กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลด ละ เลิกบุหรี่ ในชุมชน
รหัสโครงการ 63-L5258-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.นากัน
วันที่อนุมัติ 31 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 20,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนพสรณ์ วงษ์ขจรเลิศเมธา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.057place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่นับเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากร เช่น โรคมะเร็งปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือด เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ถึงแม้ขณะนี้จะมีความตื่นตัวถึงอันตรายจากการสูบบุหรี่มากขึ้นและรัฐบาลมีมาตรการต่างๆ ในการควบคุมการบริโภคยาสูบที่ค่อนข้างเข้มแข็ง แต่พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนไทย ในขณะนี้ลดลงเพียงเล็กน้อย (ไม่ถึงร้อยละ 5) เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากประเทศไทยไม่มีการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างเป็นระบบ และไม่ทั่วถึง จากการประเมินสถานการณ์ดังกล่าวพบว่าหากบุคคลเหล่านี้ไม่เลิกสูบบุหรี่ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคอันสืบเนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 หรือกว่า 2 ล้านคน
พื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.นากัน ตำบลบ้านโหนด จำนวนประชากรทั้งหมด 2,921 คน และประชากร 15 ปีขึ้นไป จำนวน 2,399 คน เพศชาย จำนวน 1,171 คน  เพศหญิง จำนวน 1,228 คน  พฤติกรรมของคนสูบบุหรี่ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.นากัน ตำบลบ้านโหนด สามารถสูบบุหรี่ได้ทุกสถานที่ ไม่มีพื้นที่กำหนดเฉพาะ จึงมีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้น และผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ก่อนแล้วมีโอกาสสูบติดต่อจำนวนหลายมวนด้วยความเคยชิน และประเด็นสำคัญคือทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับพิษควันบุหรี่ ซึ่งมีภาวะเสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่แตกต่างจากคนสูบบุหรี่หรืออาจจะมากกว่าคนสูบบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์และช่วยให้สมาชิกในชุมชนเลิกบุหรี่ได้

มีจำนวนผู้ติดบุหรี่เข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่มากขึ้น

0.00
2 เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชน

ไม่มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชน ในปีงบประมาณ2563

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 20,600.00 0 0.00
21 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรม 50 10,200.00 -
22 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมรณรงค์ 100 10,400.00 -
  1. ตั้งคณะทำงานชุมชนปลอดบุหรี่ และจัดประชุมคณะทำงาน     2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบและให้ความร่วมมือความสนใจเข้าร่วมโครงการ
  2. สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายทุกครัวเรือนด้วยแบบสำรวจก่อนและหลังการดำเนินงานโครงการ (ใช้แบบฟอร์มการเก็บข้อมูล) และคืนข้อมูลสู่ชุมชน
  3. จัดทำทะเบียน กลุ่มติดบุหรี่ กลุ่มเสี่ยง รวมถึงกลุ่มประชาชนที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนร้านค้าขายบุหรี่ในชุมชน ร้านขายบุหรี่ที่ใกล้กับสถานศึกษา ฯลฯ
  4. สนับสนุนให้ชุมชนจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นชุมชนปลอดบุหรี่ และส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมาย จัดโซนนิ่งเขตสูบบุหรี่/ไม่สูบบุหรี่ 5.1 จัดทำนโยบายและประกาศ ชุมชนปลอดบุหรี่ 5.2 จัดประชุมสมาชิกชุมชน เพื่อแจ้งเรื่องการดำเนินงานตามโครงการ 5.3 จัดระบบเฝ้าระวังโดยแกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. ในกลุ่มเสี่ยง 5.4 ส่งเสริมให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น ร้านค้าในชุมชนห้ามขายบุหรี่ แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า18 ปี การห้ามติดป้ายโฆษณาบุหรี่
  5. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้เกิดความรู้ ความตระหนัก และค่านิยมที่ถูกต้อง โดยให้สอดคล้องกับปัญหาและวิถีวัฒนธรรมของชุมชน อย่างน้อย 2 ครั้ง
  6. จัดมุมความรู้ในศาลาวัด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ร้านค้าในชุมชน ให้มีสื่อ หนังสือ ที่ให้ความรู้แก่คนที่มีการศึกษาและวัยต่างๆ
  7. จัดงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่สอดคล้องกับงานบุญ ประเพณี หรือเทศกาลต่างๆ เช่น วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พ.ค. สงกรานต์ปลอดบุหรี่ และวันสำคัญทางประเพณีหรือเทศกาลต่างๆรณรงค์ “บ้านปลอดบุหรี่”จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง
  8. สนับสนุน ให้ความรู้ ช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการ และสร้างแรงจูงใจเลิกบุหรี่ “กลุ่มติดบุหรี่” 9.1 สนับสนุนสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มติดบุหรี่ให้เข้าร่วมโครงการ
    9.2 ร่วมมือกับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีคลินิกเลิกบุหรี่ เพื่อส่งต่อผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่เข้า
            รับคำปรึกษาแนะนำและรักษา 9.3 สนับสนุนสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มติดบุหรี่เลิกบุหรี่: รางวัลคนต้นแบบ (เลิกสูบบุหรี่) 9.4 สนับสนุนให้มีกลุ่ม/ชมรมเลิกบุหรี่
    9.5 จัดทำเอกสารให้ความรู้ สร้างความเข้าใจขั้นตอนการเลิกบุหรี่
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดละเลิกบุหรี่
    1. มีคนต้นแบบในชุมชนที่สามารถเลิกบุหรี่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2563 15:13 น.