กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดพุง ลดโรค(DPAC)
รหัสโครงการ 63-L8278-01-007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบันนังสตา
วันที่อนุมัติ 3 กันยายน 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2020 - 25 ธันวาคม 2020
กำหนดวันส่งรายงาน 5 มกราคม 2021
งบประมาณ 26,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอามีเนาะ ประดู่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.25,101.233place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจนโรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ได้แก่ข้อเข่าเสื่อมภาวะอัมพฤกษ์อัมพาตความดันโลหิตสูงเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจไขมันในเลือดสูงมะเร็งลำไส้โรคซึมเศร้าเป็นต้นและยังพบว่าการตายในผู้ที่อายุระหว่าง 20– 74ปีกว่าครึ่งหนึ่ง มีผลมาจากความอ้วนซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละ 17ล้านคนและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค เป็นภาระของครอบครัวและประเทศนอกจากนี้ยังปรากฏว่าร้อยละ 2-8ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลกระทบจากโรคอ้วนถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก๑๐ปีข้างหน้าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก จากสถิติประเทศไทยประเทศไทยมีภาระจากกลุ่มโรค NCDs ในสัดส่วนที่สูงกว่านานาชาติ โดยสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 300,000 กว่ารายในปี พ.ศ. 2552หรือ คิดเป็น 73% ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตและผลกระทบจากกลุ่มโรค NCDs มากกว่าทั้งโลกผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2552กับกลุ่มเป้าหมายประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ พบว่า21.4% เป็นโรคความดันโลหิตสูง และที่น่าเป็นห่วงคือ อัตราการรับรู้ว่า ตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง อัตราการเข้าถึงบริการ และอัตราการควบคุม โรคความดันโลหิตสูงได้นั้นค่อนข้างต่ำ 6.9% (3.2ล้านคน) มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อัตราการควบคุมได้ในกลุ่ม ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงยังอยู่ในเกณฑ์ไม่น่าพอใจ โดยเฉพาะประชากร ชายที่มีน้ำตาลในเลือดสูง พบว่า 56.7% ที่รู้ตัว และมีเพียง 27.1% ที่สามารถ ควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดได้19.4% หรือเกือบ 9 ล้านคน มีภาวะไขมันคลอเรสเตอรอลสูง โดยผู้หญิงมี ความชุกมากกว่าผู้ชายปี 2552 ประชากรไทยเกือบ 1 ใน 3 เข้าข่ายภาวะน้ำหนักเกิน ส่วนอีก 8.5% เข้าข่ายโรคอ้วนข้อมูลการสำรวจสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของคนไทยที่อายุ 15ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสัดส่วนผู้ที่เป็นโรคอ้วนในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา ในชาย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 4 เท่า(http://www.thaihealth.or.th/,11 กรกฎาคม 2559) โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) เป็นฆาตกรเงียบที่หลายคนคาดไม่ถึง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ปัจจุบันประชาชนในวัยทำงานส่วนใหญ่จะนั่งโต๊ะทำงานมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายและไม่ค่อยสนใจเรื่องอาหารเพราะมีประชุม มีอาหารว่าง มีงานเลี้ยงตอนเย็น กินไปคุยกันเรื่องงานไปรวมทั้งบริโภคอาหารหวานมัน และเค็มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากขนมขบเคี้ยว ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มประเภทกาแฟและน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาลแทนการดื่มน้ำเปล่าซื้ออาหารสำเร็จรูปประเภทถุงมีวางจำหน่ายหาซื้อง่าย ราคาถูก การโฆษณาอาหารที่ให้พลังงานสูง อาหารบริการด่วนและบริการส่งถึงบ้านทำให้อาหารที่ให้พลังงานสูงที่นานๆ เคยได้กินทีกลายเป็นสิ่งที่กินได้ทุกวัน และในการลดน้ำหนักของประชาชน ยังมีบางกลุ่มที่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารเช้า ซึ่งบางคนงดอาหารเช้าแต่ดื่มกาแฟแทน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง อาหารมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญและจำเป็นมาก ต้องรับประทานทุกวัน เพื่อกระจายพลังงานอาหารให้เหมาะกับความต้องการ นอกจากจะช่วยให้ร่างกายไม่หิวมากในช่วงบ่ายแล้ว ยังควบคุม ปริมาณอาหารในมื้อเย็นให้กินน้อยลงได้และยังพบว่าคนไทยกินผักผลไม้น้อย โดยเฉลี่ยกินผักและผลไม้ วันละ 270 กรัม ซึ่งต่ำกว่าปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัมต่อวัน และขาดการออกกำลังกาย จึงส่งผลให้คนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้น (กรมอนามัย ,2548)
ดังนั้น หน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลบันนังสตาจึงได้หาแนวทางแก้ปัญหาที่พบ จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดพุง ลดโรค(DPAC) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ในการลดน้ำหนัก และทำกิจกรรมร่วมกันส่งผลให้ประชาชนในตำบลบ่อทรายมีสุขภาพดี ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการตรวจสุขภาพประเมินสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ รวมทั้งการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง

เพื่อจัดบริการตรวจสุขภาพประเมินสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ รวมทั้งการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง

0.00
2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในประชาชนทั่วไปที่เสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญการส่งเสริมสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในประชาชนทั่วไปที่เสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญการส่งเสริมสุขภาพ

0.00
3 เพื่อสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ในการลดน้ำหนัก และทำกิจกรรมร่วมกัน

มีสถานที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในทุกหมู่บ้าน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เชิญประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการเพื่อร่วมให้ข้อมูล ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ และร่วมประเมินผลโครงการ
  2. เขียนแผนงาน/โครงการนำเสนอเพื่อขออนุมัติ
  3. เตรียมสื่อแผ่นพับ แบบประเมินความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ3อ.2ส. แบบประเมินความพึงพอใจ ไวนิลเรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโมเดลอาหารและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดโครงการ
  4. สำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ
  5. ประชาสัมพันธ์ทางสื่อทุกชนิด ทุกรูปแบบตามความเหมาะสม
  6. ประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรอื่นในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ
  7. พัฒนาคลินิกไร้พุงเพื่อให้บริการแก่ กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง
  8. ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ชั่งน้ำหนักน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณดัชนีมวลกายวัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ผู้ที่อายุ35ปีขึ้นไปจะได้รับการตรวจเลือดหาระดับไขมัน เพื่อวางแผนการดูแลได้อย่างตรงจุด
  9. ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง จำนวน 100 ราย เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยงและทดสอบสมรรถภาพทางกาย
  10. ติดตามและประเมินผลโครงการ
  11. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม 2.กลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจภาวะเสี่ยงของตนเอง เข้าใจวิธีการที่จะจัดการตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ยั่งยืน 3.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ขยายผลสู่ครอบครัว ชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ