กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ขจัดภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ประจำ รพ.สต.ตาฆอ
วันที่อนุมัติ 28 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 12,910.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสิริรดา มือและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.559,101.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน/สังคมตามลำดับ การระบาดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ข้อมูลจากระบบรายงาน  การเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2562 - 19 ธันวาคม 2562 พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 2,999 ราย มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 4 ราย อัตราป่วยสูงสุดอันดับแรก คือ อำเภอเมืองสงขลา รองลงมาคือ อำเภอสะทิงพระ จะนะ นาทวี เทพาและ สะบ้าย้อย ตามลำดับ พื้นที่ตำบล ธารคีรี ในปี 2562 พบมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 12 ราย โดยเป็นผู้ป่วยที่ได้รับรายงานจากโรงพยาบาลสะบ้านย้อย 11 ราย และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาสถานพยาบาลอื่น เป็นจำนวน 1 ราย โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลธารคีรี ยังคงมีการระบาดทุกปี ประกอบกับตำบลธารคีรีเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีลำคลองหลายสาย ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกตลอดทั้งปี   กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลธารคีรีร่วมกับ อสม.ในพื้นที่ตำบลธารคีรี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาฆอ ในพื้นที่ ได้ร่วมกัน เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก    มาตั้งแต่ 2558 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมกันป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ขจัดภัยไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบล ธารคีรี โดย ยึดหลัก มาตรการ ๕ ป. ๑ ข. โดยให้ประชาชนเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกระบาด ด้วยการกำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตและการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลธารคีรีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ     1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ 2. ส่งโครงการเข้าคณะอนุกรรมการเพื่อ พิจารณากลั่นกรองโครงการ 3. คณะกรรมการกองทุนฯประชุมพิจารณาโครงการ 4. อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ประชาชนทั่วไป และแกนนำนักเรียน เกี่ยวกับโรค 4. สนับสนุนเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำทั้ง 5 หมู่บ้าน 5. จัดทำเอกสารแผ่นพับ ไวนิล เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้แก่ชุมชนและโรงเรียน 6. จัดหาให้มีวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันยุงกัด เช่น สเปรย์กันยุง
7. ควบคุมการระบาดโดยกำจัดยุงพาหะ ด้วยวิธีพ่นหมอกควัน ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายและทุกครั้งเมื่อมีการรายงานผู้ป่วย 8. ประเมินผลการดำเนินโครงการโดยจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 9. สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการต่อที่ประชุมคณะกรรมการกองทุน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ได้มีการดูแลควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน ๒. ประชาชนในตำบลธารคีรีเกิดความตระหนักในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ๓. พื้นที่เสี่ยงได้รับการพ่นหมอกควันและพื้นที่ทั่วไปในตำบลธารคีรีได้รับการพ่นหมอกควันในช่วงต้นฤดูฝน ๔. ประชาชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ๕. เกิดภาคีเครือข่าย ได้แก่ ชุมชน และสถานศึกษา แกนนำนักเรียนในการ ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก ๖. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2563 11:25 น.