กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก ”
ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
นางวสุธิดา นนทพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ




ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก

ที่อยู่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 64-L7250-01-1 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 64-L7250-01-1 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 453,000.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพเด็กไทยต้องเริ่มตั้งแต่การดูแลหญิงตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมารดาและทารก เพราะหากหญิงตั้งครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว จะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ เช่น ภาวะโลหิตจาง เบาหวาน โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น ประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลนครสงขลามีจำนวน 60,707 คน ซึ่งปีงบประมาณ 2563 (ต.ค.2562-ส.ค.2563)หญิงตั้งครรภ์ ในเขตเทศบาลนครสงขลามีจำนวนทั้งหมด 178 คน มารดาหลังคลอด มีจำนวน 201 คน และเด็กอายุ 0-5 ปี มีจำนวน 954 คน
เทศบาลนครสงขลา ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารกเชิงรุก เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานปี พ.ศ. 2562 - 2563 เกิดผลสัมฤทธิ์ ทำให้สถานการณ์อนามัยแม่และเด็กมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1. อัตราฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อนอายุ 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 67, 89.66 ตามลำดับ (เกณฑ์ › ร้อยละ 60) 2. อัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ (เจาะเลือดครั้งแรก) คิดเป็นร้อยละ 7.0,6.8 ตามลำดับ (เกณฑ์ ‹ ร้อยละ 20) 3. หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20ปี คิดเป็นร้อยละ 10.8 ,10.5 ตามลำดับ (เกณฑ์ ‹ ร้อยละ 10) 4. อัตราฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 83.33 , 86.21 ตามลำดับ (เกณฑ์ › ร้อยละ 60)  5. ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 8.33 , 6.25 ตามลำดับ (เกณฑ์ ‹ ร้อยละ 7) จากผลการดำเนินโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารกเชิงรุก ปีงบประมาณ 2564 จะเห็นว่าตัวชี้วัดสุขภาพของมารดาและทารกมีแนวโน้มดีขึ้น ในปีงบประมาณ 2562 – 2563 มีผลการดำเนินงานดีขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นงานศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารกเชิงรุก ขึ้น เพื่อพัฒนาสุขภาพของมารดาและทารก ลดอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอด มารดาและทารกมีสุขภาพแข็งแรง มีภาวะโภชนาการที่ดี ได้รับบริการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ครบวงจรตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด อันส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการสมวัย และเติบโตไปเป็นประชาการที่มีคุณภาพ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์และได้รับการดูแลสุขภาพตลอดอายุครรภ์
  2. 2. เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด
  3. 3. เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน
  4. 4. เพื่อส่งเสริมให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม และมีพัฒนาการสมวัยตามเกณฑ์

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์
      1. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีภาวะซีดก่อนคลอด
      2. ทารกแรกเกิดได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
      3. หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และครอบครัวมีความรู้ มีความตระหนักในการดูแลตนเองและบุตร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกต้อง

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    1. กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการมารดาและทารก (จ่ายนม – ไข่ )     ๑. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการดำเนินงาน/มอบหมายงาน ๒. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
      1. รับขึ้นทะเบียนหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ โดยยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานด้วยตัวเองในวันที่ 20 – สิ้นเดือน ของทุกเดือนในวันและเวลาราชการ ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง โดยคำร้องต้องผ่านการคัดกรองของ อสม. และเจ้าหน้าที่ของ PCU ตามที่อยู่ของหญิงตั้งครรภ์
    2. ประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับนม-ไข่ ที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด พร้อมนัดวันรับ นม – ไข่ ของเดือนถัดไป
    3. รวบรวมรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ จัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ ทะเบียนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง และทะเบียนรับนม-ไข่
    4. ส่งต่อรายชื่อหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ให้ PCU และอสม. ในพื้นที่ทราบ
    5. เจาะหาระดับความเข้มข้นเลือดทุก ๒ เดือน ในกรณีที่มีความเข้มข้นของเลือดน้อยกว่า
      33 mg%
    6. จ่ายนม - ไข่ แก่หญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอด พร้อมทั้งให้ความรู้ด้านภาวะโภชนาการ นมแม่ และพัฒนาการเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง โดยมอบนมพร้อมดื่ม จำนวน 30 กล่องต่อเดือน และไข่ไก่เบอร์ 2 จำนวน 30 ฟอง ต่อเดือน
      1. กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ในชุมชน
      2. หญิงตั้งครรภ์ปกติ หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงทางสุขภาพเล็กน้อย ติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม. แม่คนที่ 2 เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้คำแนะนำ ติดตามการบริโภคนม – ไข่ พัฒนาการ การรับวัคซีนตามเกณฑ์
      3. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ติดตามเยี่ยมบ้านโดย พยาบาลประจำ PCU
      4. กลุ่มมารดาและทารกหลังคลอด เยี่ยมโดยพยาบาลและ อสม. ในการให้คำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน การตรวจหลังคลอด การวางแผนครอบครัว การรับวัคซีน การส่งเสริมพัฒนาการ

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์และได้รับการดูแลสุขภาพตลอดอายุครรภ์
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 90 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์
    90.00 81.25
    • หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ ครรภ์ครบตามเกณฑ์ จำนวน 65 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.25
    2 2. เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด
    ตัวชี้วัด : 2. ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ ไม่มีภาวะซีดก่อนคลอด
    80.00 97.57
    • หญิงตั้งครรภ์รายมีภาวะซีดขณะใกล้ก่อนคลอด จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.57
    3 3. เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน
    ตัวชี้วัด : 3. ร้อยละ 50 ของทารกแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน
    50.00 79.26
    • ทารกแรก – 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว 65 ราย คิดเป็นร้อยละ 79.26
    4 4. เพื่อส่งเสริมให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม และมีพัฒนาการสมวัยตามเกณฑ์
    ตัวชี้วัด : 4. ร้อยละ 90 ของมารกแรกเกิด มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 5. ร้อยละ 90 เด็กแรกเกิดถึง 1 ปี มีพัฒนาการสมวัย
    90.00 96.35
    • ทารกแรกเกิด จำนวน 82 ราย มีน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.35

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์และได้รับการดูแลสุขภาพตลอดอายุครรภ์ (2) 2. เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด (3) 3. เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน (4) 4. เพื่อส่งเสริมให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม และมีพัฒนาการสมวัยตามเกณฑ์

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 64-L7250-01-1

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางวสุธิดา นนทพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด