กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพ และการบริโภคสารเคมีจากพืช ผัก ผลไม้
รหัสโครงการ 2563-L3306-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 กันยายน 2020 - 30 กันยายน 2020
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2020
งบประมาณ 3,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทักษิณา เสนาทิพย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ขึ้นอยู่กับเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น
    ประชากรส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ80 ของพื้นที่ทั้งหมด ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ปลูกพืชผัก ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง จากผลการคัดกรองภาวะเสี่ยงในเกษตรกรที่ใช้สารเคมี ปี 2462 พบว่า จำนวนกลุ่มเสี่ยง 153 คน ผลการตรวจเลือดระดับปกติ จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 13.73 ระดับปลอดภัยจำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 27.6 ระดับมีความเสี่ยง จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 20.92 และระดับไม่ปลอดภัย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 2.61 (ข้อมูลจากการตรวจเลือดหาสารเคมีในเกษตรกรปี 2562)
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบด้านสุขภาพโดยตรง    ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน โล๊ะจังกระ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  1. จำนวนเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ ๖๐         2. กลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมอบรมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีแก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและผู้บริโภคผัก ร้อยละ 80
0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

๑. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด คิดเป็นร้อยละ ๑๐         ๒. ประเมินผลจากผลการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด เปรียบ ๒ ครั้ง

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
  1. จำนวนเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ ๖๐
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 3,000.00 2 3,000.00
7 - 21 ก.ย. 63 ตรวจสารเคมี 120 3,000.00 3,000.00
23 ก.ย. 63 ตรวจสารเคมี ครั้งที่ 2 0 0.00 0.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)     ๑. ก่อนดำเนินการ         ๑.๑ สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในเขตรับผิดชอบ
        ๑.๒ ประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อร่างรูปแบบ และกำหนดแนวทางการจัดโครงการ         ๑.๓ จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ         ๑.๔ ประสานกลุ่มเป้าหมายการเข้าร่วมโครงการ         ๑.๕ แจ้งประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายผู้ที่สนใจการเข้าร่วมกิจกรรม และชี้แจง กำหนดการ     ๒.ระยะดำเนินการ
        ๒.๑ ตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ ๑         ๒.๒ แจ้งผลการตรวจเป็นรายบุคคล         ๒.๓ แยกประเภทกลุ่ม และจัดทำทะเบียนตามผลการตรวจ
        ๒.๔ นำกลุ่มเสี่ยง เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
        ๒.๕ ตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ ๒     ๓.หลังการดำเนินการ         ๓.๑ รวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นเล่ม     ๓.๒ ติดตาม ทบทวน ประเมิน และสรุปผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช     ๒. กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช     ๓. กลุ่มเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2020 17:31 น.