กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
รหัสโครงการ 2563-L3306-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านพูด
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายคอง พุมนวล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายเป็นจำนวนมาก และบางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญและได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน และได้กำหนดให้โรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนเพื่อดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายให้คลอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง       สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากรายงานทางระบาดวิทยา ๕ ปี ย้อนหลัง สำหรับเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู พบว่า ปี พ.ศ.๒๕๕๘ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 57.87 ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 57 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 1,037.41 ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี พ.ศ.๒๕๖๐ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 27 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 517.24 ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี พ.ศ.๒๕๖๑ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 10 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 93.82 ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และ ปี พ.ศ.๒๕๖๒ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 31 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 567.76 ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต โดยในปี 2559 – 2562 นี้ มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกใกล้เคียงกับอัตราป่วยของอำเภอกงหราที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกณฑ์ที่กำหนดคือ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงร้อยละ ๒๐ ของค่ามัธยฐานของอัตราป่วยย้อนหลัง ๕ ปี อัตราป่วยไม่เกิน ๘๐ ต่อแสนประชากรต่อปี และเกณฑ์สำคัญที่นำมาพิจารณาคือ ค่าร้อยละของครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลาย (HI) ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐ ของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งหมด และโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิด ปลอดลูกน้ำยุงลาย (CI=๐) ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด จึงเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมโรคให้รวดเร็ว ให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค แต่จากการดำเนินงานควบคุมโรคนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด ยังขาดอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน คือเครื่องพ่นกำจัดยุงตัวแก่ เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อโรคจากยุงที่อาจมีเชื้อและนำไปสู่คนอื่นต่อไป ดังนั้น เพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างทันท่วงที โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยการจัดการซื้อครุภัณฑ์เครื่องพ่นละอองฝอย (ULV) สะพายหลัง เพื่อใช้ในการกำจัดยุงตัวแก่ไม่ให้สามารถไปแพร่เชื้อ ซึ่งเป็นวิธีการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในกรณีเกิดโรคในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายที่ 2 ตลอดช่วง 4 สัปดาห์ ต่อจากกรณีเกิดโรครายแรกในพื้นที่หมู่บ้านเดียวกัน

0.00
2 เพื่อให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานควบคุมโรคฯ ที่พร้อมในการใช้งานอย่างรวดเร็วและทันท่วงที

ความรวดเร็วในการออกควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยการออกควบคุมโรคด้วยวิธีพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากได้รับแจ้งการเกิดโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 80,000.00 3 80,000.00
12 ก.ย. 63 กิจกรรมการป้องกันโรคล่วงหน้า 0 0.00 0.00
15 ก.ย. 63 จัดซื้อครุภัณฑ์ 0 80,000.00 80,000.00
21 ก.ย. 63 กิจกรรมการควบคุมโรค 0 0.00 0.00

๑. เสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
      ๒. เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
๓. จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องพ่นละอองฝอย (ULV) สะพายหลัง ตามระเบียบราชการ
๔. แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบการใช้และดูแล บำรุงรักษา เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุง ๕. จัดอบรมความรู้การใช้เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุงแบบพ่นละอองฝอยแก่กรรมการผู้รับผิดชอบ เพื่อการใช้งานอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ การยืดอายุการใช้งานของเครื่อง ๖. ดำเนินการพ่นเคมีกำจัดยุงลาย ในพื้นที่เกิดโรคตามเกณฑ์การควบคุมโรคที่กำหนด
๗. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  2. เพื่อให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานควบคุมโรคฯ ที่พร้อมในการใช้งานอย่างรวดเร็วและทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2563 08:43 น.