กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้ป้องกันโรคสำคัญในพื้นที่ สำหรับแกนนำตำบลศรีสาคร
รหัสโครงการ 63-L2529-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลศรีสาคร
วันที่อนุมัติ 14 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 51,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวอับดุลเลาะ มะละแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.152,101.492place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านสาธาณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน นั้นเป็นเรื่องยาก เพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคที่เรีย และเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น โควิด-19 ไข้หวัด อจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อบัติเหตุ ฯลฯ การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และสอดคล้อง กับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อม สุขภาพโดยส่งเสริม และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดการพัฒนาพฤติกรรม สุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั้งยืน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยง และกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริม ให้สามารถดูแล และมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชน ในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชนจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของแกนนำ ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง และดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมให้ความรู้แกนนำในทุกหมู่บ้านให้เป็นผู้มีความรูัความเชี่ยวชาญ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ปัองกันโรคสำคัญในพื้นที่ สำหรับแกนนำ ปีงบประมาณ 2563 นี้ขึ้น เพื่อพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ ทั้งด้านการป้องกันโรคติดต่อในชุมชน การส่งเสริมสุขภาพประชาชน ทั้ง 5 กลุ่มวัย การเป็นแบบอย่างที่ดี ต่อชุมชน นำไปสู่การจัดการสุขภาพครอบรัว ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 แกนนำ มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้าน ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อที่ 2 เพื่อสร้างการบริการเชิงรุก ด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน กลุ่มเป้าหมาย โดยใช้กลไกของอาสาสมัครสาธารณสุข

ข้อที่ 1 แกนนำมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคที่สำคัญ ระดับดีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
ข้อที่ 2 ครัวเรือนในพื้นที่ได้รับองค์ความรู้จาก แกนนำ ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ     1. จัดทำแผนงานเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ     2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการฯ     3. ผู้รับผิดชอบงานประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงานแก่สมาชิกในกลุ่ม     4. ประสานงานกับองค์กรและหน่วยงายที่เกี่ยวข้อง เช่น อสม. ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ขั้นดำเนอนการ     1. เสนอโครงการ     2. ประชาสัมพันธ์โครงการ     3. เตรียมว้สดุ อุปกรณ์
    4. ดำเนินโครงการโดยจัดอบรมให้ความรู้     5. ลงพื้นที่ ให้ความรู้แก่ประชาชนตามบ้านที่รับผิดชอบ ขั้นตรวจสอบและประเมินผล     1. สรุปและจัดทำรายงานประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความสามารถ ในการป้องกันตนเองและครอบครัว ส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคต่างๆลดลง
  2. ไม่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เช่น โรคโควิด-19 และโรคความดัน เบาหวาน เป็นต้น
  3. ผู้ป่วย 5 กลุ่มโรคสำคัญ ลดลงจากปีที่ผ่านมา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2563 11:45 น.