กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพชาวชุมชนสวนมะพร้าว ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6961-2-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ชุุมชนสวนมะพร้าว
วันที่อนุมัติ 27 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 31,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุมาตร บุญรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่บริโภคผักที่มีสารพิษตกค้าง
80.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีการใช้สารเคมีในการปลูกผัก
50.00
3 ร้อยละของปริมาณผักมีไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในชุมชน
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการที่พืชผักที่มีขายในตลาด มักมีสารพิษตกค้าง ทำให้ประชาชนมีการบริโภคผักน้อยลง ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ และจากข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่งทั่วประเทศ เฝ้าระวังความปลอดภัยของผักสด ผลไม้สด ในระหว่างปี พ.ศ. 2556-2559 มีการสุ่มตรวจผักและผลไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศประมาณ 800 ตัวอย่างต่อปี พบการตกค้างประมาณร้อยละ 10 และในปี พ.ศ.2558 ได้ศึกษาสถานการณ์การตกค้างในผักสดผลิตในประเทศที่มีข้อมูลการตกค้างสูง และคนไทยนิยมบริโภค4 ชนิด ได้แก่ คะน้า ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง และตำลึง จำนวน 934 ตัวอย่าง เก็บจากทุกจังหวัดทั่วประเทศมีการตกค้างร้อยละ 22.3 แต่มีเพียงร้อยละ 1 ที่ตกค้างเกินค่ามาตรฐาน นอกจากนั้นได้ศึกษาสถานการณ์การตกค้างในน้ำผักและน้ำผลไม้ ได้แก่ น้ำส้ม น้ำฝรั่ง น้ำแครอท น้ำทับทิม น้ำใบบัวบก และน้ำผักผลไม้ผสม จำนวน 100 ตัวอย่าง โดยน้ำผักและน้ำผลไม้ที่คั้นมีการตกค้างในสัดส่วน ร้อยละ 18 ส่วนน้ำผักและผลไม้ที่อยู่ในภาชนะปิดสนิท พบร้อยละ 6 แต่ปริมาณการตกค้างดังกล่าวอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภค และปี พ.ศ.2559 ได้มีการสุ่มเก็บผักและผลไม้สดที่คนไทยนิยมบริโภคสูงจากตลาดค้าส่ง จาก 5 ภาคๆละ 2 จังหวัด ผลไม้สด ได้แก่ ส้ม มะม่วง ฝรั่ง เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย แก้วมังกร ชมพู่ รวม 99 ตัวอย่าง ตรวจพบสารตกค้างร้อยละ 51 จากการตรวจทั้งผลรวมเปลือก ซึ่งมีผลไม้ ที่สารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ร้อยละ 7 ชนิดสารเคมีที่มีอัตราตรวจพบสูง คือ คาร์เบนดาซิม และไซเปอร์มีทริน ส่วนผักสด ได้แก่ คะน้า ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง แตงกวา พริกขี้หนู ผักชี โหระพา และมะเขือเปราะ จำนวน 112 ตัวอย่าง มีสัดส่วนการตกค้างร้อยละ 50 และร้อยละ 5 ของผักสดดังกล่าวมีสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน รวมทั้งตรวจพบการตกค้างวัตถุอันตรายทางการเกษตรห้ามใช้ 2 ชนิด ได้แก่ เอนโดซัลแฟน และเมธามิโดฟอสในคะน้า และถั่วฝักยาว 3 ตัวอย่าง กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ชุุมชนสวนมะพร้าว จึงได้จัดทำโครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพชาวชุมชนสวนมะพร้าว ปี 2564 ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมในสมาชิกในชุมชนปลูกผักที่ปลอดจากสารเคมี และนำผักที่ได้มาบริโภคภายในครัวเรือน เพื่อสุขภาพที่ดี เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกกันเองและปลอดจากสารเคมี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีผักปลอดสารพิษบริโภคภายในครัวเรือน ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดี

 

0.00
2 เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปลูกพืชผักและสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
5 พ.ค. 64 - 6 ม.ค. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดภัย ภายใต้ระบบ GAP (Good Agricultural Practice) 0 31,450.00 31,450.00
รวม 0 31,450.00 1 31,450.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สมาชิกในชุมชนมีผักปลอดสารพิษบริโภคภายในครัวเรือน ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดี
  2. สมาชิกในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปลูกพืชผักและสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2563 00:00 น.