กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล


“ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ”

ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางทิพวรรณ เพ็ชรรัตน์

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ

ที่อยู่ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 60-L5192-2-4 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 เมษายน 2560 ถึง 25 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 60-L5192-2-4 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 เมษายน 2560 - 25 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 22,475.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอายุของประชากรโครงสร้างทางอายุของประชากรแสดงด้วยสัดส่วนของประชากรในวัยต่างๆ เมื่อจำแนกประชากรออกเป็นกลุ่มอายุ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า 15 ปี) วัยแรงงาน(อายุ 15-59 ปี) และวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะเห็นได้ว่า ในระหว่างปี พ.ศ.2553 –พ.ศ.2583 สัดส่วนของประชากรวัยเด็ก และวัยแรงงาน มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่สัดส่วนของประชากรสูงอายุ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 13.2 ในพ.ศ.2553 เป็นร้อยละ 32.1 ในพ.ศ.2583 และที่น่าสังเกต คือ ในปีพ.ศ.2560 จะเป็นปีที่คาดว่าสัดส่วนของประชากรวัยเด็กจะเท่ากันกับสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุ
ผู้สูงอายุ เป็นวัยซึ่งมีความแตกต่างจากวัยอื่น เป็นวัยบั้นปลายของชีวิต ดังนั้นปัญหาของผู้สูงอายุในทุกด้านโดยเฉพาะด้านสังคม และสาธารณสุข จึงแตกต่างจากคนในวัยอื่น ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งรัฐบาลไทย และทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงมีความพยายาม และมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ให้ทุกคนตระหนัก เข้าใจ และพร้อมดูแลผู้สูงอายุให้ทัดเทียมเช่นเดียวกับการดูแลประชากรในกลุ่มอายุอื่นสถิติผู้สูงอายุในประเทศไทยอนึ่ง ยังอาจแบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุตอนต้น ได้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 60 - 69 ปี และผู้สูงอายุตอนปลาย ได้แก่ผู้มีอายุในช่วง ตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ซึ่งปัญหาทางสังคมจะพบได้สูงมากขึ้นในผู้สูงอายุตอนปลาย ผู้สูงอายุเป็นประชากรซึ่งมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว กล่าวคือ เป็นแหล่งความรู้ ความชำนาญที่มีคุณค่า เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งประเพณี วัฒนธรรม และเป็นสายใยแห่งครอบครัว เชื่อมต่อระหว่างบุคคลในช่วงวัยต่างๆ แต่ขณะเดียวกัน มีปัญหาในด้านสุขภาพ อนามัย ปัญหาด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นกว่าวัยอื่นๆ ปัญหาด้านสุขภาพ เกิดเนื่องจากเป็นวัยชรา เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆเสื่อมลงตามธรรมชาติ ทำให้เกิดโรคการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เกิดภาวะสมรรถภาพทดถอย ไร้แรงงาน หรือไร้สมรรถภาพ (Disability) เช่น โรคกระดูกเสื่อม โรคข้อเสื่อม หรือความจำ สติปัญญาเสื่อมถอยสับสนง่าย เกิดการทรงตัวไม่ดี เชื่องช้า ล้มได้ง่าย กระดูกหักง่าย เกิดโรคขาดอาหารได้ง่ายจากการเสื่อมสภาพของเหงือกและฟัน รวมทั้งภูมิต้านทานคุ้มกันโรคลดลง มีการติดเชื้อได้ง่าย และมักเป็นการติดเชื้อรุนแรง มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งสูงกว่าวัยอื่น ต้องได้รับการดูแลช่วย เหลือจากบุคคลอื่น รวมทั้งในด้านการรักษาพยาบาล มีภาระด้านค่ารักษาพยาบาลสูงกว่าในวัยอื่น เป็นปัญหาสาธารณสุขในระดับชาติ ในด้านสังคม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ ต้องพึ่งพา เป็นภาระทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ทั้งด้านสุขภาพ การเงิน ความเสื่อมจากเซลล์สมอง การขาดแคลนคนดูแล คนเข้าใจ และแรงทรัพย์ เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุมักมีอาการซึมเศร้าได้ง่าย ดังนั้น ถ้าไม่ตระหนักถึงข้อดี ถึงปัญหาของผู้สูงอายุ และให้การดูแลอย่างถูกต้อง ผู้สูงอายุจะกลาย เป็นปัญหาใหญ่หลวงของประเทศชาติในทุกด้าน ประเทศไทย ในปี 2542 เป็นวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ 72 พรรษา ประกอบกับองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีสากลของผู้สูงอายุ และเพื่อให้สอดคล้องกับปฏิญญาผู้สูงอายุมาเก๊า ผู้แทนจากองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรผู้สูงอายุ และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร่วมกันจัดทำปฏิญญาผู้สูงอายุไทยขึ้น เพื่อให้ถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน และให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้สูงอายุไทย และทัดเทียมกับคนในทุกวัย ซึ่งคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้ประกาศเป็นปฏิญญาผู้สูงอายุไทยเมื่อ 23 มีนาคม 2542 ซึ่งปฏิญญาผู้สูงอายุไทยมีทั้งหมด 9 ข้อ โดยสรุป คือ 1. เกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี 2. การยอมรับได้อยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุข 3. การมีโอกาสได้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องตามความต้องการ เพื่อการพัฒนา ศักยภาพ 4. มีโอกาสได้ทำงานถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของตนเอง โดยได้รับค่าตอบแทน 5. มีโอกาสได้เรียนรู้การดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง และได้รับหลักประกันในการบริการด้านสุขภาพ 6. ได้รับโอกาสให้มีส่วนร่วมในครอบครัวและสังคม 7. รัฐ และองค์กรต่างๆต้องดำเนินการในการจัดการดูแลผู้สูงอายุ ให้เป็นไปตามเป้าหมายรัฐ และประชาคมโลก 8. ต้องมีกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้สูงอายุในด้านต่างๆ 9. รัฐและสังคมต้องรณรงค์ และปลูกฝังค่านิยมให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุบ้านแม่ที ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุขึ้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ โดยเน้นเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเทพา อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าและมีส่วนร่วมนำกิจกรรมต่างๆในชุมชนเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ
  2. ข้อที่ 2เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้
  3. ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าและมีส่วนร่วมนำกิจกรรมต่างๆในชุมชนเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ
    2. ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้
    3. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ให้ความรู้ในเรื่องการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ(สมองเสื่อม การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อาหารผู้สูงวัย การออกกำลังกาย สุขภาพจิต) โดยทีมสหวิชาชีพ

    วันที่ 1 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เดือนที่1 ทีมสหวิชาชีพ มีการให้ความรู้ในเรื่องการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสมองเสื่อม และการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อาหารผู้สูงวัย การออกกำลังกาย สุขภาพจิต

     

    50 50

    2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “จิตอาสาเยี่ยมบ้านเยี่ยมใจ”

    วันที่ 20 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ

     

    50 50

    3. 1 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส

    วันที่ 20 เมษายน 2560 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เดือนที่ 1 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส

     

    25 25

    4. ให้ทันตสุขศึกษา ตรวจสุขภาพช่องปากและ ให้การรักษาทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่องโดยทันตแพทย์จากโรงพยาบาลเทพา

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เดือนที่2  ทันตแพทย์จากโรงพยาบาลเทพา  ตรวจสุขภาพช่องปากและให้การรักษาทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง   

     

    50 50

    5. เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เดือนที่2 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส

     

    25 25

    6. ตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุประจำปี (ADL)

    วันที่ 1 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เดือนที่3 ตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุประจำปี (ADL)

     

    50 50

    7. เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส

    วันที่ 1 มิถุนายน 2560 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เดือนที่3 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส

     

    25 25

    8. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ทำอย่างไรให้เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม” พร้อมทั้งแจ้งเกณฑ์การประกวด

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ทำอย่างไรให้เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม” พร้อมทั้งแจ้งเกณฑ์การประกวด

     

    50 50

    9. ทีมคณะกรรมการออกประเมินผู้สูงอายุสุขภาพดีที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมสรุปผลการประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมคณะกรรมการออกประเมินผู้สูงอายุสุขภาพดีที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมสรุปผลการประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี

     

    12 12

    10. ประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี

    วันที่ 1 กันยายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี

     

    50 50

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ผู้สูงอายุในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้านสมองเสื่อม การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อาหารของผู้สูงวัย การออกกำลังกาย รวมทั้งมีการตรวจสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุโดยทันตแพทย์จากโรงพยาบาลเทพา และมีการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุประจำปี (ADL) รวมทั้งผู้ที่มีสุขภาพดีสามารถเข้าร่วมกิจกรรมประกวดผู้สูงอายุได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีความสำคัญต่อบุคคลอื่นๆและชุมชนอีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีผู้ดูแล และยังช่วยลดภาวการณ์พึ่งพิงอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน เยี่ยมใจผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ด้อยโอกาสเพื่อสร้างแรงกำลังใจแก่ผู้ป่วย ให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับอาการและโรคที่เป็นอยู่ รวมทั้งเป็นการเพื่อนช่วยเพื่อนได้อีกด้วย

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าและมีส่วนร่วมนำกิจกรรมต่างๆในชุมชนเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ
    ตัวชี้วัด : ข้อที่ 1 มีการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 3 เดือน/ครั้ง

     

    2 ข้อที่ 2เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้
    ตัวชี้วัด : ข้อที่ 2 การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุในชมรมสัดส่วนร้อยละ 80

     

    3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
    ตัวชี้วัด : ข้อที่ 3 ร้อยละ 100 ของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพพึงประสงค์ปีละ 1 ครั้ง

     

    4
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าและมีส่วนร่วมนำกิจกรรมต่างๆในชุมชนเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ (2) ข้อที่ 2เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้ (3) ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ (4)

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 60-L5192-2-4

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางทิพวรรณ เพ็ชรรัตน์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด