โครงการYOUNG SMART หรือยังสามารถ
ชื่อโครงการ | โครงการYOUNG SMART หรือยังสามารถ |
รหัสโครงการ | 63-L6957-3-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลบาเระใต้ |
วันที่อนุมัติ | 19 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 89,110.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายยาการียา มะนุง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายมูหมัด อีอาซา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.539,101.693place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 412 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี ๒๕๖๗ เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กละวัยผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะที่อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มมขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยเนื่องจากผู้สุงอายุเป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน เพราะมีสุขภาพกายที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย เจ็บป่วย และเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและสังคม ทางศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุก ๆ ด้าน จึงได้จัดทำโครงการ YOUNG SMART หรือ “ยังสามารถ” โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุโดยเพิ่มแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมตามแบบผู้สูงอายุยุคใหม่ ห่วงใยใส่ใจสุขภาพเพื่อเป็นการเสริมสร้างกิจกรรมด้านการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ นำไปสู่การพัฒนาผู้สูงอายุไปสู่เป้าหมาย ให้เป็นผู้สูงอายุที่ทีคุณภาพทางสุขภาพร่างกาย โดยไม่เป็นภาระพึ่งพิงต่อสังคมและครอบครัวต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพ ร้อยละ ๘๐ ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมใหผู้สูงอายุได้มีการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำกิจกรรมด้านสุขภาพร่วมกัน ร้อยละ ๘๐ ของผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรมทางด้านสุขภาพร่วมกัน |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 824 | 89,110.00 | 2 | 89,110.00 | 0.00 | |
21 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ จำนวน ๔๑๒ คน จำนวน ๒ รุ่น แบ่งเป็นรุ่นละ ๒๐๖ คน | 412 | 89,110.00 | ✔ | 89,110.00 | 0.00 | |
21 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรมตรวจสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ โดย อสม.ในตำบลบาเระใต้ | 412 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 824 | 89,110.00 | 2 | 89,110.00 | 0.00 |
- เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณ
๒. ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
๓. จัดทำแผนในการดำเนินงาน
๔. ประสานงานกับวิทยากร/จัดหาวัสดุอุปกรณ์/สถานที่อบรม
๕. ดำเนินกิจกรรมตามวัน เวลาที่กำหนด ๖. ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงาน
- ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพ ได้รับการตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน และทำกิจกรรมด้านสุขภาพร่วมกัน
๒. ผู้สูงอายุได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลดภาวะความเครียด
๓. ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพ จิตใจและสังคม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2563 10:25 น.