กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพสตรีในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ
รหัสโครงการ 013/2563
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลบาตง
วันที่อนุมัติ 14 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กันยายน 2563 - 25 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 43,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัสมิง ตันหยงขาเดร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะกะตา เจ๊ะแล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.336,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ก.ย. 2563 25 ก.ย. 2563 43,000.00
รวมงบประมาณ 43,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สตรีกลุ่มอายุ 15-44 ปี เป็นช่วงวัยที่สามารถมีบุตรได้หรืออยู่ในช่วงวัย เจริญพันธุ์ สภาวะสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยที่จะส่งผลถึงการเจริญพันธุ์ ความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจที่จะสามารถ ทำหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ สตรีวัยเจริญพันธุ์ นอกจากจะเป็นผู้ให้กำเนิดบุตรแล้ว ยังมีบทบาทที่ สำคัญที่มีผลต่อสุขภาพของบุตรและบุคคลอื่นใน ครอบครัว สตรีที่ผ่านเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และวัยกลางคน จะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ ในร่างกายตาม วัยที่อาจก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมา การรับ ภาระในครอบครัวตามบทบาทต่างๆ เช่น ภรรยา และมารดา อาจส่งผลให้การดูแลสุขภาพของตนเอง ลดน้อยลงส่งผลไปถึงภาวะสุขภาพที่เสื่อมลงไปใน อนาคต ดังนั้นสตรีวัยเจริญพันธุ์จึงเป็นช่วง วัยหนึ่ง ของชีวิตที่มีความสำคัญที่ควรได้รับการดูแลและ ส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีต่อเนื่องไปจนถึง วัยสูงอายุ
        จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพ สตรีไทยพบว่า ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคือ การมีดัชนีมวลกายสูง      ความผิดปกติของประจำเดือน ภาวะกระดูกพรุน ความดัน โลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง และมะเร็ง ซึ่งมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ปัญหาสุขภาพเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยเรื้อรังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของสตรี ซึ่งปัญหาสุขภาพเหล่านี้สามารถป้องกัน ได้โดยการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม      การรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจเพื่อคลายเครียด และการตรวจคัดกรองโรค เช่น การตรวจมะเร็งปากมดลูก การตรวจ เต้านมด้วยตนเอง เป็นต้น การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพจัดเป็น กระบวนการเพื่อให้บุคคลเพิ่มขีดความสามารถใน การควบคุมและพัฒนาพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี อีกทั้งเป็นการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ให้เกิดความรู้และทักษะการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง โดยการให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพเริ่ม ตั้งแต่สตรีเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์คือเริ่มตั้งแต่วัยรุ่น จนถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น          เป็นวัยที่เริ่มสร้างครอบครัว สตรีวัยเจริญพันธุ์ใน วัยนี้ต้องการการสนับสนุน ให้ความรู้ ให้แรงจูงใจ โดยบุคลากรทีมสุขภาพและสตรีในวัยใกล้เคียงกัน ที่อยู่ในชุมชนที่สามารถเข้าถึงความต้องการของ สตรีวัยเจริญพันธุ์ได้อย่างแท้จริง      แต่ปัญหาที่พบคือ สตรีขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการส่งเสริมสุขภาพ ขาดแรงจูงใจ และแรงสนับสนุน        หรือละเลยต่อสุขภาพตนเอง ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพสตรีในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ เป็นการพัฒนาสตรีให้มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ มีความสามารถและทักษะในการให้คำแนะนำการตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเองให้กับบุคคลใกล้ชิดภายในชุมชน         ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลบาตงมีความตระหนักถึงภาวะสุขภาพ มองเห็นความสำคัญของการ มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในกลุ่มสตรี จึงเห็นควรจัดโครงการพัฒนาศักยภาพสตรีในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในพื้นที่ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีที่เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักเรื่องพฤติกรรมที่นำไปสู่โรค
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความตระหนักเรื่องพฤติกรรมที่นำไปสู่โรค
0.00
2 2. เพื่อให้สตรีที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการตรวจและคัดกรองโรคที่มักเกิดขึ้นกับสตรี
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องการตรวจและคัดกรองโรคที่มักเกิดขึ้นกับสตรี
0.00
3 3. เพื่อให้สตรีที่เข้าร่วมโครงการสามารถส่งเสริมสุขภาพคนในครอบครัวได้
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 สามารถส่งเสริมสุขภาพคนในครอบครัวได้
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 43,000.00 0 0.00
25 ก.ย. 63 พัฒนาศักยภาพสตรีในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ 200 43,000.00 -
  1. ประชุมคณะกรรมศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลบาตงเตรียมข้อมูลเพื่อร่างโครงการ
  2. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการ สปสช.อบต.บาตง เพื่ออนุมัติ
  3. ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินงาน
  4. ดำเนินงานตามโครงการ โดยประกอบด้วยกิจกรรม 2 กิจกรรมย่อย คือ
      1) การบรรยายให้ความรู้
      2) การตอบแบบสอบถามประเมินพฤติกรรมความเสี่ยงที่นำไปสู่โรคต่างๆ
  5. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ สปสช.
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีที่เข้าร่วมโครงการตระหนักเรื่องพฤติกรรมที่นำไปสู่โรค     2. สตรีที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการตรวจและคัดกรองโรคที่มักเกิดขึ้นกับสตรี     3. สตรีที่เข้าร่วมโครงการสามารถส่งเสริมสุขภาพคนในครอบครัวได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2563 14:45 น.