กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนการกิน สุขภาพยั่งยืน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ประจำ รพ.สต.ตาฆอ
วันที่อนุมัติ 28 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 87,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสิรินดา มือและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.559,101.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสุขภาพระดับประเทศที่สำคัญและทวีความรุนแรงขึ้นจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ที่มีความทันสมัยและการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทำให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ประชาชนรับเอาวัฒนธรรมการบริโภคจากเพื่อนบ้านที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย รวมถึงภาวะความเครียด จึงทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เกิดการเจ็บป่วย พิการและเสียชีวิต นอกจากนี้ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน 5 อันดับแรก ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่  โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง และไขมันอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สามารถจัดการภาวะทางจิตที่ดีและการออกกำลังกาย โดยเฉพาะออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอย่าสม่ำเสมอ เป็นที่ยอมรับว่ามีผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ เพราะทำให้เกิดความแข็งแรงของอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ได้แก่ หัวใจ ปอด ระบบการไหลเวียนโลหิต และช่วยทำให้ระบบอื่น ๆ ดีตามไปด้วย และที่สำคัญการออกกำลังกาย ยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวด้วย
กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เล็งเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพชีวิตที่ดีของคนไทยโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนจึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554-2563 ขึ้นพร้อมกับตั้งกลไกขับเคลื่อนระดับชาติ 2 คณะ คือคณะกรรมการอำนวยการยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยและคณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีเพื่อใช้เป็นกรอบชี้ทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการอย่างบูรณาการและเป็นเอกภาพทุกระดับและให้สามารถผลักดันสู่การปฏิบัติการให้เกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์การสาธารณสุขพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้มีมาตรฐานและคุณภาพเชื่อมโยงบริการภายใต้การจัดการทรัพยากรที่ดี กลยุทธ์ที่ 2.5 พัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ตัวชี้วัด จัดบริการ DPAC ในสถานบริการสาธารณสุข ร้อยละ 100 และร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อ DMHT ที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2 ส และลดเสี่ยงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 เพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่ลดเสี่ยงลดโรคลดภาวะแทรกซ้อนลดการพิการลดการตายลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งระดับบุคคลครอบครัวชุมชนสังคมและประเทศเพื่อก้าวสู่วิถีชีวิตพอเพียงสุขภาพพอเพียงระบบสุขภาพพอเพียงและสังคมสุขภาวะภายใต้สังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข       ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ทางชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาฆอ จึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนการกิน สุขภาพยั่งยืนปี 2563 ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงสูงหรือสงสัยป่วย และกลุ่มป่วยเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีมีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ลดภาวะแทรกซ้อนและการสูญเสียของประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมชี้แจงและวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. สร้างกระแสด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2 ส 2.1 เดินขบวนรณรงค์เพื่อสร้างกระแส 2.2 จัดมหกรรมสุขภาพ 2.2.1 ประกวดเมนูสุขภาพ 2.2.2 ประกวดหนังสั้น 3. อบรมเพิ่มศักยภาพให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
4. จัดกลุ่มเป้าหมายที่ได้จากการคัดกรอง HT/DM แยกเป็นกลุ่มต่างๆ 5. จัดกิจกรรมตามกลุ่ม 5.1 กลุ่มปกติ 5.1.1 สร้างความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ (Health literacy)
5.2 กลุ่มเสี่ยง 5.2.1 สร้างความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ (Health literacy) 5.2.2 จัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5.3 กลุ่มเสี่ยงสูงหรือสงสัยป่วย 5.3.1 สร้างความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ (Health literacy) 5.3.2 จัดกิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบเข้มข้น 5.4 กลุ่มป่วย 5.4.1 จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี 5.4.2 กิจกรรมเยี่ยมบ้าน 6. สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ       1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและเสี่ยงสูงหรือสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (DM/HT) ที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2 ส มีความรู้ สามารถดูแลตนเองได้ 2. กลุ่มป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ และสามารถลดภาวะแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2563 14:32 น.