กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกบ้านคอกช้าง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3339-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านคอกช้างหมู่ที่1ตำบลหารเทา
วันที่อนุมัติ 13 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 18,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสามสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านคอกช้าง หมู่ที่ 1 ตำบลหารเทา
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พื้นที่บ้านคอกช้างหมู่ที่1ตำบลหารเทามีประชากรตั้งบ้านเรือนพักอาศัยจำนวน166หลังคาเรือนประชากร649คนมีอสม. ปฏิบัติงาน14คน เป็นพื้นที่ชนบทที่มีสุขาภิบาลที่พักอาศัยระดับปานกลาง การจัดการสิ่งแวดล้อมไม่มีนัก เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก จากข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านทุกปี ซึ่งบางปีจัดเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค และในปี พ.ศ.2563 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 1 คน เป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าในหมู่บ้านมีเชื้อโรคไข้เลือดออกแฝงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกอย่างถาวรและต่อเนื่องได้ โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมาช้านาน จึงมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนยุงลายได้อย่างรวดเร็ด การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรเตรียมพร้อมด้วยการควบคุม และกำจัดยุงลายก่อนถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้านและบริเวณนอกบ้าน

0.00
2 2.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

2.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง  20 % จากปีก่อน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,600.00 0 0.00
1 - 30 พ.ย. 63 1.จัดประชุมภาคีเครือข่าย เพื่อชี้แจงโครงการ 0 1,200.00 -
1 - 30 พ.ย. 63 2.แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 0.00 -
1 พ.ย. 63 - 31 ส.ค. 64 3.รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนศูนย์ กศน. ตำบล และสถานที่สาธารณะ 4 ครั้ง 0 6,800.00 -
1 พ.ย. 63 - 31 ส.ค. 64 6. การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค กรณีที่อาจมรโรคเกิดขึ้นในพื้นที่หรือกรณีต้องการใช้ฉุกเฉินเร่งด่วน 0 3,600.00 -
1 - 31 ธ.ค. 63 4.ค้นหาครัวเรือนปลอดลูกน้ำยุงลายลดโรคไข้เลือดออก 0 4,000.00 -
1 - 30 มิ.ย. 64 5. ค้นหา อสม.ต้นแบบในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 2,000.00 -
1 - 31 ส.ค. 64 7. ประชุมสรุปโครงการและคืนข้อมูลให้ชุมชน 0 1,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง 2.มีครัวเรือนต้นแบบในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.มี อสม.ต้นแบบในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2563 00:00 น.