กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
หนูน้อยอบอุ่น9 กรกฎาคม 2564
9
กรกฎาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย โรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ผู้อำนวยการจัดประชุมครูผู้สอนปฐมวัย หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษาเพื่อ ชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์การดำเนินกิจกรรมหนูน้อยอบอุ่น
  2. ผู้อำนวยการมอบหมายครูผู้สอนปฐมวัย ออกแบบกิจกรรมนำเสนอที่ประชุม
  3. ผู้อำนวยการแต่งตั้งคณะทำงานกิจกรรมหนูน้อยอบอุ่น
  4. ผู้อำนวยการจัดประชุมคณะทำงานกิจกรรมหนูน้อยอบอุ่น เพื่อชี้แจงการดำเนินงานและมอบหมาย งานตามกิจกรรม       ๕. ดำเนินการตามแผนงานกิจกรรมความรู้ให้แก่ผู้ปกครองด้านโภชนาการและกิจกรรมการส่งเสริม พัฒนาการของเด็ก ณ  สวนพฤกษศาสตร์พนางตุง อำเภอควนขนุน และสำเภาไทย อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ๖. จัดกิจกรรม AAR คณะทำงานกิจกรรมหนูน้อยอบอุ่น ๗. ประเมินผล สรุปและรายงานกิจกรรมให้ผู้อำนวยการและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

๑. ผู้ปกครองได้รับการส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการและกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทุกคน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ บรรลุตามเป้าหมายของโครงการ

หนูน้อยลอยตัว9 กรกฎาคม 2564
9
กรกฎาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย โรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

๑. ผู้อำนวยการจัดประชุมครูผู้สอนปฐมวัย หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษาเพื่อ ชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์การดำเนินกิจกรรมหนูน้อยลอยตัว ๒. หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอนปฐมวัย จัดทำหลักสูตร จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ กำหนดตารางเรียน
๓. ประสานและทำหนังสือเชิญวิทยากรสอนว่ายน้ำ ๔. วิทยากรและครูผู้สอนปฐมวัยจัดประสบการณ์การว่ายน้ำเบื้องต้นแก่เด็กปฐมวัย สัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง
ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ จำนวน ๑๖ ชั่วโมงและระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ จำนวน ๑๖ ชั่วโมง
๕. จัดกิจกรรม AAR คณะทำงานกิจกรรมหนูน้อยลอยตัว ๖. ประเมินผล สรุปและรายงานกิจกรรมให้ผู้อำนวยการและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

๑. เด็กมีทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้นทุกคน บรรลุตามเป้าหมายโครงการ

หนูน้อยช่างฝัน9 กรกฎาคม 2564
9
กรกฎาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย โรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

๑.ผู้อำนวยการจัดประชุมครูผู้สอนปฐมวัย หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษาเพื่อชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์การดำเนินกิจกรรมหนูน้อยช่างฝัน ๒. ครูประจำชั้นอนุบาล ๒-๓ ประเมินพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านของเด็กและสรุปผลการประเมินทุกเดือน ๓. ครูผู้สอนปฐมวัย หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษา นำผลการประเมินพัฒนาการของเด็กมาวิเคราะห์ และจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ของเด็ก
๔. ครูผู้สอนปฐมวัย และครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษา จัดประสบการณ์แก่เด็ก ตามแผนที่วางไว้ ประเมินผลและรายงานผู้อำนวยการเดือนละ ๑ ครั้ง ๕. ผู้อำนวยการจัดกิจกรรม PLCครูผู้สอนปฐมวัย หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษาเพื่อ วิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาของเด็ก และร่วมกันกำหนดแนวทางช่วยเหลือเด็ก เดือนละ ๑ ครั้ง ๖. ครูผู้สอนปฐมวัย นำข้อมูลจากการจัดกิจกรรม PLC ปรับการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ๗. ครูผู้สอนปฐมวัย และครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษา จัดประสบการณ์แก่เด็ก ตามแผนที่วางไว้ ประเมินผลและรายงานผู้อำนวยการเดือนละ ๑ ครั้ง ๘. ครูผู้สอนปฐมวัย ประเมินและสรุปรายงานผลการดำเนินกิจกรรมให้ผู้อำนวยการและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กที่มีพัฒนาการที่ล่าช้าไม่สมวัย ก่อนดำเนินการ จำนวน ๑๑ คน เมื่อดำเนินการตามกิจกรรมโครงการ เด็กที่มีพัฒนาการที่ล่าช้าไม่สมวัย หลังดำเนินการ จำนวน ๓ คน ลดลงจำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๗๒ บรรลุตามเป้าหมายของโครงการ

หนูน้อยสมส่วน9 กรกฎาคม 2564
9
กรกฎาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย โรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

๑.ผู้อำนวยการจัดประชุมครูผู้สอนปฐมวัย หัวหน้างานอนามัยโรงเรียน และครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษาเพื่อชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์การดำเนินกิจกรรมหนูน้อยสมส่วน ๒. ครูประจำชั้นอนุบาล ๒-๓ ประเมินภาวะโภชนาการด้านน้ำหนักส่วนสูงของเด็กและสรุปผลการประเมินทุกเดือน ๓. ครูครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษาทดสอบสมรรถภาพทางกายของเด็กและสรุปผลการทดสอบทุกเดือน ๔. ผู้อำนวยการจัดกิจกรรม PLCครูผู้สอนปฐมวัย หัวหน้างานอนามัยโรงเรียน และครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษาเพื่อ วิเคราะห์ผลการประเมินภาวะโภชนาการและผลการทดสอบ สมรรถภาพทางกายของเด็ก และร่วมกันกำหนดแนวทางช่วยเหลือเด็ก ๕. ครูผู้สอนปฐมวัย หัวหน้างานอนามัยโรงเรียนและครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษา จัดกิจกรรมบูรณาการในการจัดประสบการณ์แก่เด็ก และบริการอาหารเสริม เช่น ผลไม้ ให้เด็ก เพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็ก ๖. ครูผู้สอนปฐมวัย หัวหน้างานอนามัยโรงเรียนและครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษา รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานให้ผู้อำนวยการทราบเดือนละ ๑ ครั้ง ๗. ครูผู้สอนปฐมวัย ประเมินและสรุปรายงานผลการดำเนินกิจกรรมให้ผู้อำนวยการและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการก่อนดำเนินการ จำนวน ๘ คน เมื่อดำเนินการตามกิจกรรมโครงการ เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการหลังดำเนินการ จำนวน ๕ คน ลดลงจำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๕๐ บรรลุตามเป้าหมายของโครงการ