กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังแบบบูรณาการ (Home Visit & Home Health Care) เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน รพ.สต.บ้านฝาละมี อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุงประจำปี 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังแบบบูรณาการ (Home Visit & Home Health Care) เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน รพ.สต.บ้านฝาละมี อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุงประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3339-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมี
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 48,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านฝาละมี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลับพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 319 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน และมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มขึ้นและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของประชาชน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์มากเกินไป การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนและไม่เหมาะสมทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกายและมีความเครียดจากครอบครัว และสังคม จากการศึกษาแนวการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่าปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การบริโภคเครื่องดื่มที่ไม่สมดุล การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล รวมทั้งการมีความรู้ที่ไม่ถูกต้องและไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคติดต่อเหล่านั้นในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตมากถึง 103,291 คน ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยพบว่ากว่าร้อยละ 30 เป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอายุ 60 ปี ทั้งนี้มีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 2,600,000 ครั้งต่อปี หรือ สูงถึง 7,300 ครั้งต่อวัน และเพิ่มขึ้น 1.6 เท่าภายใน 5 ปี
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี มีจำนวนผู้ป่วย ด้วยโรคความดันโลหิตสูง๓๑๙ ราย คิดเป็นอัตราป่วย 4,346.51 ต่อแสนประชากรและผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน๑๗๓ ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2,145.62 ต่อแสนประชากรและปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน๗๓ ราย ทางตาจำนวน๑๖ ราย ทางเท้า จำนวน๙ และทางสมอง จำนวน๑๔ ราย ขณะที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน๑๓ ราย ทางหัวใจจำนวน๑ ราย และทางสมอง จำนวน๓๔ ราย และ ทางตา จำนวน๑๗๓ ราย และในปี 2562 มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น ร้อยละ8.25 ผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ ๕๑ และผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 4๒ และมีแนวโน้มพบผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มมากขึ้นหากไม่ได้รับการป้องกันและแก้ไข อย่างเร่งด่วน ซึ่งจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดขึ้น เนื่องจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมักไม่ปรากฏอาการที่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าอาการดีแล้ว หรือหายจากโรคแล้วและผู้ป่วยอาจไม่ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวในการควบคุมโรคที่ถูกต้อง ประกอบกับแพทย์/พยาบาล ตรวจวัดความดันโลหิต/ระดับน้ำตาลในเลือด และผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับปกติแล้ว ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าตนเองมีสุขภาพดี หรือหายจากโรค จึงขาดการติดตาม การรักษาที่ต่อเนื่อง หยุดการรักษา หยุดรับประทานยา และมาพบแพทย์อีกครั้งเมื่อมีอาการหรือโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาที่เรื้อรัง ส่งผลถึงความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ของครอบครัว และสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควรนอกจากนี้ การดำเนินงานตามโครงการในครั้งนี้ยังเป็นการพัฒนารูปแบบการป้องกัน และควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยดูแลตั้งแต่ประชาชนที่ยังไม่เป็นโรค ดูแลประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง และดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคแล้ว โดยอาศัยความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชนในพื้นที่ อสม. ผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ประชาชน ผู้ป่วย ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ได้เกิดการเรียนรู้ มีความตระหนัก และมีประสบการณ์โดยตรงในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิต ซึ่งเป็นปัญหาของชุมชนของตนเอง และร่วมพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เหมาะสมกับพื้นที่
ดังนั้น เพื่อเป็นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ที่แฝงอยู่ในชุมชน และเป็นการป้องกันและลดปัญหาโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี ได้เห็นความสำคัญของการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะ 2 โรคดังกล่าว จึงให้มีการดำเนินงาน“เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังแบบบูรณาการ (Home Visit & Home Health Care) เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน” เพื่อให้เกิดโครงการที่ยั่งยืนและลดอัตราป่วยและภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และความรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพที่จำเป็นสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิต ซึ่งจะยังผลให้มีระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่สูงขึ้นอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วย/กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลต่อเนื่อง

เพื่อให้ผู้ป่วย/กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลต่อเนื่อง

90.00
2 ๒. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์

๒.ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ๓ ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40

0.00
3 เพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

๔. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลงจากปีที่ผ่าน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48,000.00 0 0.00
1 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 1. สำรวจข้อมูล ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง ในพื้นที่ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน 2.ให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แก่จิตอาสาดูแลผู้ป่วยในชุมชน ๓. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ 0 48,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่จะนำไปสู่ความพิการได้ สามารถประกอบอาชีพ และสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามอัตภาพ
  2. อัตราอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
  3. หน่วยบริการมีการพัฒนาคุณภาพบริการ(NCD. คุณภาพ) ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2563 00:00 น.