กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยเข่าเสื่อม ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ 63-L3329-2-39
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขสาขาแพทย์แผนไทย
วันที่อนุมัติ 2 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,526.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรีคนึง ศรีเจ้า
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้อเนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และข้อที่เสื่อมมากที่สุดคือข้อเข่า เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่ต้องรองรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังทำหน้าที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึง การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนักและมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่าทำให้มีอาการปวด บวม แดงร้อนที่เข่า ซึ่งเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงการเสื่อมในกลุ่มอายุที่มีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ตำแหน่งของข้อที่มีการเสื่อม ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อมือ กระดูกสันหลัง และข้อเท้า แต่ข้อที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเจ็บป่วย และต้องเข้ารับบริการมากที่สุด คือ ข้อเข่า ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยทั่วไปจะรับการรักษาด้วยยา เช่น ยาแก้ปวดลดการอักสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งยาดังกล่าวหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย และความดันโลหิตสูง คลินิกแพทย์แผนไทยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่านโลด ได้ตระหนักถึงการลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน ที่เป็นสาเหตุผลข้างเคียงของยาดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต จึงนำศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม โดยจัดเป็นโปรแกรมบรรเทาอาการปวดเข่า ซึ่งมีกิจกรรม คือการนวดกดจุดสัญญาณ, การใช้สมุนไพรพอกเข่า ท่าบริหารกล้ามเนื้อด้วยท่าฤาษีดัดตน และการให้คำแนะนำ เพื่อลดอาการปวดเข่า อีกทั้งช่วยลดปัญหาผลข้างเคียงจากการใช้ยาแผนปัจจุบัน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่านโลด จึงได้จัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อบำบัดผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อมให้มีอาการปวดลดลง ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและสามารถใช้สมุนไพรในท้องถิ่นนำมาทำยาพอกเข่าตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และตระหนักถึงคุณค่าในภูมิปัญญาไทยอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อบำบัดผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อมให้มีอาการปวดลดลง ๒. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและสามารถใช้สมุนไพรใน ท้องถิ่นนำมาทำยาพอกเข่าใช้ที่บ้านเองได้ ๓. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นและการดูแลสุขภาพแบบแพทย์แผนไทย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. จัดทำโครงการ/เสนอขออนุมัติโครงการ ๒. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ๓. จัดทำตามแผนรายละเอียดโครงการ
  ๓.๑ จัดทำแบบประเมินการตรวจคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมในประชนชนอายุ ๕๐ ปีขึ้นไปในเขตรพ.สต บ้านด่านโลด   ๓.๒ จัดทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมและผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดเข่าในเขตรพ.สต บ้านด่านโลดมาเข้าร่วมโครงการ   ๓.๓ จัดกลุ่มให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองในการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อลดอาการปวดเข่า สาธิตการทำยาพอกเข่าสมุนไพร สอนการนวดด้วยตนเอง สาธิตการบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน และการให้คำแนะนำ
  ๓.๔ แจกแผ่นพับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม   ๓.๕ ประเมินผลจากการทำแบบสอบถามก่อนเข้าการอบรม หลังการอบรม ประเมินจาก Pain score ก่อน หลัง และประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ๔. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวดเข่าลดลงจากเดิมและไม่เป็นอุปสรรคในการทำกิจวัตรประจำวัน ๒. ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและสามารถบรรเทาอาการปวดเข่า ด้วยตนเองได้ ทำให้ประชาชนเข้าถึงงานบริการด้านการแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการสาธารณสุขมากขึ้น ๓. มีการนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2563 10:58 น.