กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัวปี 2560
รหัสโครงการ 60-L4163-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง
วันที่อนุมัติ 8 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 52,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.411,101.336place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาสุขภาพของประเทศที่มุ่งหวังให้ประชาชนไทยทั้งระดับบุคคลและครอบครัวสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ด้วยการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน อันจะส่งผลให้คนไทยมีสุขภาพกายใจ สติปัญญาสุขภาพสิ่งแวดล้อมดี มีคุณธรรม สามารถแข่งขันได้ในเวทีนานาชาติ หรือคนไทยเก่ง ดี มีความสุขและโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ ความเสี่ยงและภัยสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัยลดลงจำเป็นต้องมีการขยายเครืือข่ายและต่อยอดจาก อสม.ด้วยการสร้างเครือข่าย(network)เข้าสู่ครัวเรือนให้มีคนรู้วิธีในการดูแลสุขภาพมากถึง 4 ล้านคนทั่วประเทศในปัจจุบันการสร้างเครือข่าย(netwotk) เป็นเรื่องสำคัญ สำคัญกว่าข่าวสาร(information) ซึ่งถ้ากระทรวงสาธารณสุขสามารถพัฒนาระบบเครือข่ายดังกล่าวนี้ขึ้นมา กระทรวงสาธารณสุขเชื่อมั่นว่าในเขตชนบทสามารถดูแลจัดการได้ แต่หากเป็นเขตเมืองอาจจะใช้เทคโนโลยี เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ค แต่ต้องพิจารณาให้รอบด้านมากขึ้นว่าจะใช้อย่างไรเพราะเรื่องความลับด้านสุขภาพยังมีอยู่ เพราะคนอื่นจะรู้ว่าเราเป็นโรคอะไร แต่ทิศทางในอนาคตของการสร้างให้ประชาชนมีความรู้ด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขเชื่อว่าต้องไปทางเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น ในเขตเมืองเคยมีตัวอย่างสามีเป็นอัมพาตก็ให้ภรรยาช่วยดูแลผ่านทางเฟซไทม์ได้ ปลัดกระทรวงสาธรารณสุข (นพ.โสภณ เมฆธน) มีนโยบายเน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคมากขึ้น จากเดิมที่กระทรวงสาธารณสุขอาจจะเน้นในเชิงรักษาอย่างเดียว โดยการสร้างความรู้ด้านสุขภาพให้คนไทยได้เรียนรู้ที่จะป้องกันดูแลตัวเองในเบื้องต้น และส่งต่อไปยังชุมชนรอบข้าง ด้วยการมีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เพื่อเพิ่มการรู้เท่าทันในด้านสุขภาพมากขึ้นทั้งการป้องกันโรคใน 5 กลุ่มวัย โดยเฉพาะในบ้านที่มีผู้สูงอายุ บ้านที่มีคนป่วยไตวายเรื้อรัง บ้านที่มีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและผู้ด้อยโอกาส ให้นำบุตรหลาน ญาติ สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแล มาเข้ารับการอบรมว่าควรจะดูแลอย่างไร จะล้างไตทางช่องท้องอย่างไร คนวัยทำงานทำอย่างไรจะป้องกันโรคติดต่อเรื้อรังได้ หรือผู้สูงอายุจะทำอย่างไรให้มีสุขภาพแข็งแรง ดูแลตัวเองได้โดยมีชุมชนเป็นตัวสนับสนุน อันเป็นการต่อยอดการดูแลสุขภาพ อสม.เข้าไปในครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และสามารถดูแลตนเองได้ พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยกำหนดเป้าหมายว่า ครอบครัวหนึ่ง จำเป็นต้องมีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)อย่างน้อย 1 คน ที่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ซึ่งจะให้ครอบครัวได้รับการถ่ายทอดความรู้สม่ำเสมอ ทำให้เกิดทักษะทั้งในระดับบุคคลและครอบครัวในการวิเคราะห์สามารถจัดการความเสี่ยงภัยสุขภาพ และดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ป่วยไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและผู้ด้อยโอกาส และ 5 กลุ่มวัย ตามแต่สมาชิกที่มีในครอบครัวตนเอง เป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับครอบครัว ที่จะเชื่อมต่อและช่วยเสริมการดำเนินงานของ อสม.ได้เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่นมากกว่า อสม.ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์บทบาทหน้าที่และสวัสดิการไว้อย่างชัดเจน ทั้งในการคัดเลือกอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) จังหวัดอาจจะพิจารณาถึงความเหมาะสมในรูปแบบต่างๆได้ ภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน การพัฒนาอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) จงอย่าเร่งรัดและเข้มงวดกับประชาชน และให้โอกาสประชาชนตัดสินใจว่าจะร่วมงาน มีส่วนร่วมหรือไม่ หากประชาชนไม่พร้อมก็ควรเปลี่ยนจุดไปยังจุดอื่นโดยคำนึงถึงต้นทุนเดิมที่มีและทำอยู่ของพื้นที่ ไม่ต้องห่วยเป้าหมายที่ได้รับจนเกินไป ค่อยๆทำอย่างจริงจัง มีความชัดเจนในแนวคิด จะทำให้เกิดความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพของประชาชนได้ ความสำเร็จก็ไม่ยากที่จะบรรลุได้ อสค.เพื่อสังคมต้องทำงานเป็นทีมเชื่อมโยงกับกลุ่มเครือข่ายอื่นๆ ในพื้นที่ซ่ึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย ทันเหตุการณ์ และมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทาง อสค.ตำบลบือมัง จึงจำจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสามัครประจำครอบครัว โดยการอบรมฟื้นฟูความรู้ ผ่านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ในการป้องกันโรคใน 5 กลุ่มวัย โดยเฉพาะใบ้านที่มีผู้สูงอายุ บ้านที่มีคนป่วยไตวายเรื้อรัง บ้านที่มีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเร้ือรังและผู้ด้อยโอกาสเพือใช้ในการปฎิบัติงานและเพ่ิมทักษะในการทำงานด้านสาธารณสุขให้สามารถใช้ได้ถูกต้องตามหลักการและได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัวสามารถดูและสุขภาพของตนเองและครอบครัว 2. เพื่อให้อาสาสมัครประจำครอบครัวสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกในครอบครัว 3. เพื่อให้อาสาสมัครประจำครอบครัวช่วยเหลือ ดูแลสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัวสามารถดูและสุขภาพของตนเองและครอบครัว 2. เพื่อให้อาสาสมัครประจำครอบครัวสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกในครอบครัว 3. เพื่อให้อาสาสมัครประจำครอบครัวช่วยเหลือ ดูแลสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนและกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน 1.2 นำเสนอรูปแบบโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน 1.3 ประสานงานกับหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 1.4 จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ 2. ขั้นดำเนินการ แบ่งกิจกรรมเป็น 2 ช่วง ดังนี้ 2.1 กิจกรรมช่วงที่ 1(1-30 พฤษภาคม พ.ศ.2560) 2.1.1 ประชาสัมพันธ์โครงการให้อาสาสมัครประจำครอบครัว ทราบ 2.1.2 จัดทำป้ายโครงการ และเตรียมอุปกรณ์ 2.1.3 ประสานวิทยากร 2.2 กิจกรรมช่วงที่ 2 (1 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคม 2560) 2.1.1 ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ เรื่อง การดูแลผู้สูงอายุ(13 มิถุนายน พ.ศ.2560) 2.1.2 ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ เรื่อง การดูแลคนป่วยไตวายเรื้อรัง (20มิถุนายน พ.ศ.2560) 2.1.3 ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ เรื่อง การดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (13 กรกฎาคม พ.ศ.2560) 2.1.4 ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ เรื่อง การดูแลผู้ด้อยโอกาสหรือพิการ (20 กรกฎาคม พ.ศ.2560) 3. ขั้นประเมินผลและรายงานผล กิจกรรม อบรมให้กับ อสค.เป็นเวลา 4 วัน จำนวน อสค.90 คน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้และทักษะในการขับเคลื่อนใน 4 เรื่อง ตามนโยบายระบบสุขภาพชุมชนสู่ในระดับพื้นที่ สามารถเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เข้าใจบทบาทอาสาสมัครประจำครอบครัวในบทบาทใหม่จากการบริการมาเป็นการพัฒนาตลอดจนสร้างกระแสภาพลักษณ์ใหม่ของอาสาสมัครประจำครอบครัว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2560 14:46 น.