กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่าย อสม.หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งเคี่ยม
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เครือข่าย อสม.หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งเคี่ยม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านหรือที่พักอาศัยถือเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นสถานที่ที่ประชาชนใช้ในการอยู่อาศัย และทำกิจกรรมต่างๆของบุคคลในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตและสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การทำงานที่รีบเร่งแข่งกับเวลาทำให้ประชาชนละเลยต่อสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว และไม่มีการจัดการดูแลที่พักอาศัยที่เหมาะสมโดยเฉพาะในเรื่องของการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานในครัวเรือน เช่น ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การปรุง-ประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ น้ำดื่ม น้ำใช้ที่สะอาด และเพียงพอ การจัดการมูลฝอย น้ำเสีย รวมทั้งสัตว์และแมลงพาหะนำโรค หรือละเลยการสร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ก็อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหารที่มีอาหารและ้ำเป็นสื่อ ไวรัสตับอักเสบ โรคไข้เลือดออก เป็นต้น โรคต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้น เครือข่าย อสม.หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งเคี่ยม และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เอื่อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชน และเพื่อให้เกิดการปฏิบัติในระดับครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการ "บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์" ขึ้นเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการสุขาภิบาลที่พักอาศัย การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานในครัวเรือน ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งภายในและบริเวณบ้านโดยรอบให้ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักสุขาภิบาล รวมทั้งสร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีตลอดจนการมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่เป็นการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในทุกครัวเรือนให้มีความใส่ใจต่อสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ระดับครัวเรือนและขยายผลสู่ชมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและทำความสะอาดบ้านตามหลักสุขาภิบาล

 

2 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยในครัวเรือนที่ถูกต้อง

 

3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน

 

4 เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้ประชาชนมีความใส่ใจต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมความพร้อม 1.1 จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดรูปแบบ แผนการดำเนินงาน แนวทางปฏิบัติ วิธีการ และเกณฑ์การประเมิน "บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์" 1.2 จัดทำแผนเพื่อขออนุมัติและจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อต่างๆ เพื่อหาแกนนำครัวเรือนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 2.2 จัดทำสื่่อ สิ่งพิมพ์ เอกสารวิชาการ คู่มือโครงการ ที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการ "บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์" ให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2.3 รวบรวมข้อมูลบ้านที่เข้าร่วมโครการ 2.4 อบรมให้ความรู้ และแจกสื่อ สิ่งพิมพ์ เอกสารวิชาการ คู่มือโครงการ แก่แกนนำที่สมัครใจ 2.5ประชุมชี้แจงเกณฑ์การประเมินแก่คณะกรรมการ ติดตามประเมินผล และกำหนดแผนติดตาม 2.6 ติดตามเยี่ยมบ้านแกนนำ ประเมิน และติดตามโครงการตามกิจกรรมของโครงการ
  3. ขั้นสรุปผล 3.1 จัดประชุมสรุปโครงการ สรุปผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมของโครงการ 3.2 สนับสนุนรางวัล และใบประกาศเกียรติคุณให้กับหมู่บ้าน/ชุมชนที่ผ่านเกณฑ์ประเมินตามโครงการ 3.3 รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงาน ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดสภาพแวดล้อมในบ้านและบริเวณโดยรอบ รวมถึงหมู่บ้าน/ชุมชน ที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  2. เกิดสุขนิสัยที่ดีในเรื่องการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคล
  3. ป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคที่มีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
  4. คนได้รับการหล่อหลอมมาจากบ้านให้มีคุณภาพ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ
  5. ส่งเสริม และสนับสนุนให้ประเทศเป็นเมืองสะอาด (Clean Cities)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2560 10:23 น.