กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2564
รหัสโครงการ L5249-2564-1-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 11 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 246,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโสรยา บุญธรรม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.74,100.241place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยในปัจจุบัน ซึ่งจากสถิติพบว่ามีการแพร่ระบาดทั่วทุกหมู่บ้านในเขตเมืองและเขตชนบท เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประเทศ โดยในปี ๒๕๖2 เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์มีผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนสูงที่สุดของอำเภอสะเดา มีจำนวนผู้ป่วย 112 ราย ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ อายุ 10-14 ปี อาชีพที่พบสูงสุดคือ เด็กในปกครองและนักเรียน การพิจารณาตามหลักระบาดวิทยา จะมีการระบาดใหญ่เป็นปีเว้นปีหรือปีเว้นสองปี ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าในปี 2564 อาจเป็นปีที่มีการระบาดใหญ่ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อีกครั้ง

      จากปัญหาที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรค โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

      งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2564 ขึ้น เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ครอบคลุมไปถึงโรงเรียน สถาบันการศึกษาในเขตเทศบาล และดำเนินการป้องกันอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ร่วมกับ อสม. ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน ได้แก่ การให้ความรู้สุขศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงกำจัดลูกน้ำยุงลาย

  2. อสม.รณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในครัวเรือนและชุมชน โดยวิธีทางกายภาพ และทางเคมี โดยใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำในภาชนะที่ไม่สามารถปิดได้หรือใส่ปลากินลูกน้ำได้ ปีละ ๔ ครั้ง

  3. กรณีมีผู้ป่วยในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ดำเนินการฉีดพ่นหมอกควัน/ละอองฝอยกำจัดยุงตัวแก่ ดำเนินการใส่สารเคมีกำจัดลูกน้ำ ใช้โลชั่นกันยุงทาตัวผู้ป่วย ใช้สเปรย์กระป๋องฉีดพ่นกำจัดยุงภายในบ้าน เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

  4. เจ้าหน้าที่ดำเนินการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย แบบปูพรมทั่วทั้งเขตเทศบาล ปีละ 4 ครั้ง

  5. ประสานโรงเรียน สถาบันการศึกษาในเขตเทศบาลเพื่อควบคุมป้องกันโรค และดำเนินกิจกรรม อสม.จิ๋ว สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ในโรงเรียน ปีละ 4 ครั้ง

  6. สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ มีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก รวมทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง

  2. ประชาชนได้รับความรู้จากการให้สุขศึกษา/ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและสามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง

  3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตเทศบาลลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2563 17:12 น.