กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุุ์และหญิงมีครรภ์
รหัสโครงการ 60-L8286-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ยะรัง
วันที่อนุมัติ 5 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวต่วนมัสรา ตอแก
พี่เลี้ยงโครงการ นายการิยา ยือแร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.769,101.299place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง ได้นำแนวคิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลยะรัง มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดำเนินงานด้านการอนามัยแม่และเด็ก แม้นว่าในหลายปีที่ผ่านมา ในพื้นที่ตำบลยะรังไม่พบ มารดา และเด็กตายคลอด แต่ก็ยังพบว่า ยังมีมารดาที่มาฝากครรภ์ช้า คือ ในปี 2559 มารดามาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ร้อยละ 75.2และมาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ 69.40 ซึ่งการกระตุ้นให้หญิงมีครรภ์เพิ่มการฝากครรภ์ให้ครอบคลุมให้มากที่สุด เป็นการลดความเสี่ยงที่จะทำให้มารดาและทารกสูญเสียชีวิตหรือพิการระหว่างตั้งครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอดได้

ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงมีครรภ์ สู่อนามัยแม่และเด็กคุณภาพ ตำบลยะรัง ปี 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้ไปฝากครรภ์เร็วที่สุดจำนวน 60 คน

หญิงตั้งครรภ์ครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 60

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 60 คน และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 75

3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด จำนวน 60 คน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง

หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมหลังคลอด ร้อยละ 60

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มิ.ย. 60 - 31 ส.ค. 60 จัดอบรมให้ความรู้ 60 35,500.00 35,500.00
รวม 60 35,500.00 1 35,500.00
  1. กิจกรรมค้นหาหญิงตั้งครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ไวก่อน 12 สัปดาห์ มีวิธีดำเนินการดังนี้

- สร้างความเข้าใจผลดีการฝากครรภ์เร็วผ่านสถานีวิทยุชุมชนและป้ายประชาสัมพันธ์
- เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการออกสำรวจทุกเดือน ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ (พร้อมตรวจการตรวจตั้งครรภ์ด้วยแผ่นทดสอบปัสสาวะ) เพื่อจัดทำทะเบียน ประเมินอายุครรภ์ ให้คำแนะนำและทำใบส่งตัวเพื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด - จัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์รายเก่าหรือรายที่เจ้าหน้าที่ไม่เคยทราบมาก่อน เพื่อการเฝ้าระวังและติดตาม
2. จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ เพื่อให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้ - การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ - การส่งเสริมด้านทันตสุขภาพ - ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางกับการตั้งครรภ์ - การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก- การออกกำลังกายสำหรับหญิงตั้งครรภ์ - การสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค - สุขภาพจิตตามวิถีชุมชนสำหรับหญิงมีครรภ์ - โภชนาการในหญิงตั้งครรภ์/การใช้ยา 3. การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง
- เจ้าหน้าที่ร่วมกับอสม.ทบทวนทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนการออกเยี่ยม - แจ้งหญิงตั้งครรภ์ถึงวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน ขออนุญาตดูรายละเอียดการฝากครรภ์จากสมุดบันทึกสุขภาพสีชมพู และหากจำเป็นขออนุญาตหญิงตั้งครรภ์ประสานกับโรงพยาบาลเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
- การเยี่ยมดูแล การเฝ้าระวัง ติดตาม มีแนวปฏิบัติดังนี้ -กรณีหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป ที่ความเสี่ยงต่ำ: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และออกเยี่ยม 1 ครั้งก่อนไปฝากครรภ์ครั้งต่อไป โดยการซักถามอาการ การตรวจร่างกาย เช่น ตรวจครรภ์ วัดความดันโลหิต แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา (ธาตุเหล็ก ไอโอดีนและโฟลิก) การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล -กรณีหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูง: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และขออนุญาตประสานข้อมูลกับโรงพยาบาล สอบถามอาการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจครรภ์ วัดความสูงของยอดมดลูก ตรวจดูภาวะบวมที่ขาและเท้า ตรวจไข่ขาวในปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจปัสสาวะ แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล กรณีหญิงตั้งครรภ์มีความดันโลหิตเพิ่มมากกว่าปกติหรือสูง ทำการเฝ้าระวังและติดตามทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้งหรือมากกว่า เพื่อชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ ทั้งนี้อาจให้หญิงตั้งครรภ์และญาติดำเนินการเองโดยให้ยืมเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิต และแผ่นตรวจไข่ขาวในปัสสาวะ พร้อมบันทึกผล ติดต่อปรึกษาหารือกับแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อการดูแลและส่งต่อที่เหมาะสม -กรณีหญิงหลังคลอด: ออกเยี่ยมอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อตรวจดูแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา ตรวจดูเต้านม แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับประทานอาหาร การกินยา

  1. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เทศบาลตำบลยะรัง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม 2.หญิงตั้งครรภ์คลอดอย่างปลอดภัย และลูกเกิดรอด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2560 22:51 น.