กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขกายสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณค่า ปี 2564
รหัสโครงการ 2564-L6896-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุคริสตจักรตรัง
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 26,145.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางผิวพรรณ ศุภศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้มีแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) โดยมาตรการสำคัญที่ควรคำนึงถึงในลำดับต้นๆกล่าวคือ มาตรการการให้การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มาตรการการปลุกจิตสำนึกให้คนในสังคมตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ มาตรการส่งเสริมความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ดูแลตนเองเบื้องต้น มาตรการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันและสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้สูงอายุ มาตรการสนับสนุนผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ และปรับให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา สาธารณสุข ศาสนา วัฒนธรรม กีฬา และนันทนาการ จึงส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาให้ผู้สูงอายุให้มีขีดความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง และผู้สูงอายุด้วยกันให้ดีขึ้นด้วยผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งของสังคมและประเทศชาติ เป็นต้นทุนทางสังคมที่มีค่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยที่นับถือผู้สูงอายุในฐานะผู้มีประสบการณ์มาก่อน และเป็นผู้สั่งสมภูมิปัญญาของท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ เพื่อสืบทอดถึงบุคคลรุ่นหลัง นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังเปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของลูกหลานที่คอยให้ความอบอุ่น คำแนะนำสั่งสอนแก่บุคคลรุ่นหลังในครอบครัว โดยในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีตลอดจนวิทยาการสมัยใหม่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน ส่งผลให้ประชากรไทยมีอัตราการเจริญพันธุ์ลดลงและประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น ปัจจัยดังกล่าวทำให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง หากประชากรผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเหล่านี้สามารถพึ่งพาตนเองได้ดี และสามารถดำรงชีวิตด้วยตนเองได้อย่างมีคุณค่าแม้ว่าจะอยู่ในวัยสุดท้ายของช่วงชีวิต ก็ตามผู้สูงอายุก็ยังจัดได้ว่าเป็นกลุ่มประชากรที่เป็น พลังสำคัญ แทนที่จะเป็นภาระของครอบครัว ชุมชนและสังคม คริสตจักรตรังมีสมาชิกที่เป็นผู้สูงอายุจำนวน 190 คน เป็นผู้สูงอายุติดสังคม เป็นผู้สูงอายุติดสังคมจำนวน 123 ราย ซึ่งจะมาร่วมกิจกรรมทางศาสนาทุกวันอาทิตย์ที่คริสตจักรประมาณ 80 คน ผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน 64 ราย และเป็นผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน 3 ราย และป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อาจภาวะแทรกซ้อน ทำให้กลายเป็นผู้สูงอ่ายุติดบ้าน หรือติดเตียงที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น ในปีงบประมาณ 2562 ชมรมผู้สูงอายุคริสตจักรตรัง ได้รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง เพื่อจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุที่สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมที่คริสตจักรตรังทุกวันอาทิตย์ ทำให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจ มีความสุขทีได้มาเข้าร่วมกิจกรรม และส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่เป็นภาระกับลูกหลาน ในปีงบประมาณ2564 จึงได้จัดทำโครงการสุขกายสุขใจ สุงวัยอย่างมีคุณค่าขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มาร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกันในชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง และสามารถดูแลตัวเองและเยี่ยมเยียนให้กำลังใจผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงได้ ทำให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อสังคมอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุของชุมชนคริสตจักรมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพให้มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยทั้งร่างกายและจิตใจ

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุของชุมชนคริสตจักรมีส่วนร่วมในการแสดงศักยภาพการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน

ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมและได้มีส่วนร่วมใน    การส่งเสริมสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,145.00 2 3,000.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในชมรม จำนวน 10 ครั้ง 0 15,000.00 3,000.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ด้านการดูแลสุขภาพในวันผู้สูงอายุ ประจำปี 2564 0 11,145.00 0.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชุมกรรมการชมรมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ หามาตรการร่วมกัน และกลวิธีการดำเนินงาน
  3. จัดกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุให้ความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ประจำทุกเดือน

- กระบวนการชราที่มีผลต่อการหกล้มและภาวะสมองเสื่อม และการป้องกัน - กิจกรรมป้องกันหกล้มครั้งที่ 1 เพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย. - กิจกรรมป้องกันหกล้มครั้งที่ 2 เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา - กิจกรรมอนามัยช่องปาก - กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุ - กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส - แพทย์แผนไทย ลดป่วยผู้สูงวัย เพื่อสุขภาพแข็งแรง
- โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ
- กิจกรรมการออกกำลังกายด้วยบาสโลป - การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันหรือชะลอความเสื่อมในวัยสูงอายุ 4. จัดกิจกรรม เยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
5. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในวันผู้สูงอายุประจำปี 2564 - กิจกรรมสันทนาการ - กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ - กิจกรรมประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี 6. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์ สามารถดูแลตนเองได้ตามความเหมาะสม 2.ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2563 11:33 น.