กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะ ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ l2498-63-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนครินทร์ สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.703place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศกำลังเผชิญและต้องทุ่มเททรัพยากรในการจัดการปัญหาดังกล่าว ปัญหาขยะมูลฝอยนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเนื่องจากการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยี การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการแข่งขันในอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ผลิตพยายามพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้นจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของประชากรและการอยู่อาศัยในเขตเมืองซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดปริมาณขยะมากกว่าการอาศัยอยู่ในชนบท ส่งผลให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณขยะในชุมชนเพิ่มมากขึ้นโดยขาดการจัดการที่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ปัญหาขยะมูลฝอยก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางน้ำจากน้ำเสียที่รั่วไหลจากแหล่งเทกองขยะ หรือ ขยะที่ถูกฝังกลบอยู่ใต้ดิน ทำให้คุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน และใต้ดินแย่ลง มลพิษทางดินที่เกิดจากการปนเปื้อนของน้ำชะขยะหรือสารเคมีลงสู่พื้นดินมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ นอกจากนั้นขยะมูลฝอยบางชนิดใช้ระยะเวลาย่อยสลายนานหรือไม่ย่อยสลายและกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อมการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมายังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จากปัญหาดังกล่าว ทางชุมชนลุโบะตะแซ มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๓๐๘ ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด ๘๐๓ คน จากการสำรวจปริมาณขยะของชุมชน พบว่า มีปริมาณขยะมูลฝอย ประมาณ ๒,๕๐๐ กิโลกรัม/สัปดาห์ ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตประจำวันของคนในชุมชนจึงเป็นภาระหนัก ในการบริหารจัดการขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นมากมายทุกวัน ส่งผลให้มีประชาชนในชุมชนสภาพปัญหาที่เห็น คือ มีขยะมูลฝอยกระจายในที่ต่างๆ เช่น ริมถนน บริเวณที่สาธารณะ ทำให้ไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง โรคไข้เลือดออก
ดังนั้นทางชุมชนฯ เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกิดสัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรม โดยสอดคล้องกับพื้นที่และสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนในการจัดการขยะของภาคประชาชนอย่างมีส่วนร่วมร่วมกันเป็นหลัก เพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในการสร้างสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน ที่มีผลต่อสุขภาพที่ดี โดยร่วมกันลดขยะและการจัดการขยะที่่ดี ควบคู่การสร้างรายได้เสริม สร้างความสามัคคีและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการเสริมแรงพลังชุมชนในการดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีการคัดแยกและจัดการขยะอย่างเหมาะสม
  • ครัวเรือน/ชุมชนมีความรู้และสามารถระบุวิธีการคัดแยกขยะและประเภทขยะได้
  • ปริมาณขยะในครัวเรือน/ชุมชนที่ต้องจัดการลดลงร้อยละ ๕๐
  • ครัวเรือนร้อยละ ๕๐ มีการคัดแยกขยะ/ใช้ประโยชน์จากขยะ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 14,500.00 0 0.00
22 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรมเสริมความรู้และสาธิตการจัดการขยะโดยการใช้ประโยชน์จากขยะ 100 14,500.00 -
  • ประชาคมในชุมชนสะท้อนปัญหาการจัดการขยะที่มีผลต่อสุขภาพเพื่อเสนอโครงการขออนุมัต
  • ฝึกทักษะและสาธิตการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญแก่คนในชุมชน
  • ร่วมรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านและชุมชนให้เอื้อต่อการเสริมสร้างสุขภาพ
  • จัดตั้งกลุ่มกิจกรรมการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมชุมชนลดผลกระทบต่อสุขภาพในชุมชน
  • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประเมินสรุปผลกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ชุมชนมีความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชนตนเองอย่างมีส่วนร่วมร่วมกัน
  • ชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านและชุมชน กระตุ้นสร้างสุขภาพที่ดีแก่ตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2563 12:56 น.