กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5267-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ป่าขาดและรพ.สต.สว่างอารมณ์
วันที่อนุมัติ 8 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 34,365.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนัยนันท์ ทองสี่คลี่
พี่เลี้ยงโครงการ นายกิตติพงษ์ มุสิกะพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,100.469place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นอำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดของจังหวัดสงขลาและมีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-9 ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 จำนวนทั้งสิ้น 231 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 285.98 ต่อประชากรแสนคนไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต สถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลป่าขาดพบว่าปี 2562 จำนวน 5 รายที่ผ่านมาได้มีการดำเนินตามแนวทาง 3:3:1 5ป1ข ก็ยังไม่สามารถควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออกลงได้ ยังหลายประเด็นที่ทำให้เกิดผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเพื่อให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค ต้องมีการสร้างการมีส่วนร่วมพร้อมกับการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกแล้วมาร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ชุมชนมีมาตรการทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกตามที่ชุมชนกำหนด

ประชาชนในพื้นที่ตำบลป่าขาดมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับครัวเรือนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.กำหนดพื้นที่ในการดำเนินการโดยการจัดลำดับความเสี่ยง 1.1 สำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน บ้าน สถานที่ราชการและเอกชน 1.2 สรุปผลความชุกของแต่ละพื้นที่ 1.3 จัดลำดับพื้นที่ดำเนินการ ก่อน - หลัง 2.แจกทรายอะเบทให้กับประชาชนเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนตนเอง 3.ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่ในโรงเรียนและบ้านผู้ป่วย 4.ออกสอบสวนโรคเมื่อมีผู้ป่วยโดยทีมสอบสวนโรคตำบลป่าขาด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ชุมชนมีมาตรการทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกตามที่ชุมชนกำหนดได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2563 13:52 น.