กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านไทรพอน ต.ดอนประดู่ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ประจำปี ๒๕๖๐

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านไทรพอน ต.ดอนประดู่ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ประจำปี ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-L3339-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหารเทา
วันที่อนุมัติ 5 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านไทรพอน
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยพรด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,100.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของคนไทยส่วนใหญ่ มีผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง อาทิ เช่น สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปัญหาการบริโภคที่ไม่เหมาะสมและนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรัฐบาลโดยกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนว่า ลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ ๕ อันดับแรก คือ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง และหลอดเลือดสมอง เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และลดรายจ่ายด้านสุขภาพ เนื่องจากมีปัจจัยสาเหตุครอบคลุมทั้งเรื่องของพฤติกรรมการบริโภค ปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน
จากผลการตรวจสุขภาพเบื้องต้นเพื่อคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากร อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในหมู่บ้านพื้นที่รับผิดชอบรพ.สต.บ้านไทรพอน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗-พ.ศ.๒๕๕๙ พบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ร้อยละ ๑๓.๗๙,๒๐.๗๕,๑๘.๒๑ ตามลำดับ และเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๕๐.๐๐,๕๘.๘๙,๖๒.๙๓ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าหากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพก็จะเกิดเป็นผู้ป่วยรายใหม่อีกจำนวนมาก และจะเกิดปัญหาทางสุขภาพอื่นๆตามมา เช่น เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง เป็นภาระของครอบครัวหรือผู้ดูแล ฯลฯ ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง โดยความร่วมมือของเทศบาลตำบลหารเทาและรพ.สต.บ้านไทรพอน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เพื่อดำเนินการในเขตพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.บ้านไทรพอน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเองและเป็นการลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ ๙๐

๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง

2 ๒.เพื่อให้มีการจัดทำทะเบียนและสมุดบันทึกสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงทุกคน

 

3 ๓.เพื่อให้มีการติดตามภาวะสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานทุกคน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอพิจารณาอนุมัติโครงการฯ ๒.ประชุมชี้แจงโครงการฯ แก่บุคคลากรสาธารณสุข อสม. ผู้นำชุมชน และกลุ่มเสี่ยง ๓.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และอ้วนลงพุง) ๔.จัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ ๕ ฐาน คือ อาหารเพื่อสุขภาพ ฉลาดเลือกฉลาดซื้อด้วยฉลาก โภชนาการ จัดเมนูอาหารตามจำนวนพลังงานที่สมาชิกกลุ่มแต่ละคน ควรได้รับใน ๑ วัน การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และบริหารอารมณ์และสมาธิบำบัด ๕.ติดตามต่อเนื่องและค้นหาบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เดือนละ ๑ ครั้ง ต่อเนื่อง ๕ เดือน ๖.สรุปและประเมินผล และรายงานผลการดำเนินโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความรู้และทักษะ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมได้รับการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เป็นการลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ และโรคเบาหวานรายใหม่ รวมทั้งสามารถลดจำนวนประชากรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2560 15:24 น.