กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การอบรมการเสริมสร้างสุขภาพช่องปากของเด็กให้เด็กและผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทต.ตันหยง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กรกฎาคม 2560 - 6 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองศึกษาเทศบาลตำบลตันหยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลตันหยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จัดตั้งขั้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมและสติปัญญา ให้เหมาะสมตามวัยแก่เด็กก่อนเกณฑ์ อีกทั้งเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กเพื่อจะเข้ารับการศึกษาต่อในระดับที่สูงต่อไป ปัจจุบันมีเกณฑ์เข้ารับการเตรียมความพร้อมทั้งสิ้น 59 คน ในปัจจุบันปัญหาทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งทุกหน่วยงานต้องมาช่วยกันดูแลสภาวะสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนเกณฑ์ จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ในปี 2559 เด็กกลุ่มอายุ 2 -4 ปี ทั้งหมด จำนวน 56 คน เป็นเด็กที่สุขภาพช่องปากที่ดี จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 34เด็กที่มีปัญหาฟันผุ จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 66 ซึ่งจากผลของการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ดังกล่าวปรากฏว่ายังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเด็กเล็กคุณภาพ (ตามมาตรฐานกำหนดว่าผ่านเกณฑ์ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 57 ของเด็กทั้งหมด) ทั้งนี้ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านบากงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาพช่องปากเด็ก เพราะถือว่าหากเด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี ก็จะส่งผลต่อสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจที่ดีตามมา ดังนั้นในปัจจุบันจึงได้เสริมสร้างกระบวนการให้ความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพช่องปากในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่านิทานเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากที่ดี ก็จะส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก การฝึกแปรงฟันและสาธิตการแปรงฟันให้เด็กดู การให้เด็กได้แปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหารเที่ยง แต่กิจกรรมเหล่านี้ยังไม่เพียงพอต่ออัตราการเกิดโรคฟันผุของเด็กได้ เพราะแม้ว่าเราจะสอนหรือให้เด็กได้แปรงฟันอย่างถูกวิธีเพียงใด หากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและตัวเด็กก็ไม่สามารถที่จะป้องกันโรคฝันผุให้ได้ผลอย่างเต็มที่ ดังนั้นในการที่จะป้องกันโรคฟันผุในเด็กก่อนเกณฑ์ให้ได้ผล จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่ายในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะความร่วมมือจากครอบครัว ครูศูนย์เด็ก และตัวของเด็กเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะการดูแลความสะอาดในช่องปากที่ถูกต้องให้แก่เด็กและผู้ปกครอง โดยผู้ปกครองไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของเด็กที่มาเรียนในแต่ละวัน

 

2 ๒. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีทัศนะคติที่ถูกต้องในการร่วมกันรักษาความสะอาดสุขภาพช่องปากและลดพฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภคอาหารหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมทั้งหมด

 

3 ๓. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดในช่องปากให้แก่เด็กในเวลาตอนเช้าและตอนเย็นหลังเลิกเรียน

 

4 4. เพื่อให้เด็กได้มีสุขภาพฟันดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนเด็กทั้งหมด

 

5 5.เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
6 ก.ค. 60 อบรมการเสริมสร้างสุขภาพช่องปากของเด็กและผู้ปกครอง 120 20,000.00 20,000.00
รวม 120 20,000.00 1 20,000.00

๑. ตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนเริ่มโครงการเพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากภายหลังที่ได้ดำเนินการตามโครงการ ๒. เขียนโครงการและเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ 3. ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินการ ๔. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังนี้
๔.๑. จัดกิจกรรมประกวด “หนูน้อยสุขภาพฟันดี ชีวีสดใส ไร้ฟันผุ” ๔.๒. จัดกิจกรรมประกวดเล่านิทานโดยผู้ปกครอง 4.3. ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนเกณฑ์และผู้ปกครอง 4.4. สรุปผลการประกวดกิจกรรมต่างๆพร้อมมอบของรางวัล ๕. ประเมินผลหลังจากที่ได้ดำเนินกิจกรรมแล้ว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองและเด็กก่อนเกณฑ์มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กที่ถูกวิธี และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง 2. เด็กในศูนย์ก่อนเกณฑ์มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟันที่ถูกวิธีและการรับประทานขนมสำเร็จรูปลดน้อยลงส่งผลให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี 3. ผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดช่องปากให้แก่เด็กในช่วงเวลาตอนเช้าและตอนเย็นหลังเลิกเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2560 16:04 น.