กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ตรวจเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเกษตรกร
รหัสโครงการ 63-L5258-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ห้วยบอน
วันที่อนุมัติ 31 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 19,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนพสรณ์ วงษ์ขจรเลิศเมธา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.057place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ประชากรส่วนใหญ่ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.นากัน ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม ประกอบด้วยพื้นที่ทำนา ทำไร่ ทำสวนยางพารา ผลไม้และผัก ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่ แสดงว่าเกษตรกรในเขต รพ.สต.นากัน ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้น สถานบริการในเครือข่าย จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขต รพ.สต.นากัน จึงได้จัดทำโครงการตรวจเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเกษตรกร รพ.สต.นากัน  ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.นากัน ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหา ประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพผู้เสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายผู้เสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้รับการคัดกรองตรวจสุขภาพโดยการเจาะเลือด 100%และได้รับส่งต่อและรักษา

0.00
2 เพื่อให้สุขศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวของผู้ที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายผู้เสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้รับความรู้ มีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 19,800.00 0 0.00
21 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรม 100 19,800.00 -
  1. สร้างเครือข่ายการดำเนินงาน
  2. ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ นัดกลุ่มเป้าหมาย
  3. จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์การตรวจเลือด
  4. รณรงค์ตรวจเลือดหาสารกำจัดศัตรูพืช
  5. แจ้งผลการตรวจให้ประชาชนรับทราบพร้อมแนวทางการปฏิบัติตัว
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขต รพ.สต.นากัน
    1. เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2563 11:09 น.