กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคซึมเศร้า/อาสาสมัคร
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลสุโสะ
วันที่อนุมัติ 25 พฤษภาคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2016 - 30 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลสุโสะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางประจวบชัยเกษตรสิน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.236,99.673place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะซึมเศร้าพบได้บ่อยในผู้สูงอายุเพราะเป็นวัยที่มีการสูญเสียหลายด้านทั้งร่างกาย จิตใจสังคมและสูญเสียบุคคลในครอบครัว เพื่อนหรือคู่ชีวิตเป็นวัยที่ต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของชีวิตอย่างมากผู้สูงอายุบางคนป่วยเป็นโรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้นไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้นอกจากโรคต่างๆแล้วผู้สูงอายุบางคนยังถูกลูกหลานทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวไม่มีใครสนใจดูแล หรือไม่ก็ต้องรับภาระเลี้ยงหลานซึ่งเป็นกำพร้า พ่อ แม่ แยกทางกันประกอบกับวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในสังคมยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมีแต่การแข่งขันดิ้นรนทำงานเพื่อหารายได้เลีัยงตัวเองให้สามารถอยู่ได้ในสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั้งด้านการเมืองที่ยังคงมีปัญหายืดเยื้อ ตลอดจนวัฒนธรรมและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปมากการพูดคุยสื่อสารในครอบครัว และชุมชนน้องลง การทำกิจกรรมร่วมกันน้อยลง ความรักความอบอุ่น การดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชนลดน้อยลง ส่งผลต่อความเสื่อมถอยของสุขภาพจิตเกิดเป็นปัญหาสุขภาพจิตตั้งแต่เครียดวิตกกังวลไปจนถึงปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรง เช่น โรคจิต ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ซึ่งมีผล กระทบต่อตนเองคนรอบข้าง และสังคม โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้โดยการใช้ยาต้านเศร้ารวมทั้งการพูดคุยปรึกษาปัญหาชีวิตที่รบกวนอยู่การออกกำลังกาย และการทำกิจกรรมที่ทำให้เพลิดเพลินหรือมีความสุขเพื่อเลี่ยงไม่ให้ผู้ที่ซึมเศร้าจมอยู่กับปัญหาของตัวเองการทำกิจกรรมจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นแม้ว่าในช่วงที่เศร้ามากๆอาจจะยังทำไม่ได้เต็มที่แต่ถ้าหากลองทำไปเรื่อยๆเท่าที่ทำได้จะพบว่าอารมณ์และความรู้สึกจะดีขึ้นด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 -เพื่อให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

 

2 -เพื่อให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ทำให้มีสมาธิ ได้รับเพลิดเพลินช่วยให้อารมณ์และความรู้สึกของผู้ป่วยดีขึ้น

ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่สดใสขึ้น

3 เพื่อให้อาสาสมัครมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

อาสาสมัครมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องซึมเศร้ามากขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

-เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ -ประสานงานโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง -ดำเนินการตามโครงการ -ประเมินผลตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้สึกที่ดีขึ้น 2.มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าลดน้อยลง 3.อาสาสมัครมีความรู้ ความเข้าใจ และเข้าใจผู้ป่วยยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2017 11:36 น.