กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตาดีกาเกาะครกปลอดไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
รหัสโครงการ 63-L8287-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)เกาะครก
วันที่อนุมัติ 24 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 16,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมจิตร์ หลงมิหนา
พี่เลี้ยงโครงการ นายกาดาฟี หะยีเด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 16,000.00
รวมงบประมาณ 16,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขปัญหาหนึ่งของตำบลเทพา ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาตำบลเทพา พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทุกปี และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และพบการระบาดครั้งไหญ่ในปี 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 95 ราย อัตราป่วย 902.30 ต่อประชากรแสนคน ปี 2560 พบผู้ป่วยจำนวน 21 ราย อัตราป่วย 177.35 ต่อประชากรแสนคน ปี 2561 พบผู้ป่วยจำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 59.12 ต่อประชากรแสนคน ส่วนปี 2562 พบผู้ป่วยจำนวน 24 ราย อัตรป่วย 202.69 ต่อประชากรแสนคน และคาดการณ์ว่าปี 2563 นี้จะพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหลายพื้นที่ของอำเภอเทพา การป้องกันและควบคุมโรคใข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน เนื่องจากแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายส่วนใหญ่อยู่บริเวณที่พักอาศัยของประชาชนทั้งภายในบ้าน บริเวณนอกบ้าน และบริเวณโรงเรียน ซึ่งหาก นักเรียน ครู ประชาชนทุกคนมีความตระหนักและร่วมกันดูแล สภาพแวดล้อมให้ดีปราศจากแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย จะทำให้เป็นโรงเรียน ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน
      ดังนั้นศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตาตีกาเกาะครก จึงได้จัดทำโครงการตาดีกาเกาะครกปลอดไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ โรคไข้เลือดออก และป้องกันควบคุมโรคที่ถูกวิธีและเหมาะสม

มีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักถึงการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน

80.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน

มีก่ารลดอัตราป่วยและสามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนได้

80.00
3 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายที่โรงเรียน บ้าน และชุมชนของนักเรียนได้อย่างต่อเนื่อง

มีการดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายที่โรงเรียน บ้าน และชุมชนของนักเรียนได้อย่างต่อเนื่อง

80.00
4 เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน

ค่า CI =0 ในโรงเรียน

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 16,000.00 1 16,000.00
5 ก.ย. 63 อบรมสร้างความรอบรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก 120 16,000.00 16,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนลดลง
  2. ค่า Cl=0 ในโรงเรียน
  3. ผู้บริหารโรงเรียนตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือกออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2563 11:43 น.