กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาวะที่ดีของชุมชน
รหัสโครงการ 55/60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพตำบลคลองขุด
วันที่อนุมัติ 14 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประไพ อุบลพงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาเรื่องสุขภาพของประชาชนตำบลคลองขุดเพิ่มขึ้น ซึ่งเห็นได้จากสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการป่วยจากโรคที่ไม่ติดต่อ เพิ่มสูงขึ้น โรงพยาบาลก็ต้องเพิ่มขนาดของโรงพยาบาลเพื่อให้รองรับผู้ที่มารับบริการ ซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมากและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเนื่องจากต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญมีสาเหตุ มาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาหารที่มีการปลอมปนสารเคมีหรือ ผัก-ผลไม้ ที่ไม่ปลอดสารพิษ จากการที่เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีทางการเกษตรมากทำให้สภาพดินเสื่อมโทรม สุขภาพร่างกายของเกษตรกรผู้ผลิตเสื่อมโทรม และผลผลิตทางการเกษตรเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้า และพาณิชย์ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน ที่สำคัญการปลูกผักยังมีส่วนช่วยทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรเหลือใช้ในท้องถิ่น ตลอดจนมีการนำขยะในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการสร้างความเข้มแข็งด้านการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และลดสารเคมีทางการเกษตร โดยใช้วัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติหรือบ้านเรือน และเป็นการสร้างอาชีพให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มจากการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้าน จากการนำขยะมูลฝอยที่มีมากในชุมชน ซึ่งเป็นปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งเพราะพันธุ์ของสัตว์นำโรค เช่น แมลงสาบ แมลงวัน หนูและเป็นวัสดุที่หาง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และยังเป็นการน้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ชมรมผู้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพตำบลคลองขุด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาวะที่ดีของชุมชน เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน และเป็นการสร้างกระแสกระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้หันมาให้ความใส่ใจกับการปลูกและบริโภคผักที่ปลอดภัยกันมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อเรื้อรังแล้ว ยังช่วยลดการได้รับสารปนเปื้อนจากผักที่มีขายตามท้องตลาดอีกด้วย และยังอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ผลการตรวจเลือดเกษตรกรมีสารเคมีตกค้างในเลือด

2 เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน

จำนวนคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการและเสนอขออนุมัติโครงการ
    1. ประสานการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมตามโครงการ
    2. จัดกิจกรรมดังนี้ ๔กำหนดตารางทำกิจกรรม๒ วัน
      วันที่ ๑ นำสมาชิกไปศึกษาดูงานที่อาคารธนาคารปุ๋ยอินทรีย์จังหวัดสตูลหมู่ที่ ๒ ตำบลควนโดนอำเภอควนโดนจังหวัดสตูล วันที่ ๒สมาชิกทำปุ๋ยอินทรีย์ตามสูตรที่ได้จากการไปศึกษาดูงาน
    3. เตรียมวัสดุที่จะใช้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์
    4. ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรผู้ผลิตมีสุขภาพดีและผลผลิตที่ได้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
  2. ช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เป็นแหล่งเพราะพันธุ์ของสัตว์นำโรค และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2560 15:45 น.