กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวตำบลชะแล้สุขภาพดี ด้วยวิถีชุมชน
รหัสโครงการ 60-L5262-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 4
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประพิศ อินทานุกูล
พี่เลี้ยงโครงการ อนัญญา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.308,100.441place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานเกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ ทำให้มีการงอกของกระดูก เวลาเดินจะเจ็บข้อ มีการผิดรูปของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่นๆกำเริบ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกำลังไม่ได้ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า บวม เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป สาเหตุมีได้หลายประการ เช่น ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การที่มีน้ำหนักตัวมากๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน บางรายเคยมีการอักเสบติดเชื้อ หรือเป็นโรคไขข้อ บางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์ เป็นต้น จากสถานการณ์ พบว่าโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคหนึ่งในสิบโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดผู้สูงอายุทุพพลภาพในประเทศไทย ทำให้ผู้ป่วยต้องมีชีวิตอยู่อย่างไร้สมรรถภาพในการประกอบอาชีพ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีพยาธิสภาพที่กระดูกอ่อนผิวข้อ อันก่อให้มีอาการปวดจากผิวข้อชำรุดและการอักเสบ หากเป็นต่อเนื่องทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมรุนแรง ช่องว่างผิวข้อหายไป และกระดูกอ่อนผิวข้อชำรุดไปหมด หรือกระดูกปลายข้อทรุดตัว ทำให้เข่าโก่งมากขึ้นได้ และจากการศึกษาเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่า ผู้สูงอายุและกลุ่มคนวัยทำงานในชุมชนตำบลชะแล้ ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นอันดับ 2 ของ 5 โรคในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลตนเอง

 

2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสามารถในการป้องกันอาการปวดข้อเข่าและปวดเมื่อยจากการทำงาน

 

3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ
1. ประชุมกลุ่มเพื่อชี้แจงรายละเอียดและกำหนดหัวข้อกิจกรรม
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย /วางแผนการดาเนินงาน
3. มอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงานคณะกรรมการทำงาน
4. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
5. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. จัดเตรียมเอกสาร สื่อ และวัสดุอุปกรณ์ ต่างๆที่จำเป็นในการจัดกิจกรรม
7. จัดเตรียมสถานที่ ประสานงานโสตทัศนูปกรณ์ในการจัดกิจกรรมตามโครงการ
8. ประชาสัมพันธ์และประสานกลุ่มเป้าหมายและผู้สนใจทั่วไป เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม
ระยะดำเนินการ
1. ตรวจคัดกรองและให้คำปรึกษา แนะนำ สาธิตการฟื้นฟูสภาพข้อเข่าเสื่อม 2. ให้ความรู้โรคข้อเข่าเสื่อม จัดมุมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม การป้องกัน การรักษาและการฟื้นฟูสภาพโรคข้อเข่าเสื่อม รูปแบบการกิจกรรม เป็นรูปแบบเชิงปฏิบัติการ และการสาธิต การเคลื่อนไหวร่างกาย ผ้าขาวม้าและท่าบริหารร่างกายในผู้สูงอายุ โดยมีรายละเอียดดังนี้
หัวข้อ - ฐาน 1 บรรยายหัวข้อ โรคข้อเข่าเสื่อมและวิธีการดูแลป้องกัน - ฐาน 2 บรรยายและสาธิตหัวข้อ การเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ผ้าขาวม้า - ฐาน 3 เรื่องโภชนาการสาหรับผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลตนเอง
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสามารถในการป้องกันอาการปวดข้อเข่าและปวดเมื่อยจากการทำงาน
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม เกิดความตระหนักด้านคุณค่าและนาความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพประสานการมีส่วนร่วมของ ชุมชน และองค์กรท้องถิ่น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2560 14:42 น.