กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย ตำบลศรีสาคร
รหัสโครงการ 63-L2529-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลศรีสาคร
วันที่อนุมัติ 14 กรกฎาคม 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,340.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวอับดุลเลาะ มะละแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.152,101.492place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อนำโดยแมลง นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เช่น โรคมาลาเรีย เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่สร้างควาสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้มาลาเรีย ไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สำหรับบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคมาลาเรียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่น ผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจนประชาชน และนอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายและ้ว ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการปฏิบัติงานก็เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จดทำให้การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด     ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่ ที่มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำสวนยางพารา และสวนผลไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่เหมาะสมต่อการแพร่กระจายเชื้อ สถานการณ์ของไข้มาลาเรียในตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหสัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2560-2562 มีผู้ป่วยเท่ากับ 22 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 225.40 ต่อประชากรแสนคน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส กลุ่มงาน สนับสนุนวิชาการ งานระบาดวิทยาและควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง จังหวัดนราธิวาส 2562) จะเห็นได้ว่ายังพบผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียในตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จึงนับได้ว่าเป็นปัญหา ทางด้านสาธารณสุขของตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร ที่อาจทำใหท้เกิดปัญหาและการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรีย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 แกนนำมาลาเรียมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมาลาเรีย ข้อที่ 2 ครัวเรือนในพื้นที่ระบาด A๑ และ A๒ ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้างทุกหลัง

ข้อที่ 1 แกนนำมาลาเรียมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมาลาเรีย ระดับดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ข้อที่ 2 ครัวเรือนในพื้นที่ระบาด A๑ และ A๒ ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้าง ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ     1. จัดทำแผนงานเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ     2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการฯ     3. ผู้รับผิดชอบงานประชุมชี้แจงแผนงานการดำเนินงานแก่สมาชิกในกลุ่ม     4. ประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อสม. ผู้นำชุมชน ขั้นดำเนินการ     1. เสนอโครงการ     2. ประชาชนสัมพันธ์โครงการ     3. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์     4. ดำเนินโครงการโดยจัดอบรมให้ความรู้และการป้องกันมาลาเรียแก่กลุ่มเป้าหมาย     5. ลงพื้นที่ควบคุมและป้องกันโรคมาลาเรียในชุมชนโดยการรณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันตัว จากโรคมาลาเรีย และพ่นเคมีแบบชนิดมีฤทธิ์ตกค้างเพื่อกำจัดยุงก้นปล่อง ขั้นตรวจสอบและประเมินผลโครงการ     1. สรุปและจัดทำรายงานประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการป้องกันตนเองและครอบครัวส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียลดลง     2. ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียเกิดใน generation ๒     3. ผู้ป่วยลดลงจากปีที่ผ่านมา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2020 11:25 น.