและแก้ไขภาวะโภชนาการของเด็กในชุมชน

 

2 เพื่อให้เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับสารอาหารเสริมตามความเหมาะสม

 

3 เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กอายุ0 – 72เดือนทีพบภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ตามแนวทางการส่งเสริมการเจริญเติบโตและส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. ดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง วัดรอบศรีษะ เด็กอายุ0 – 72เดือน ทุกชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและติดตามภาวะโภชนาการ ทุก3เดือนส่งเจ้าหน้าที่แปรผลและสรุปผลการดำเนินงาน ส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ทุก3เดือน งวดที่ 1 เดือนตุลาคม– เดือนธันวาคม
งวดที่ 2เดือนมกราคม –เดือนมีนาคม
งวดที่ 3เดือนเมษายน– เดือนมิถุนายน
งวดที่ 4เดือนกรกฎาคม– เดือนกันยายน
3.ให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่ผู้ปกครองที่มีบุตรอายุ 0 -72 เดือนในพื้นที่ทั้ง20ชุมชน
4.ให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ หรือผู้ปกครองของเด็กที่มีภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และน้ำหนักมากเกินเกณฑ์เในพื้นที่ 20 ชุมชน
5.เด็กที่มีปัญหาน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ต้องได้รับการติดตามชั่งน้ำหนักทุกเดือน หากพบปัญหาน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เรื้อรังต้องได้รับการแก้ไขตามแนวปฏิบัติการดูแลเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ปัญหาเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับการแก้ไขจนมีน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ
  2. ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้เรื่องโภชนาการ และตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
  3. อาสาสมัครมีศักยภาพในการปฏิบัติงานเฝ้าระวังการเจริญเติบโต และร่วมวางแผนแก้ไขปัญหา
  4. ผู้ปกครองสามารถเลี้ยงดูเด็กได้ถูกต้องจำนวนเด็กที่ชั่งน้ำหนัก มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ปกติ เกินร้อยละ 90
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2559 13:11 น.