กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้มาลาเรีย
รหัสโครงการ 63-L8278-01-012
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบันนังสตา
วันที่อนุมัติ 3 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2563 - 18 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 21,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพาตีเม๊าะ ฮามิดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.25,101.233place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมาลาเรีย ยังเป็นโรคสำคัญที่ทำให้ประชาชนของโลกเจ็บป่วยและเสียชีวิต แม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้นแต่อัตราตายจากมาลาเรียยังคงสูงและในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 627,000 คน โดยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากมาลาเรียขึ้นสมอง โดยข้อมูลสถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย ปีงบประมาณ 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 15 สิงหาคม 2562 พบรายงานผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย 5,130 ราย (เป็นคนไทย 3,665 ราย คิดเป็นร้อยละ 71) เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ณ ช่วงเวลาเดียวกัน (ปี 2561 พบผู้ป่วย 6,847 ราย) พบว่าจำนวนผู้ป่วยลดลงร้อยละ 25 จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ตาก ยะลา และกาญจนบุรี ส่วนชนิดของเชื้อที่พบส่วนใหญ่คือ เชื้อมาลาเรียไวแวกซ์ ร้อยละ 82 ส่วนเชื้อมาลาเรียฟัลซิปารัม พบเพียงร้อยละ 14
โดยอำเภอที่มีการระบาดมากที่สุดในจังหวัดยะลาคือ อำเภอบันนังสตา กรงปินัง และยะหา ตามลำดับการระบาดของโรคมาลาเรียมากที่สุดในอำเภอบันนังสตา คือ ตำบลตลิ่งชัน 26 ราย บาเจาะ 24 ราย และบันนังสตา 8 ราย ซึ่งได้มีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา แต่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสภาพของพื้นที่ของตำบลบันนังสตา มีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะแก่การเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงก้นปล่อง ปี พ.ศ. 2560 ตำบลบันนังสตามีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย จำนวน 610 ราย อัตราป่วย 3621.68 ต่อแสนประชากร ปีพ.ศ. 2561 ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือนมิถุนายน พบผู้ป่วยแล้วจำนวน 236 ราย อัตราป่วย 1015..26 ต่อแสนประชากรมีแนวโน้มลดลงจากปี พ.ศ. 2560 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน กับปี พ.ศ. 2560 อัตราป่วยลดลง 46.30 แต่ยังคงเป็นพื้นที่ระบาดสูงสุดของจังหวัด ของเขต และประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ 5 หมู่ 6 หมู่ 7 หมู่ 8 หมู่ 9 และหมู่ 10 จาการสำรวจพฤติกรรมป้องกันไข้มาลาเรียในพื้นที่ระบาดเมื่อปี งบประมาณ 2562 พบว่ามุ้งไปชุบสารเคมีเพื่อป้องกันยุงร้อยละ 40 ไม่เคยนอนในมุ้งที่ชุบสารเคมีร้อยละ 36.67 ไม่เคยทายากันยุงเวลาออกไปทำงานนอกบ้านร้อยละ 25 ไม่เคยสวมเสื้อแขนยาวกางเกงขายาวในเวลากลางคืนร้อยละ 15 หากค้างคืนในป่าไม่เคยทายากันยุงหรือกางมุ้งนอนร้อยละ 36.67 ไม่เคยสุมไฟไล่ยุงเวลาค้างคืนในป่าร้อยละ 41.67 ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงบางครั้งร้อยละ 65 ไม่เคยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงร้อยละ 10 ไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ฉีดพ่นสารเคมีไล่ยุงในบ้านร้อยละ 8.33 จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าประชาชนยังมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเรื่องการป้องกันไข้มาลาเรียซึ่งจะส่งผลให้การระบาดของไข้มาลาเรียมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลบันนังสตา จึงได้หาแนวทางแก้ปัญหาที่พบโดยการจัดทำโครงการ”รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้มาลาเรีย” โดยจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง มีความรู้และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียเพื่อป้องกันตนเองและครอบครัวจากโรคไข้มาลาเรีย

ร้อยละ 80 ของผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียที่ถูกต้องเหมาะสม

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียที่ถูกต้องเหมาะสม

0.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย

อัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 30

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. ชี้แจ้งรายละเอียดการดำเนินงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่หน่วยควบคุมโรคนำโดยแมลงอำเภอบันนังสตา (นคม.) , MP อสม.และผู้นำชุมชน
  3. กำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเนินโครงการ
  4. เตรียมสื่อแผ่นพับเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย แบบประเมินความรู้และพฤติกรรมโรคมาลาเรีย
  5. ดำเนินโครงการตามแผนที่กำหนด
  6. ประเมินผลการดำเนินงาน
  7. สรุปผลโครงการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียเพื่อป้องกันตนเองและครอบครัวจากโรคไข้มาลาเรีย 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียที่ถูกต้องเหมาะสม 3.อัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 30

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ