กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัคซีนครอบคลุม โรคไม่เกิด เปิดทัศนคติ ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ประจำ รพ.สต.ตาฆอ
วันที่อนุมัติ 28 สิงหาคม 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2020 - 30 กันยายน 2020
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2020
งบประมาณ 42,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสิรินดา มือและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.559,101.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 207 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     นับตั้งแต่กระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุวัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนภาคบังคับไว้ในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศไทยเราเมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว โดยค่อยๆเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ค้นพบใหม่เข้าไปเรื่อยๆ จนครอบคลุมโรคสำคัญแทบทุกโรคในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เด็กๆ แทบทุกคนล้วนได้รับวัคซีนกันถ้วนหน้า ส่งผลให้โรคติดต่อร้ายแรงชนิดต่างๆ เช่น โปลิโอ คอตีบ ไอกรน และวัณโรค ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากโรคติดต่อเหล่านี้เป็นเชื้อโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน บางโรคการติดต่อเกิดขึ้นได้ง่าย ทำให้เกิดการกระจายอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า "การระบาด" ผลการระบาดแต่ละครั้งทำให้ผู้ติดเชื้อ พิการและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้นวัคซีนจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มหาศาลต่อมนุษย์     การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีความสำคัญที่จะเป็นตัวป้องกันการเกิดโรคในอนาคต ซึ่งแน่นอนที่สุดการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาในภายหลังการเกิดโรคไม่ว่าจะด้วยทฤษฎีทางการแพทย์หรือหลักการของศาสนา แทนที่จะให้เกิดค่อยคิดหาวิธี หายา หาทางรักษาในภายหลังอาจจะเป็นสิ่งที่สายเกินไปหากเกิดโรคแล้วไม่สามารถรักษาได้ สร้างความเจ็บปวด ทรมาน รำคาญใจและเสียเงินมากมายซึ่งไม่คุ้มค่าต่อผลเสียที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง หากมิได้รับภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆโดยการฉีดวัคซีน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคแก่ร่างกายซึ่งสามารถป้องกันโรคได้ 9 ชนิด ดังนี้ วัณโรค ตับอักเสบบี คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัด ไข้สมองอักเสบและฮิบ ซึ่งวัคซีนแต่ละตัวแต่ละชนิดควรได้รับตามช่วงอายุที่กำหนดและรับครบชุดตามเกณฑ์ เมื่ออายุครบ 5 ปี     ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาฆอ มีประชากรเด็กอายุ 0 - 5 ปี ( ไม่รวมนอกเขต) จำนวน 288 คน กลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ จำนวน 207 คน คิดเป็นร้อยละ 71.88 กลุ่มที่ได้รับวัคซีนช้ากว่าเกณฑ์อายุ 35 คน คิดเป็นร้อยละ 12.15 กลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนเนื่องจากเหตุผลบลาๆ 37 คน คิดเป็นร้อยละ 12.84 และกลุ่มที่ปฎิเสธวัคซีน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 2.36 ซึ่งพบว่ายังเป็นปัญหาในการดูแลสุขภาพของเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาฆอ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค จึงจัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็ก 0- 5 ปี เพื่อให้การพัฒนางานสาธารณสุขของตำบลตาฆอ มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและแนวโน้มสุขภาพอนามัยอันจะก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านอื่นฯอย่างต่อเนื่องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้เด็กอายุครบ 1 ปี, 2 ปี , 3 ปีและ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ 2.เพื่อสร้างแกนนำด้านการป้องกันโรคด้วยวัคซีน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.เด็กอายุครบ 1 ปี, 2 ปี , 3 ปีและ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 2.มีแกนนำด้านการป้องกันโรคด้วยวัคซีน จำนวน 1 กลุ่ม ไม่น้อยกว่า 20 คน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)       1.ประชุมชี้แจงโครงการและวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.อบรมแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขทุกคน 3.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย เด็กแรกเกิด-5 ปีในพื้นที่รับผิดชอบ 4.จัดกิจกรรมตามกลุ่ม 4.1 กลุ่มที่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
4.1.1 สร้างแรงจูงใจและขวัญกำลังใจ 4.2 กลุ่มที่ได้รับวัคซีนช้ากว่าเกณฑ์ 4.2.1 สร้างแรงจูงใจและขวัญกำลังใจ 4.2.2 จัดอบรมเพิ่มความรอบรู้ด้านวัคซีน 4.3 กลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน (ด้วยเหตุผลบลาๆ) 4.3.1 จัดคลินิกวัคซีนเคลื่อนที่ 4.4 กลุ่มที่ปฏิเสธวัคซีน 4.4.1 จัดเวทีเสวนา 4.4.2 เยี่ยมบ้านเชิงรุก       5.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ     1. เด็กอายุครบ 1 ปี, 2 ปี , 3 ปีและ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ 2. มีแกนนำด้านการป้องกันโรคด้วยวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2020 14:43 น.