กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนศาลเก่า-โกตาบารู ประจำปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนศาลเก่า
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชุมชนศาลเก่า
พี่เลี้ยงโครงการ นายประพันธ์ มีแต้ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 20,350.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 20,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขยาเสพติด เป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม" ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็กและเยาวชน จำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น
เทศบาลตำบลโกตาบารู มี ๔ หมู่บ้าน ๙ ชุมชน พบว่าสถิติผู้เสพยาเสพติดในตำบลโกตาบารู ประจำปี ๒๕๖๒ แยกเป็นประเภท ยาบ้า จำนวน ๒๒ ราย, น้ำกระท่อม จำนวน ๔๔ ราย, กัญชา จำนวน ๔ ราย, ยาบ้าและน้ำกระท่อม จำนวน ๑๒ ราย และน้ำกระท่อมและกัญชา จำนวน ๑ ราย รวมทั้งสิ้น ๘๓ รายจากเวทีประชาคมการพูดคุยของชุมชนศาลเก่า สะท้อนข้อมูลเด็ก เยาวชน รวมถึงประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติด จำนวน 3 คน ประจำปี ๒๕๖๒ ดังนั้น เด็ก เยาวชน และประชาชน จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด ชุมชนศาลเก่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จึงมีความจำเป็นที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนไทย ส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 20,350.00 0 0.00
5 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 การพัฒนาองค์ความรู้เรื่องยาเสพติด 50 10,000.00 -
5 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 เวทีจัดทำข้อเสนอ/ข้อตกลงชุมชนด้านการป้องกันยาเสพติดในชุมชน 50 9,100.00 -
5 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 เวทีสร้างเครือข่ายแนวร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชน 50 1,250.00 -
5 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมเวทีติดตาม/ประเมินผลตามข้อตกลงชุมชนด้านการป้องกันยาเสพติด เดือนละ 1 ครั้ง 50 0.00 -

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาองค์ความรู้เรื่องยาเสพติด วิธีดำเนินการ จัดกิจกรรมการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของยาเสพติด โดยจัดในรูปแบบของการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบอกเล่าโดยมีวิทยากรนำเวที กิจกรรมที่ 2 เวทีจัดทำข้อเสนอ/ข้อตกลงชุมชนด้านการป้องกันยาเสพติดในชุมชน วิธีดำเนินการ        จัดเวทีจัดทำข้อเสนอ/ข้อตกลงชุมชนด้านการป้องกันยาเสพติดในชุมชน กิจกรรมที่ 3 เวทีสร้างเครือข่ายแนวร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชนศาลเก่า วิธีดำเนินการ เวทีการจัดตั้งและพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในรูปแบบเครือข่าย จำนวน 1 เครือข่าย ในการขับเคลื่อนในชุมชน กิจกรรมที่ 4 เวทีติดตาม/ประเมินผลตามข้อตกลงชุมชนด้านการป้องกันยาเสพติด เดือนละ 1 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติดได้อย่างถูกต้อง
    1. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชน
    2. มีและใช้ข้อตกลงของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยชุมชนเพื่อชุมชน
    3. ชุมชนศาลเก่า ตำบลโกตาบารู เกิดการดำเนินการในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยเครือข่าย เด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชนอย่างยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2563 15:43 น.