กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและเฝ้าระวังสารปนเปื้อน รพ.สต.บ้านฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3339-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมี
วันที่อนุมัติ 13 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 12,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านฝาละมี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๕๗ กล่าวว่า“ประชาชนต้องได้รับการคุ้มครองในฐานะผู้บริโภค ด้านสุขภาพอย่างเสมอกัน ” โดยให้สำคัญ กับเรื่องสิทธิในฐานะผู้บริโภค ไม่ให้ผู้ใดมาเอารัดเอาเปรียบหรือยัดเยียดให้ซื้อและบริโภคแต่เฉพาะสิ่งที่ผู้ประกอบการหรือผู้ขายเป็นผู้กำหนดให้ ทั้งชนิด ปริมาณ ราคา และคุณภาพ หรือแม้แต่สิ่งเจือปนด้วยสารพิษอันเป็นการทำลายสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่ง การคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัดจากการบริโภคสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้บริการด้านสุขภาพและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ไม่ว่าเป็น อาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆที่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยกำหนดสิทธิในการเข้าถึงด้านสุขภาพที่เหมาะสม สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ เป็นต้นและรัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหารยาเครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ ยังพบว่ามีร้านค้าในชุมชน หรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพในคลื่นวิทยุชุมชนร่วมด้วย ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค อาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารสด ในพื้นที่ตำบลหารเทาอำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง จัดทำขึ้น เพื่อการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารให้ได้ มาตรฐาน ทั้งด้านสุขาภิบาล คุณภาพอาหาร และความปลอดภัยในอาหาร โดยมุ่งหวังที่จะให้ผู้ประกอบการและ แกนนำด้านอาหารปลอดภัย ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านการสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภค อาหารที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด และปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภคด้านอาหารให้ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย

.ผู้ประกอบการและแกนนำด้านอาหารปลอดภัยมีความรู้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภค อาหารที่ไม่เหมาะสม

0.00
2 ๒. เพื่อเฝ้าระวัง ตรวจสอบร้านค้า และร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย ให้ได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste

ร้านอาหาร ได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste ร้อยละ 80

20.00 80.00
3 ๓. เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของ อสม. ในการดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

มีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

1.00 3.00
4 เพื่อส่งเสริมและเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยคุกคามสุขภาพจากการประกอบอาชีพ

เกษตรกรได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด  150 คน

25.00 150.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,800.00 0 0.00
1 พ.ย. 63 - 31 ส.ค. 64 1. จัดทำแนวทางดำเนินงานโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในชุมชน 2. รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลการเจ็บป่วย และข้อมูลร้านค้า แผงลอย ในชุมชน ฐานข้อมูลด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ร้านชำ ร้านยา/คลินิก สถานที่ผลิตอาหาร โรงเรียน สถานีวิทยุสื่อวิทยุใ 0 12,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

. ผู้ประกอบการและแกนนำด้านอาหารปลอดภัยมีความรู้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภค อาหารที่ไม่เหมาะสม
2 .ร้านอาหาร ให้ได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste
3. ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย 4. มีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2563 00:00 น.