กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต "เรียนรู้ อยู่อย่างสง่า ชราอย่างมีคุณภาพ"
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเขาไพร สูงวัย เสริมสุข
วันที่อนุมัติ 3 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,475.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเสริฐ ดำสีแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นายสราวุท พรหมมินทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะกำลังจะกลายเป็นสังคมวัยชราโดยสมบูรณ์ในปี 2567 จากตัวเลขวิเคราะห์ของนักวิชาการประเทศไทย จะมีผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 20% หรือประมาณ 13 ล้านคน จากประชากรไทย 68 ล้านคน สำหรับตำบลเขาไพรมีประชากรทั้งหมด 3,056 คน มีผู้สูงอายุ 286 คน คิดเป็นร้อยละ 9.35 ของจำนวนประชากร ดังนั้นเพื่อรองรับและสร้างความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และหนึ่งในทางแก้ปัญหาคือ "โรงเรียนผู้สูงอายุ" สำหรับตำบลขาไพร ได้จัดตั้ง โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเขาไพรสูงวัย เสริมสุข ขึ้น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีการจัดการเรียนการสอน ทุกวันอังคารที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน ซึ่งเป็นไปตามหลักสูตรของโรงเรียน
      การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ควรพัฒนาสุขภาพทั้งด้านร่างกาย ได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพ การบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ การพัฒนาทางด้านอารมณ์ ได้แก่การสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ การฝึกสมาธิ การพัฒนาทางด้านสังคม อันได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อน การใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน การปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม การพัฒนาทางด้านสติปัญญา ได้แก่การเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง การเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในด้านต่างๆ สำหรับพื้นที่ตำบล  เขาไพรปัญหาความต้องการที่เกิดขึ้น คือผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง มีปัญหาด้านสุขภาพจิต มีภาวะซึมเศร้า เหงา เครียด วิตกกังวล จนเกิดเหตุฆ่าตัวตัว 1 ราย เมื่อต้นปี 2563 (ตามหลักวิชาการสาธารณะสุข ยอมให้มีการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้สูงอายุทั้งอำเภอรัษฎาได้เพียง 1 คน และตำบลเขาไพร ได้เกิดเหตุนางจำเนียร จันทรมาศ อาศัยอยู่หมู่ที่ 3 ได้เสียชีวิตลงเมื่อต้นปี 63 ที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าตำบลเขาไพร มีปัญหาเรื่องสุขภาพจิต) และสุขภาพกาย เกิดภาวะพิการในกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น มีจำนวนผู้ป่วยโรงเรื้อรังเพิ่มขึ้น
เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเป็นไปอย่าง มีคุณภาพ มีคุณค่า อย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับการจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาไพร โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเขาไพร จึงขอเสนอโครงการเรียนรู้ อยู่อย่างสง่า ชราอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ ในพื้นที่ตำบลเขาไพรต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ด้านสุขภาพการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนวัยเดียวกันและนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

 

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิธีการดำเนินงาน 2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับสมาชิกโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเขาไพร สูงวัย เสริมสุข เพื่อรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ 2.2 อบรมให้ความรู้ตลอดถึงแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ 2.3 สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ด้านสุขภาพการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต
  2. ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนวัยเดียวกันและนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  3. สามรถสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2563 16:13 น.