กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านมะรือโบตก
รหัสโครงการ 66-L8302-2-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านมะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 7 กุมภาพันธ์ 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮานีซาห์ มูซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (7ขึ้นไป-12 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)
65.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯโดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 7-12 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง
โรงเรียนบ้านมะรือโบตก มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 366 คน และนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 65 คน จึงได้จัดทำกิจกรรมอบรมให้ความรู้เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านมะรือโบตก และดำเนินการจัดทำกิจกรรมอาหารเสริมให้กับนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชาการ ภายใต้โครงการโครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านมะรือโบตก เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่มีปัญหาด้านทุพโภชนาการ /แม่ครัว/ครูเวรประจำโรงเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเรื่องสารอาหารครบ5 หมู่

1.ร้อยละ90ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเรื่องสารอาหารครบ5 หมู่

65.00 0.00
2 ข้อที่ 2เพื่อลดภาวะนักเรียนที่มีปัญหาด้านทุพโภชนาการให้น้อยลง

2.ร้อยละ50ของนักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการลดลง

65.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,250.00 3 29,250.00
1 ธ.ค. 65 - 7 ก.พ. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ให้กับผู้ปกครองนักเรียน เรื่อง ความสำคัญของอาหารเช้าและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จำนวน 65 คน 0 0.00 0.00
1 ธ.ค. 65 - 7 ก.พ. 66 กิจกรรมให้อาหารเสริม ให้กับนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ด้วยการให้รับประทานอาหารเช้าตามหลักโภชนาการทุกวันทำการ เป็นเวลา 45 วัน 0 29,250.00 29,250.00
8 ก.พ. 66 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมติดตามและประเมินผล 0 0.00 0.00

วิธีการดำเนินการ 1. วางแผนจัดทำโครงการและเสนอโครงการ 2 .ประชุมคณะกรรมการในการทำโครงการ 3. สำรวจจำนวนเด็กนักเรียนทุกระดับชั้นที่มีภาวะทุพโภชนาการ และสรุปข้อมูลเป็นสารสนเทศ 4. กำหนดรายละเอียดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 5. เสนอของบประมาณสนับสนุน เพื่อดำเนินงานตามโครงการที่วางไว้ 6. ดำเนินการให้อาหารเสริมตามหลักโภชนาการให้กับนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 7 .วัดผล ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมเป็นระยะๆ 8. สรุปการดำเนินงานและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กนักเรียนในวัยเรียนที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทาง โภชนาการ 2.เด็กนักเรียนในวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย 3.เด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2563 17:20 น.