กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ค่าเบี้ยประชุมของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ 1/2564 1 ต.ค. 2563 2 พ.ย. 2563

 

ระเบียบวาระการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ครั้งที่ 1/2564 วันพุธ ที่ 28 ตุลาคม 2563 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

ระเบียบวาระที่ 1 : ประธานแจ้งที่ประชุม .......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ระเบียบวาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2563 วันพุธ ที่ 23 กันยายน 2562

ระเบียบวาระที่ 3 : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ เรื่องที่ 1 : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ (ตามเอกสารฯ)

ระเบียบวาระที่ 4 : เรื่องเพื่อพิจารณา เรื่องที่ 1 : โครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน ประจำปี ๒๕๖๔

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อติดตาม เรื่องที่ 1 : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ .............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ครั้งที่ 1/2564 วันพุธ ที่ 28 ตุลาคม 2563
ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

ลำดับ ชื่อ – สกุล ตำแหน่ง 1. นายสมศักดิ์  ชูโชติ กรรมการ
2. นางอะไอเซาะ สิดิ กรรมการ
3. นายแปนดี  อารง กรรมการ
4. นายสะมะแอ บือราเฮ็ม กรรมการ
5. นางฮาปือเสาะ  บินมือเยาะ กรรมการฯ
6. นางสาวสุนันทา หะยีดอเลาะ กรรมการ
7. นายอนุชิต  ภาควันต์ กรรมการ 8. นางสาวซาลือมา มะยูนุ กรรมการ 9. นายอัซมี อาแซ กรรมการ
10. นายอุสมาน อาแว กรรมการ 11. นายสันต์  พรมสร กรรมการ 12. นางสาวสารีนา ยารี กรรมการ 13. นายมูซอ  อาแว กรรมการ
14. นางสาวสุดสาย แดงดี กรรมการและเลขาฯ 15. นายไซนัล นิรมาณกุล กรรมการและผู้ช่วยฯ ผู้เข้าร่วมประชุม
1. นางสาวอมรพรรณ แถมเงิน อนุกรรมการ 2. นางสาวอาดีลา เจ๊ะดือราแม  คณะทำงาน
3. นางสาวนูรอัยนี สียา คณะทำงาน
ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม 1. นายรอปา    อีซอ  ป่วย 2. นางฮามีเนาะ  นุ้ยผอม  ติดภารกิจ

เปิดประชุมเวลา 09.30 น. เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นายสมศักดิ์ ชูโชติ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ได้กล่าวเปิดการประชุมแทนประธานคณะกรรมการกองทุนฯตามระเบียบวาระดังนี้
ระเบียบวาระที่ 1 : ประธานแจ้งที่ประชุม ประธาน - ยินดีต้อนรับคณะกรรมการบริหารกองทุนฯทุกท่าน เนื่องด้วยในวันนี้ประธานกองทุนมีอาการป่วย หลังจากนี้ขอให้ทางฝ่ายเลขานุการกองทุนฯดำเนินการตามวาระต่อไป ผช.เลขาฯ - ยินดีต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมอีกครั้ง ด้วยในวันนี้ท่านประธานป่วย มาประชุมพร้อมพวกเราไม่ได้ จึงฝากให้ผมในฐานะผู้ช่วยเลขานุการดำเนินการจัดประชุม เพื่อให้โครงการที่จะดำเนินการตามแผนงานสามารถที่จะจัดกิจกรรมได้ตั้งแต่ต้นปี
ระเบียบวาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2563 วันที่ 23 กันยายน 2563

มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม
ระเบียบวาระที่ 3 : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ เรื่องที่ 1 : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ ยอดยกมา 512,805.07 บาท โดยมี รายรับ-รายจ่าย ดังนี้ -

รายรับ ดังนี้ รายจ่าย ดังนี้ 1. จ่ายให้โครงการประเภทที่ 3  เป็นเงิน  38,600  บาท 4. จ่ายให้โครงการประเภทที่ 4  เป็นเงิน  11,675 บาท รวมรายจ่าย    เป็นเงิน 50,275.00 บาท

รายรับ ดังนี้ 1. ดอกเบี้ยเงินฝาก  เป็นเงิน 1,016.83 บาท  รวมรายรับ    เป็นเงิน 1,016.83 บาท เหลืองบประมาณกองทุน  เป็นเงิน  463,550.90 บาท

จากเอกสารจะเห็นได้ว่ามีรายการจ่ายในค่าใช้จ่ายสนับสนุนหน่วยงานและโครงการต่างๆ ตลอดปี 2563 เป็นเงินทั้งสิ้น 1,007,118 บาท งบคงเหลือยกไป 463,550.90 บาท และตอนนี้จะมีเงินสนับสนุนและสมทบเพิ่มเข้ามาในปีงบประมาณ 2564 อีกประมาณ 700,000 บาท เพราะฉะนั้นในปีงบประมาณ 2564 จะมีงบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการต่างๆ ประมาณ 1,100,000 กว่าบาท มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 4 : เรื่องเพื่อพิจารณา เรื่องที่ 4.1 : โครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงานภาครัฐ/ภาคประชาชน ประจำปีงบประมาณ 2564
ผช.เลขาฯ : จากการประชุมครั้งที่ผ่านมาล่าสุด ทางกองทุนได้แนบแบบฟอร์มเสนอโครงการกองทุนประจำปี 2564 ให้แต่ละหน่วยงานแต่ละองค์กรเขียนเสนอโครงการเพื่อบรรจุในแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ เพื่อประกอบการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2564 ซึ่งจะมีหน่วยงานและองค์กรต่างๆได้เสนอแผนงานและโครงการครอบคลุมทุกประเภท ตามเอกสารโดยมียอดงบประมาณที่ขอรวมกันเป็นเงินทั้งสิ้น 1,667,440 บาท ซึ่งเป็นเงินมากกว่าที่กองทุนฯมีประมาณ 600,000 บาท ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับลดยอดงบประมาณเกือบทุกโครงการที่เสนอเข้ามา โดยเฉพาะโครงการจากกลุ่มองค์กรภาคประชาชน ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 900,000 กว่าบาท เท่าที่ได้อ่านรายละเอียดแต่ละโครงการพบว่าจำเป็นต้องตัดในกิจกรรมที่อาจไม่ตอบวัตถุประสงค์ของกองทุนโดยตรง เช่น การเหมาค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก ค่าติดตาม รวมทั้งค่าจัดซื้อวัสดุหรือครุภัณฑ์ เป็นต้น
อ.สมศักดิ์ : ให้พวกเราพิจารณาแต่ละโครงการ แต่ละหน่วยที่ขอว่ามีรายละเอียดโครงการเป็นอย่างไรบ้าง โครงการไหนที่ต้องปรับลดบ้าง ปลัด อบต. : โครงการของ อบต.มี ๓ โครงการ คือ โครงการบริหารจัดการกองทุนฯ โครงการขลิบฯในเยาวชน และโครงการสนับสนุนป้องกันภัยพิบัติ ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ของงบประมาณในขอรับการสนับสนุนทั้งหมด รวมทั้งโครงการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วย โครงการใหม่ๆของ รพ.สต.ก็น่าสนับสนุน เพียงแต่ต้องดูรายละเอียดกิจกรรมว่าถูกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนขององค์กรภาคประชาชนโดยเฉพาะ อสม. ต้องดูความซ้ำซ้อนกับงานของ รพ.สต.หรือไม่ รวมทั้งเรื่องการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ต้องพิจารณาความจำเป็นและความเป็นจริงของแต่ละหมู่ เช่น เครื่องขยายเสียง เป็นต้น อาจทำในลักษณะโครงการภาพรวม ซื้อเครื่องเดียวใช้ได้ทุกหมู่ ผช.เลขาฯ : โครงการของ อบต.จะยึดตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศฯกำหนด ได้ขออนุมัติที่ประชุมกรรมการกองทุนฯครั้งที่ผ่านมาแล้ว มีโครงการบริหารจัดการกองทุนฯต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของรายรับ โครงการขลิบฯกำหนดไม่เกิน 800 บาทต่อคน และโครงภัยพิบัติกำหนดตามความเหมาะสม ปกติประมาณร้อยละ 10 ส่วน โครงการศูนย์เด็กและผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 15 ซึ่งโครงการจากทั้งสองตอนนี้คำนวณได้ร้อยละ 13.65
คุณอะไอเซาะ : สำหรับโครงการของชมรมผู้สูงอายุ ของปี 2564 จะมีรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมเพิ่มจากปี 2563 พอสมควร จึงมียอดเงินเพิ่ม แต่สามารถปรับรายละเอียดได้ตามความเหมาะสม หากงบประมาณไม่พอ โดยอาจปรับระยะเวลาการดำเนินงานให้สั้นลง ผอ.รพ.สต. : รพ.สต.ในปีงบประมาณ 2564 มีทั้งหมด 7 โครงการ งบประมาณ 417,760 บาท จะลดจากปีที่แล้วประมาณ 100,000 บาท โดยในปี 2564 จะมีโครงการใหม่ 3 โครงการคือ โครงการนมสมุนไพรตรีมธุรส โครงการหมู่บ้านวิถีใหม่ชาวมูโนะสู้ภัยโควิด และโครงการทูบีนัมเบอร์วัน ซึ่งเป็นโครงการที่สอดรับกับแผนแม่บทจากแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดระดับชาติ จังหวัดและอำเภอ
ปลัดฯ : ฝาก รพ.สต. ช่วยพิจารณาดูโครงการของ อสม. ด้วย โดยเฉพาะเรื่องวัสดุอุปกรณ์ประกอบกิจกรรมดำเนินงาน เช่น เครื่องเสียง ควรสนับสนุนให้พื้นที่ที่มีความพร้อมก่อน เพราะถ้าสนับสนุนทุกหมู่บ้านจะทำให้เห็นว่ามีการของบประมาณที่สูงไป ผอ.รพ.สต. : โครงการของ อสม.จะกลับไปปรึกษากับ อสม. ในโครงการ NCD คือ โรคเรื้อรังของ คนในหมู่บ้าน จะต้องไปดูกลุ่มเป้าหมายก่อน ถ้าเครื่องมือเดิมยังใช้ได้อยู่จะลดทอนค่าใช้จ่ายลง
ส่วนโครงการ ญาลันนัน การศึกษาดูงานน่าจะไม่เข้าข่าย ผช.เลขาฯ : โครงการ NCD มีค่าเครื่องเสียง 5 หมู่ หมู่ละ 10,000 บาท เท่ากับ 50,000 บาท ส่วน โครงการภาวะทุพโภชนาการ ซื้อนม 12 เดือน อาจเยอะเกินไป โครงการญาลันนัน ให้อบรมที่ สนามกีฬาดีกว่า เพราะงบประมาณในการเดินทางและที่พักสูง ให้ทำในพื้นที่น่าจะดีกว่า
คุณอะไอเซาะ: โครงการ NCD รูปแบบโครงการเหมือนกัน คือ เครื่องเสียงใช้สำหรับออกกำลังกายในหมู่บ้าน และเครื่องเจาะน้ำตาล จะทยอยให้ทีละหมู่บ้าน ส่วนโครงการเหา ยาเหาตอนนี้เด็กเป็นน้อยลงแล้ว ค่ายาอาจลดลงได้ ประธาน : สอบถามว่า มีโครงการไหนสมควรปรับบ้าง จะปรับตัดงบอีก 600,000 บาท
ผช.เลขาฯ: โครงการบริหารจัดการกองทุนไม่เกิน 10% ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งตอนนี้ไม่เกิน
โครงการขลิบค่าบริการจากหมอไม่เกิน 800 บาท/คน โครงการภัยพิบัติขอไม่เกิน 10% โครงการ อื่นไม่พอ อาจมาขอจากโครงการนี้ได้ โครงการอสม. เครื่องชั่ง สายวัด ในโครงการซ้ำกันอยู่
โครงการศูนย์เด็กเล็กไม่น่าจะตัดเพราะ 4 ศูนย์ของบรวมกันไม่ถึง 70,000 บาท ประธาน :โครงการที่ 1 ไม่ลดค่าใช้จ่าย โครงการที่ 2 Fix ค่าหมอแล้ว และโครงการที่ 3 ตั้งเผื่อ ฉุกเฉิน เหลือโครงการของ รพ.สต. ชมรมและภาคประชาชน ที่มียอดงบประมาณรวมกันมากกว่า
1,300,000 บาท ที่เห็นควรพิจารณาปรับลดอีกครั้ง โดยต้องมีการประชุมตัวแทนคณะอนุกรรมการ ฝ่ายแผนฯเพื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละโครงการอีกครั้ง เลขาฯ : คณะอนุกรรมการประกอบด้วย ผอ.รพ.สต. คุณอะไอเซาะ ประธานสภา ปลัด ประธาน
ไซนัล และ คุณอัซมี โดยจะมีคุณอมรพรรณ นักวิชาการสุขาภิบาล เป็นคณะอนุกรรมการเพิ่ม อมรพรรณ
ผอ.รพ.สต. : บางโครงการตัดออก หรือ ยุบรวมกันได้ คุณแปนดี : เสนอ NCD ที่มีทุกหมู่บ้านยุบเป็นระดับตำบล อะไอเซาะ :NCD จัดรวมเป็นตำบลเลย มีมหกรรมใหญ่อยู่แล้ว เครื่องมือเดิมก็มีอยู่ รวมโครงการ
NCD มะเร็งปากมดลูก เป็นระดับตำบล ผอ.รพ.สต.: มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตมากที่สุด ต้องมีแรงจูงใจให้คนมาตรวจ ซึ่งยากหาคนมาร่วมโครงการยากมาก NCD มีหลากหลายกิจกรรม จากหลายกลุ่ม มีกลุ่มเสี่ยง กลุ่ม ป่วย กลุ่มคนปกติ จะมีหลากหลาย ประธาน : ปรับยุบหรือปรับงบแล้วให้ปรับตัวเนื้อหาโครงการด้วย เลขาฯ : นัดประชุมอนุกรรมการฝ่ายแผนฯ ในวันพฤหัสบดี ที่ 5 พ.ย. 63 เวลา 09.30 น.

คุณแปนดี : โครงการขลิบ ปกติจัดโครงการเดือนเม.ย.แต่ไม่ได้จัดเนื่องจากโควิด ถ้า พ.ย. จัดแล้วมี คนลดลงจะจัดสองครั้งได้ไหม ปลัด :ไม่สามารถจัดสองครั้งได้ เนื่องจากจะไม่เป็นไปตามระเบียบเอกสารโครงการ มติที่ประชุม : รับทราบ อนุมัติโครงการของ อบต. ศูนย์เด็ก และเห็นควรกำหนดวันประชุมพิจารณา โครงการที่เหลือของ รพ.สตและชมรม โดยอนุกรรมการฝ่ายแผน ในวันพฤหัสบดี ที่ 5 พ.ย. 2563
เวลา 09.30 น. และจะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯชุดใหญ่อีกครั้ง

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อติดตาม เรื่องที่ 1 : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ อนุฝ่ายเลขานุการ : ตอนนี้ทุกโครงการที่มีการดำเนินงานเสร็จเรียบร้อยแล้วได้สรุปและส่งหลักฐานการจัดกิจกรรมตามโครงการแล้วบางส่วน เหลือเฉพาะโครงการที่ขอขยายการดำเนินโครงการเนื่องจากภาวะโรคโควิดระบาด แต่ไม่เกินธันวาคมปีนี้ ก็จะแล้วเสร็จทุกโครงการ ทำให้ปีนี้เรามีการเบิกจ่ายทั้งสิ้นคิดเป็น 68.84 % และขออนุมัติเพิ่มน้องนักวิชาการสุขาภิบาล นางสาวอมรพรรณ แถมเงิน เป็นคณะอนุกรรมการฝ่ายแผนงาน ติดตามและประเมินผล อีกคนหนึ่ง มติที่ประชุม : รับทราบ และอนุมัติ

ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ อ.สมศักดิ์ : ถาม รพ.สต. สถานการณ์โควิดเป็นอย่างไรบ้าง ผอ.รพ.สต.: สถานการณ์ในพื้นที่ไม่มีผู้ป่วยมากกว่า 3 เดือนแล้ว แต่ในต่างประเทศยังมีการระบาดอยู่ โดยเฉพาะในพม่าและมาเลเซีย ซึ่งพวกเราจำเป็นต้องดูแลตัวเอง การ์ดอย่าตกต่อไป
ผช.เลขาฯ : สำหรับโครงการสุนัติหมู่เราต้องหาวันเวลาที่ตรงกับช่วงเด็กประถมปิดเทอม ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็น กลางเดือน พย.นี้ และขอแจ้งด้วย สปสช.เขต 12 สงขลา จะจัดการประชุมชี้ให้ทุกกองทุนฯในจังหวัดนราธิวาส ในวันอังคาร ที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงแรมมารีน่า จึงขอเชิญ ผอ.รพ.สต.เข้าร่วมประชุมด้วย ส่วนของของ อบต.ก็จะมี ปลัด น้องนีธุรการกองทุน และน้องกิ๊บ อนุกรรมการ เข้าร่วมประชุม ผอ.รพ.สต.: ในส่วนของ รพ.สต.จะแจ้งน้องที่ทำงานเพื่อเข้าร่วมประชุมที่โรงแรมมารีน่าด้วย โดยเฉพาะคนที่รับผิดชอบงาน NCD งานเด็กเล็กและงานผู้สูงอายุ มติที่ประชุม : รับทราบ

ปิดการประชุม 11.00 น.

นายไซนัล นิรมาณกุล          นายรอปา อีซอ ผู้บันทึกการประชุม          ผู้ตรวจทานการประชุม

 

เบิกเงินค่าจ้างเหมาบริการเดือนตุลาคม 2563 1 ต.ค. 2563 2 พ.ย. 2563

 

1  จัดทำโครงการ 2 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3  ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน 4  ติดตามผลการดำเนินงาน

 

  1. การบริหารการดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการสร้างความตระหนักให้ชุมชนและเห็นความสำคัญของสังคมมีการดำเนินงานบูรณาการ
  4. เกิดความสามัคคีกันและทำให้การบริหารงานกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

ค่าเบี้ยประชุมของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ 2/2564 1 ต.ค. 2563 7 ม.ค. 2564

 

ระเบียบวาระการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ครั้งที่ 2/2564 วันศุกร์ ที่ 25 ธันวาคม 2563 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

ระเบียบวาระที่ 1 : ประธานแจ้งที่ประชุม .......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ระเบียบวาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2564 วันพุธ ที่ 28 ตุลาคม 2563

ระเบียบวาระที่ 3 : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
เรื่องที่ 1 : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ (ตามเอกสารฯ)

ระเบียบวาระที่ 4 : เรื่องเพื่อพิจารณา

เรื่องที่ 1 : พิจารณาและรับรองผลการจัดทำแผนงานสุขภาพและโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน ประจำปี ๒๕๖๔ เรื่องที่ 2 : พิจารณาและรับรองแผนการรับ-จ่ายเงิน กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ประจำปี ๒๕๖๔

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ ...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ครั้งที่ 2/2564 วันศุกร์ ที่ 25 ธันวาคม 2563
ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

ลำดับ ชื่อ – สกุล ตำแหน่ง ลายมือชื่อ หมายเหตุ 1. นางฮาปือเสาะ บินมือเยาะกรรมการ ฮาปือเสาะ บินมือเยาะ
2. นางสาวสุนันทา หะยีดอเลาะ กรรมการ สุนันทา หะยีดอเลาะ
3. นายอนุชิต ภาควันต์ กรรมการ อนุชิต ภาควันต์
4. นางสาวซาลือมา มะยูนุ กรรมการ ซาลือมา มะยูนุ
5. นายอัซมี อาแซ กรรมการ อัซมี  อาแซ
6. นายอุสมาน อาแว กรรมการ อุสมาน อาแว
7. นางสาวซูไฮลา ลีเดร์ กรรมการ ซูไฮลา ลีเดร์ แทนผอ.รพ.สต. 8. นางสาวสารีนา ยารี กรรมการ สารีนา  ยารี
9. นายมูซอ  อาแว กรรมการ มูซอ  อาแว
10. นางฮามีเนาะ นุ้ยผอม กรรมการ ฮามีเนาะ นุ้ยผอม
11. นางสาวสุดสาย แดงดี กรรมการและเลขาฯ สุดสาย แดงดี
12. นายไซนัล นิรมาณกุล กรรมการและผู้ช่วยฯ ไซนัล นิรมาณกุล
ผู้เข้าร่วมประชุม
1. นางสาวอมรพรรณ แถมเงิน อนุกรรมการ อมรพรรณ แถมเงิน
2. นางสาวอาดีลา เจ๊ะดือราแม คณะทำงาน อาดีลา เจ๊ะดือราแม
3. นางสาวนูรอัยนี สียา คณะทำงาน นูรอัยนี สียา
ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม 1. นายรอปา อีซอ ติดราชการ 2. นายสมศักดิ์ ชูโชติ ติดภารกิจ
3. นางอะไอเซาะ สิดิ ติดภารกิจ
4. นายแปนดี อารง ติดภารกิจ
5. นายสะมะแอ บือราเฮ็ม ติดภารกิจ

เปิดประชุมเวลา 09.30 น.       เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นางสาวสุดสาย แดงดี คณะกรรมการและเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ได้กล่าวเปิดการประชุมแทนประธานคณะกรรมการกองทุนฯ ตามระเบียบวาระดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 : ประธานแจ้งที่ประชุม นางสาวสุดสาย แดงดี ยินดีต้อนรับคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ทุก กรรมการและเลขานุการกองทุนฯ ท่าน เนื่องด้วยใน วันนี้ประธานกองทุนติดราชการ รวมทั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ท่านติดภารกิจด่วน ไม่สามารถร่วมประชุมพร้อมพวกเราได้ จึงขอให้ฝ่าย เลขานุการดำเนินการจัดประชุม โดยมีเรื่องต่างๆที่ จะแจ้งพวกเราดังนี้       ด้วยในระยะนี้ได้เริ่มมีการระบาดอีกครั้งของโรค โควิด 19 รอบสอง ขอให้พวกเราดูแลสุขภาพตนเอง และช่วยสอดส่องผู้ลักลอบข้ามฝั่งด้วย เนื่องจากเราเป็น พื้นที่ชายแดน รวมทั้งเรื่องแรงงานต่างด้าวให้เข้าระบบ การกักกันที่ถูกต้องด้วย หลังจากนี้ขอให้ผู้ช่วยเลขานุการ กองทุนฯดำเนินการตามวาระต่อไป นายไซนัล นิรมาณกุล ยินดีต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมอีกครั้งหลังจากกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ ที่มีการประชุมกองทุนฯครั้งที่ 1/2564 และมีการ ประชุมคณะอนุกรรมการฯล่าสุด เกี่ยวกับแผนงาน โครงการที่จะดำเนินงานในปี 2564 ในวันนี้เป็นการ ชี้แจงโครงการต่างๆ ให้คณะกรรมการกองทุนฯ ชุดใหญ่ รับทราบและอนุมัติเพื่อให้แต่ละโครงการสามารถที่จะ ดำเนินการตามแผนงานและจัดกิจกรรมได้ตั้งแต่ต้นปี ระเบียบวาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 28 ตุลาคม 2563 มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม ระเบียบวาระที่ 3 : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ เรื่องที่ 1 : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ ยอดยกมา 463,550.90 บาท  โดยมี รายรับ-รายจ่าย ดังนี้ รายจ่าย ดังนี้ 1.จ่ายให้โครงการประเภทที่ 1  เป็นเงิน 56,000 บาท ๒.จ่ายให้โครงการประเภทที่ 4  เป็นเงิน 17,600 บาท รวมรายจ่าย  เป็นเงิน 73,600 บาท รายรับ ดังนี้ 1. รับเงินคืนจากโครงการฯ เป็นเงิน 34,295 บาท 2. รับเงินอุดหนุนจากสปสช.ฯ เป็นเงิน 460,530 บาท รวมรายรับ  เป็นเงิน 494,855 บาท คงเหลืองบประมาณกองทุน เป็นเงิน 884,775.90 บาท นายไซนัล นิรมาณกุล ให้ดูเอกสารแผ่นที่ 2 ข้างบนที่เป็นตาราง ข้อมูลกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ การเงินเดือนที่แล้วเรามีเงินคงเหลือจากปีที่แล้ว 463,550.90 บาท ต้นเดือนนี้ได้รับการสนับสนุน อุดหนุนจากเขต สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เข้ามาเป็นเงิน 460,530 บาท คิดจากฐานรายหัว ประชากร 45 บาท ต่อหัวที่เรารายงานไป ตอนนี้จะมี เงินในบัญชี 448,775.90 บาท อบต. จะมีเงินสมทบ ให้อีก 50% ของ 460,530 บาท เพราะฉะนั้นต้อง สมทบไป 230,300 บาท ตอนนี้ได้ทำบันทึกข้อความ ไปแล้ว ซึ่งคิดว่าภายในเดือนหน้าจะมีเงินสมทบโอนเข้า มาอีกครั้งหนึ่ง ถ้าบวกกันก็จะเป็น 884,775.90 + 230,300 ก็จะเป็น 1,115,075.90 บาท จะเป็นยอด ที่เราจะดำเนินการได้ในปี 2564 นับตั้งแต่ ม.ค. ทุก หน่วยสามารถเบิกจ่ายได้ เนื่องจากเงินมีเพียงพอแล้ว ปี ที่ผ่านมามีงบประมาณเกือบ 1,500,000 บาท เนื่องจากสองปีที่ผ่านมาใช้น้อย ปีที่ผ่านมาจึงได้ใช้ไป 1,007,000 กว่าบาท แต่ก็ยังไม่ถึงเกณฑ์เปอร์เซ็นที่จะ ได้โบนัสที่ 70% สรุปปีนี้จะมีเงิน 1,115,075.90 บาท และอาจจะมีของ รพ.สต. คืนเงินอีกเล็กน้อย มติที่ประชุม : รับทราบ ระเบียบวาระที่ 4 : เรื่องเพื่อพิจารณา เรื่องที่ 4.1: พิจารณาและรับรองผลการจัดทำแผนงานสุขภาพและโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน/ภาคประชาชน ประจำปี 2564 นายไซนัล นิรมาณกุล เป็นสาระสำคัญของวันนี้ จากการประชุมครั้งที่กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ ผ่านมาล่าสุด ทางกองทุนได้แนบแบบฟอร์มเสนอ โครงการกองทุนประจำปี 2564 ให้แต่ละหน่วยงาน แต่ละองค์กรเขียนเสนอโครงการเพื่อบรรจุในแผน กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ เพื่อประกอบการ ดำเนินงานในปีงบประมาณ 2564 ซึ่งจะมีหน่วยงาน และองค์กรต่างๆได้เสนอแผนงานและโครงการ ครอบคลุมทุกประเภท ตามเอกสารโดยมียอด งบประมาณที่ขอรวมกันเป็นเงินทั้งสิ้น 1,667,440 บาท ซึ่งเป็นเงินมากกว่าที่กองทุนฯมีประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ บาท ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับลดยอด งบประมาณเกือบทุกโครงการที่เสนอเข้ามา โดย คณะอนุกรรมการฝ่ายแผนงาน ติดตามและประเมินผล ได้จัดประชุมเพื่อพิจารณาแต่ละโครงการ โดยมีทั้งเพิ่ม ลด และตัดงบประมาณและโครงการบางโครงการ รวมทั้งกิจกรรมที่อาจไม่ตอบวัตถุประสงค์ของกองทุน โดยตรง เช่น การเหมาค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก ค่าติดตาม รวมทั้งค่าจัดซื้อวัสดุหรือครุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็น โครงการที่จะดำเนินการในปีนี้ ปี 2564 จะมีโครงการ ทั้งหมด 30 โครงการจากทุกหน่วย คือจะพิจารณา รับรองตามแผนงานสุขภาพที่พิมพ์ในเอกสารได้บรรจุใน แผนแล้วตามยอดนี้ วันก่อนได้มีการติดตามงานจากทีมพี่ เลี้ยง ซึ่งได้รับการชี้แจงจากพี่เลี้ยงว่าโครงการของโควิด งบอาจเยอะ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มี case โควิดต้องให้ ส่วนกลาง พิจารณาอีกครั้ง แต่สถานการณ์ตอนนี้อบต. ต้องรองรับ ตามรายละเอียดและหลักการเราได้อนุมัติไป ทั้งนี้ 30 โครงการประกอบไปด้วย โครงการที่ 1 เป็น ของอบต. โครงการบริหารจัดการซึ่งเป็นค่าจ้าง ค่าเบี้ย ประชุม เป็นเงิน 101,000 บาท เบิกจ่ายไปแล้ว สอง เดือน ซึ่งประชุมครั้งแรกไปแล้วปลายเดือนกันยายน ต่อมาโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็ก และเยาวชน ประจำปี 2564 ตอนแรกคาดว่าจะทำ กลางเดือน พ.ย. ที่ผ่านมาแต่ห้วงเวลานั้นสั้น และ กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก ป.6 และ ม.1 ไปศึกษาดูงาน ร.ร. ก็เลี้ยงอำลากัน ก็คงจะใช้เวลาเดือนเมษายนต่อ แต่ อุปสรรคคือเดือนถือศีลอด(ปอซอ) อีกโครงการหนึ่ง สนับสนุนภัยพิบัติโรคระบาด ซึ่งตั้งไว้ประมาณ 10% ใช้ งบประมาณ 257,000 บาท ที่นี้โครงการของรพ.สต. เสนอมา 5 โครงการ ได้แก่ โครงการเด็กนักเรียน มูโนะ เหาตาย สบายศีรษะ จะทำใน ร.ร. รัฐบาล เป็นเงิน 87,240 บาท โครงการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นโครงการ ของน้องรพ.สต. ให้น้องอธิบาย นางสาวซูไฮลา ลีเดร์ โครงการฟื้นฟูร่างกายสุขภาพด้วยศาสตร์กรรมการ การแพทย์แผนไทยจะเป็นการสอนทำลูกประคบ สมุนไพร สามารถต่อยอดทำเป็นรายได้ได้ กลุ่มเป้าหมาย เป็นคนทั่วไป น่าจะทำประมาณกลางเดือน พ.ค. ถึง มิ.ย. นายไซนัล นิรมาณกุล โครงการร้านชำมาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ สู่การบริโภคอย่างปลอดภัย ปีงบประมาณ 2564 โครงการตั้งงบไว้ทุกปีแต่ในภาคปฏิบัติยังไม่เคยทำอย่าง เต็มที่ โครงการที่ 4 โครงการหมู่บ้านวิถีใหม่ ชาวมูโนะสู้ ภัยโควิด 19 เป็นเรื่องโควิดล้วน โครงการที่ส่งมามี รายละเอียดเยอะ เสียดายที่ ผอ.สันต์ป่วย เป็นโครงการ ที่ทีมพี่เลี้ยงแนะนำเรื่องค่าใช้จ่าย แต่ตอนนี้สอดรับกับ สถานการณ์โควิด จึงต้องพิจารณาดูต่อภายหลัง โครงการที่ 5 โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด TO BE NUMBER ONE ของ รพ.สต.มูโนะ ทำ ใน ร.ร. และผู้นำชุมชน สำหรับโครงการของอนามัยจะมี ยอดรวมอยู่ที่ 258,360 บาท ต่อไปหน่วยที่ 3 ของ ศูนย์เด็ก ได้แก่ โครงการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนูรุลยาบาล จำนวน 21,680 บาท โครงการที่ 2 โครงการหนูน้อยฟันสวย ยิ้มใส ของศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กบ้านบูเกะ จำนวน 11,800 บาท โครงการที่ 3 โครงการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ศูนย์เด็ก เล็กบ้านปาดังยอ จำนวน 20,720 บาท โครงการที่ 4 โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก จำนวนแค่เพียง 8,340 บาท โครงการจากหน่วยงาน องค์กร ชมรมและภาคประชาชน ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะประจำปีงบประมาณ 2564

หน่วยงาน โครงการ ยอดที่ขอเบิก ยอดรวมที่ขอเบิกทั้งหมด

อบต
1. โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ ประจำปี 2564 จำนวน 101,000 บาท
2. โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชน ประจำปี 2564 จำนวน 56,000 บาท 3 . โครงการสนับสนุนการป้องกันภัยพิบัติและโรคระบาดฉุกเฉิน ปี 2564 จำนวน 100,000 บาท
รพ.สต. 1. โครงการเด็กนักเรียนตำบลมูโนะ เหาตาย สบายศีรษะ จำนวน 87,240 บาท
2. โครงการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยศาสตร์ การแพทย์แผนไทย จำนวน 21,220 บาท
3. โครงการร้านชำมาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้ สู่การบริโภคอย่างปลอดภัย ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 32,200 บาท
4. โครงการหมู่บ้านวิถีใหม่ ชาวมูโนะสู้ภัยโควิด 19 จำนวน 98,100 บาท
5. โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE รพ.สต.มูโนะ จำนวน 19,600 บาท
ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก
1. โครงการ ป้องกันโรค มือ เท้า ปาก          - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนูรุลยาบาล จำนวน 21,680 บาท
2.โครงการ หนูน้อยฟันสวย ยิ้มใส              - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบูเกะ จำนวน 11,800 บาท 3.โครงการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ประจำปี 2564  - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปาดังยอ จำนวน 20,720 บาท 4.โครงการส่งเสริมโภชนาการ เด็กนักเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอิสลามียะห์ จำนวน 8,340 บาท
ภาคประชาชน/อสม. 1.โครงการ “ ญาลันนันบารู พาเยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจต้านภัยยาเสพติด” จำนวน 36,600 บาท
2.โครงการการดูแลมารดาและทารก หมู่ที่ 1 บ้านมูโนะ ปี 2564 จำนวน 35,100 บาท
3.โครงการทารกสมบูรณ์แข็งแรงสมองดีด้วยโฟเลท หมู่ที่ 1 บ้านมูโนะ ปี 2564 จำนวน 16,800 บาท
4. โครงการโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง NCD หมู่ที่ 1 บ้านมูโนะ ปี 2564 จำนวน 30,890 บาท
5. โครงการโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง NCD หมู่ที่ 2 บ้านลูโบ๊ะลือซง ปี 2564 จำนวน 36,390 บาท
6. โครงการโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง NCD หมู่ที่ 3 บ้านปาดังยอ ปี 2564 จำนวน 34,390 บาท
7. โครงการโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง NCD หมู่ที่ 4 บ้านปูโป๊ะ ปี 2564 จำนวน 32,390 บาท
8. โครงการโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง NCD หมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ ปี 2564 จำนวน 29,400 บาท
9. โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเชิงรุกในเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือนบ้านมูโนะ จำนวน 36,570 บาท
10. โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเชิงรุกในเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือนบ้านลูโบะลือซง จำนวน 36,570 บาท
11. โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเชิงรุกในเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือนบ้าน ปาดังยอ จำนวน 36,570 บาท
12. โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเชิงรุกในเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือนบ้านปูโปะ จำนวน 36,570 บาท
13. โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเชิงรุกในเด็กแรกเกิดถึง 72เดือน บ้านบูเกะ จำนวน 36,570 บาท
14. โครงการห่วงใย สตรีด้วยกัน ห่างไกลมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมบ้านมูโนะ จำนวน 17,220 บาท
15. โครงการห่วงใย สตรีด้วยกัน ห่างไกลมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมบ้านลูโบะลือซง จำนวน 17,220 บาท 16. โครงการห่วงใย สตรีด้วยกัน ห่างไกลมะเร็งปากมดลูกและเต้านมบ้านปาดังยอ จำนวน 17,220 บาท
17. โครงการห่วงใย สตรีด้วยกัน ห่างไกลมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมบ้านปูโปะ จำนวน 17,220 บาท
18. โครงการห่วงใย สตรีด้วยกัน ห่างไกลมะเร็งปากมดลูกและเต้านมบ้านบูเกะ จำนวน 17,220 บาท

สรุป ยอดโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณเป็นเงินทั้งสิ้น 1,098,810 บาท

นายไซนัล นิรมาณกุล หน่วยที่ 4 โครงการของภาคประชาชน/อสม.ทีมกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ พี่เลี้ยง เป็น รพ.สต. จะเป็นหน่วยที่เบิกได้เยอะที่สุด โครงการที่ 1 โครงการญาลันนันบารู ม.2 เป็นโครงการ ของชมรมฯ จากยอดเดิม 70,000 บาท ปรับลดยอดลง มาเหลือ 36,600 บาท เดิมจะพาไปเข้าค่ายนอก สถานที่ ทำให้จำเป็นต้องตัดค่าที่พักออกให้มาดำเนินการ ที่ศูนย์กีฬา อบต.แทน โครงการที่ 2 โครงการการดูแล มารดาและทารก หมู่ที่ 1 บ้านมูโนะ จำนวน 35,100 บาท โครงการที่ 3 โครงการทารกสมบูรณ์แข็งแรงสมอง ดีด้วยโฟเลท หมู่ที่ 1 บ้านมูโนะ จำนวน 16,800 บาท โครงการที่ 4 โครงการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD หมู่ที่ 1 จำนวน 30,890 บาท โครงการ NCD ทุกโครงการทำ เหมือนกันแต่งบประมาณต่างกลุ่มเป้าหมาย โครงการที่ 5 โครงการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD หมู่ที่ 2 จำนวน 36,390 บาท โครงการที่ 6 โครงการโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง NCD หมู่ที่ 3 จำนวน 34,390 บาท โครงการที่ 7 โครงการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD หมู่ที่ 4 จำนวน 32,390 บาท โครงการที่ 8 โครงการโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง NCD หมู่ที่ 5 จำนวน 29,400 บาท โครงการที่ 9 โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเชิงรุกในเด็ก แรกเกิดถึง 72 เดือน ของหมู่ที่ 1 จำนวน 36,570 บาท หมู่ที่ 2 จำนวน 36,570 บาท ทุกหมู่จำนวน เท่ากันหมด 36,570 บาท ต่อไปโครงการที่ 14-18 แบบเดียวกันหมดเลย โครงการห่วงใยสตรีด้วยกัน ห่างไกลมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จำนวนหมู่ละ 17,220 บาท สำหรับภาคประชาชน/อสม. จะมียอด รวมทั้งหมด 520,910 บาท สังเกตว่าโครงการภาค ประชาชนจะขาดโครงการผู้สูงอายุ เนื่องจากกะไอเซาะ ของดเว้นไปก่อนเนื่องจากจะปรับรูปแบบและปีที่แล้ว เพิ่งทำเสร็จไปเดือน ก.ย. ปีหน้าจะได้รูปแบบใหม่ๆ ทั้งนี้ ยอดโครงการทั้งหมดที่ขออนุมัติอยู่ที่ 30 โครงการ และ ยอดที่ใช้ 1,098,810 บาท ถ้าใช้หมดเราจะเหลือเงินปี นี้ 16,265.90 บาท แต่คิดว่าคงไม่หมด เพราะว่าบาง โครงการอาจส่งคืน บางโครงการอาจไม่ได้ทำ เช่น โครงการของ อบต. ที่ผ่านมายังคงเหลืออยู่เนื่องจาก โควิด โครงการบริหารจัดการค่าจ้างของน้องพนักงาน จ้าง อาจปรับตำแหน่งจะใช้อีกงบหนึ่งก็จะคงเหลืออยู่ แต่ถ้าใช้หมดก็ดี แต่ให้อยู่ในกฏระเบียบกติกา วัตถุประสงค์ของกองทุนที่วางไว้ ที่เน้นในปีนี้คือ  ยาเสพติด และ โควิด พวกครุภัณฑ์เบิกใช้ได้ในสิ่งที่ จำเป็น ท่านใดเพิ่มเติมในส่วนของแผนที่จะดำเนินการ ในปีหน้า นางสาวอมรพรรณ แถมเงิน ขอถามเรื่องแผนโครงการมะเร็งว่าจะทำในช่วงอนุกรรมการ เดือนไหน เนื่องจากบางส่วนจะเกี่ยวข้องกับอบต.ในเรื่อง การให้อบรมความรู้ นายไซนัล นิรมาณกุล โครงการของภาคประชาชน อสม. กะประมาณกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ ช่วงเดือนไหน นางสาวซูไฮลา ลีเดร์ น่าจะประมาณเดือน มิ.ย. ก.ค. แต่จะถามกรรมการ ผู้รับผิดชอบอีกครั้งหนึ่ง นายไซนัล นิรมาณกุล โครงการมะเร็งภาคความรู้จะใช้งบอบต. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ โครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขร่วมสนับสนุน ส่วน ภาคปฏิบัติใช้งบนี้ สำหรับโครงการและงบประมาณพวก เรามีอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าไม่มีใครซักถามก็จะขอความ เห็นชอบสำหรับแผนงานและโครงการ มติที่ประชุม รับทราบ อนุมัติโครงการตามที่เสนอ เรื่องที่ 4.2 : พิจารณาและรับรองแผนการรับ-จ่ายเงิน กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ประจำปี 2564 นายไซนัล นิรมาณกุล จากเอกสารที่แนบนอกจากจะมีโครงการจากกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ หน่วยงาน องค์กร และภาคประชาชนแล้ว ในแบบฟอร์ม ยังมีจำนวนงบประมาณที่จะใช้ด้วย ซึ่งรายละเอียด ค่าใช้จ่าย จะมีอยู่ในตัวโครงการที่แต่ละหน่วยเสนอมา ส่วนในการประชุมครั้งนี้ให้กรรมการพิจารณาและอนุมัติ ทั้งชื่อโครงการและงบประมาณที่จะดำเนินงาน ซึ่งจะ บรรจุในแผนงานสุขภาพต่อไป มติที่ประชุม รับทราบ อนุมัติตามที่เสนอ ระเบียบวาระที่ 5 : เรื่องอื่นๆ นางสาวซูไฮลา ลีเดร์ ขอประชาสัมพันธ์ใน ตำบลมูโนะ ถ้าใครไป งานบิ๊กไบค์ที่กระบี่ให้ประชาสัมพันธ์ด้วย นายไซนัล นิรมาณกุล สืบเนื่องจากที่น้องรพ.สต.ประชาสัมพันธ์ ตอนนี้กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ มี case ที่หาดใหญ่ เป็นอาจารย์ที่ มอ.คณะวิยาการ จัดการ ผลตรวจเป็น Positive และอีก case ที่ไป ร่วมงานบิ๊กไบค์ ที่สำคัญคือมาเยี่ยมแม่ที่โก-ลก และไป หลายที่ ไปฮาลาบาลาด้วย สรุปตอนนี้ที่สงขลาติดเชื้อ สองคน และเป็นที่สงสัยว่าใครนำเชื้อมาติดที่กระบี่ และ ที่นายกชี้แจงแถลงว่าปลามีส่วนในการติดเชื้อหรือไม่ ข้อเท็จจริงของทางสาธารณสุขชี้แจงว่ายังไม่มีข้อบ่งชี้ เพราะถ้าตอบอย่างนั้นก็จะกระทบกับเศรษฐกิจ ที่ต้อง เฝ้าระวังตอนนี้คือ case 32 รายชาวลาวที่โดนจับที่ ตากใบขึ้นฝั่งที่ปาดังยอ นายหน้ามาส่งที่ท่า เก็บหัวละ 750 เหรียญต่อคน จากรัฐยะโฮร์ ทราบว่ามีรถสองคัน ไม่ใช่คนในพื้นที่เวียนรถอยู่แต่จอดไม่ได้เพราะมีชุดผู้นำ และ ตชด.ร่วมลาดตระเวร ทำให้ชาวลาวต้องเดินเท้าไป สองกม. เมื่อวานทาง ศบค. แถลงว่าเราเป็นประเทศ มนุษยธรรม ให้คนเข้ามาได้แต่ต้องผ่านการคัดกรอง ไม่ อยากให้เป็นเหมือนสมุทรปราการที่ทิ้งคนงานไว้ข้างถนน นางสาวสุดสาย แดงดี ในเบื้องต้นให้พวกเราดูแลตัวเอง ดูแลสุขภาพกรรมการและเลขานุการกองทุนฯ ด้วย นายไซนัล นิรมาณกุล เรื่องการการจัดงานปีใหม่และวันเด็ก แม้แต่ทาง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ ศบค. ไม่ฟันธงว่าปีใหม่จัดได้ไหมวันเด็กจัดได้ไหม แต่ หมอทวีศิลป์บอกว่าถ้ารู้สึกไม่สบายใจ ก็อย่าจัด แม้ว่าจะ เป็นโซนสีเขียว ถ้าจะจัดต้องรู้ที่มาของคนที่มาร่วมงาน ด้วย ในวันเด็กจะรู้ได้อย่างไร ต้องมี app ไทยชนะและ ตอนนี้มี app หมอชนะเพิ่มมาด้วย พื้นที่สีแดงต้อง ควบคุมสูงสุดมีที่เดียวได้แก่ จ.สมุทรสาคร เพราะเป็น แหล่งระบาดและมีหลายจุด และพื้นที่ควบคุมสูงเป็น พื้นที่ที่มี case มากกว่า ๕0 ราย พื้นที่เผ้าระวังอย่างสูง คือมี case ไม่เกิน 10 ราย และพื้นที่ที่เผ้าระวัง โซนสี เขียวยังไม่มี case แต่ให้ระวัง สำหรับฝ่ายเลขาฯก็มี เพียงเท่านี้ กรรมการท่านอื่นมีอะไรเสริมอีกหรือไม่ นางสาวสุดสาย แดงดี เราใช้เวลามาพอสมควรแล้ว สอบถามทางกรรมการและเลขานุการกองทุนฯ กรรมการท่านอื่นมีอะไรเสนอแนะหรือข้อแนะนำไหม ถ้าไม่มีก็อยากฝากทางหน่วยงานที่ของบมาอยากให้ท่าน ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนและตามโครงการที่ท่านได้ เสนอ เนื่องจากโครงการนี้ของบจาก สปสช.ถือว่าเป็น กองทุนองค์กรที่ค่อนข้างอิสระ การบริหารมีองค์กร คณะกรรมการร่วมกันบริหารเพื่อให้ประโยชน์กับพี่น้อง ชาวมูโนะ อยากให้คณะกรรมการเข้าร่วมช่วยดูแล โครงการ ติดตามผล สุดท้ายนี้มีอะไรเพิ่มอีกไหม ถ้าไม่มี ขออนุญาตทำการปิดการประชุม ขอขอบคุณทุกท่านที่ เข้าร่วมการประชุม มติที่ประชุม รับทราบ ปิดการประชุม 11.00 น.


นายไซนัล นิรมาณกุล      นายรอปา อีซอ   ผู้บันทึกการประชุม      ผู้ตรวจทานการประชุม

 

ค่าเบี้ยประชุมของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ 3/2564 1 ต.ค. 2563 28 ก.ย. 2564

 

1.  จัดทำโครงการ 2.  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.  ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน 4.  ติดตามผลการดำเนินงาน

 

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ครั้งที่ 3/2564 วันอังคาร ที่ 28 กันยายน 2564
ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ลำดับ ชื่อ – สกุล ตำแหน่ง ลายมือชื่อ หมายเหตุ 1. นางสาวสารีนา ยารี    กรรมการ สารีนา ยารี
2. นางสาวสุนันทา หะยีดอเลาะ กรรมการ สุนันทา หะยีดอเลาะ
3. นางสาวซาลือมา มะยูนุ      กรรมการ ซาลือมา มะยูนุ
4. นายมูซอ อาแว          กรรมการ มูซอ อาแว
5. นายสมศักดิ์ ชูโชติ    กรรมการ สมศักดิ์ ชูโชติ
6. นางฮาปือเสาะ บินมือเยาะ กรรมการ ฮาปือเสาะ บินมือเยาะ
7. นายแปนดี อารง        กรรมการ แปนดี อารง
8. นายอนุชิต ภาควันต์      กรรมการ อนุชิต ภาควันต์
9. นายอุสมาน อาแว      กรรมการ อุสมาน อาแว
10. นายมาหามะนอ มะดาแซ กรรมการ มาหามะนอ มะดาแซ
11. นายสันต์ พรมสร        กรรมการ สันต์ พรมสร
12. นางอะไอเซาะ สิดิ        กรรมการ อะไอเซาะ สิดิ
13. นายรอปา อีซอ        ประธานกรรมการ รอปา อีซอ
14. นางสาวสุดสาย แดงดี    เลขานุการ สุดสาย แดงดี
15. นายไซนัล  นิรมาณกุล    กรรมการและผู้ช่วยฯ ไซนัล นิรมาณกุล
ผู้เข้าร่วมประชุม
1. นางสาวอมรพรรณ แถมเงิน อนุกรรมการ อมรพรรณ แถมเงิน
2. นางสาวนูรอัยนี  สียา    คณะทำงาน นูรอัยนี  สียา
3. นางสาวอาดีลา เจ๊ะดือราแม  คณะทำงาน อาดีลา เจ๊ะดือราแม
ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม 1. นางฮามีเนาะ นุ้ยผอม ติดภารกิจ 2. สะมะแอ บือราเฮ็ม ติดภารกิจ
เปิดประชุมเวลา 09.30 น. เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นายรอปา อีซอ ตำแหน่งประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ได้กล่าวเปิดการประชุม ตามระเบียบวาระดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 : ประธานแจ้งที่ประชุม นายรอปา อีซอ ยินดีต้อนรับคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ทุก ประธานกรรมการกองทุนฯ ท่าน วันนี้เป็นการประชุมในวาระสุดท้ายของทีมงาน บริหารอบต. มีนายกฯและสมาชิก หมดวาระในวันที่ 30 ก.ย. 2564 นี้ สำหรับการประชุมวันนี้ ระเบียบวาระที่ 1
ประธานแจ้งที่ประชุม ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงาน การประชุม ครั้งที่ 2/2564 วันศุกร์ ที่ 25 ธันวาคม 2563 ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องแจ้งเพื่อทราบระเบียบวาระที่ 4 เรื่อง เพื่อพิจารณา เรื่องที่ 1 พิจารณาและรับรองผลการ จัดทำแผนงานสุขภาพและโครงการที่ขอสนับสนุน งบประมาณจากหน่วยงาน/ภาคประชาชนประจำปี 2565 เรื่องที่ 2 พิจารณาและรับรองแผนการรับ-จ่าย เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ประจำปี 2565 เรื่อง ที่ 3 การแต่งตั้งกรรมการกองทุนฯ ตัวแทนชุมชน แทน คนเดิมที่หมดวาระฯ หลังจากนี้ขอให้ผู้ช่วยเลขานุการ กองทุนฯดำเนินการตามวาระต่อไปแต่ก่อนที่ ผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ จะดำเนินการต่อผมขอฝาก เรื่องการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 28 พ.ย.2564 นี้ นายไซนัล  นิรมาณกุล ยินดีต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมกองทุนฯ ครั้งนี้ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ เป็นครั้งที่ 3 หลังจากที่มีการประชุมกองทุนฯครั้งที่    2 /2564 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563
ระเบียบวาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2564 วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563  มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม ระเบียบวาระที่ 3 : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ เรื่องที่ 1 : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ (ตามเอกสารประกอบ)              ยอดยกมาในปีนี้ 463,550.90 บาท โดยมียอดคงเหลือ 626,574.43 บาท นายไซนัล  นิรมาณกุล สำหรับปีที่ผ่านมาประเภทการใช้จ่ายมากที่สุดใน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ ประเภทที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  ห้าแสนกว่าบาทด้วย สถานการณ์โควิด บางโครงการไม่ สามารถดำเนินการได้ ทางเขตดูแลกองทุนฯ ก็แจ้งว่า โครงการไหนยังไม่ ดำเนินการได้ให้ส่งคืนก่อน ส่วน โครงการที่ดำเนินการแล้วสามารถขยายการดำเนินงาน ได้จนถึงปลายปี เดือนธันวาคม 2564 โครงการอื่น สามารถยกยอดเลื่อนไปทำในปี 2565 ได้ มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 4 : เรื่องเพื่อพิจารณา เรื่องที่ 1 : พิจารณาและรับรองผลการจัดทำแผนงานสุขภาพและโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน/ภาคประชาชน ประจำปี 2565 นายไซนัล  นิรมาณกุล เนื่องจากโครงการที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ปรับ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ เป็นปี 2565 ได้เลย ถ้ามีโครงการที่จะเพิ่มเกี่ยวกับ  โควิดก็สามารถเพิ่มในแผนงานด้วย เช่น ศูนย์กัก ของ องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ แต่หลังจากวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ก็ใช้งบของปี 2565 ได้เลย แต่ เนื่องจากงบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ ยังมีอยู่ก็จะใช้ส่วนนั้นขยายไปก่อน ตอนนี้สถานการณ์ โควิดคนที่มาจากกรุงเทพฯ มีไม่มาก แต่จะเกิดขึ้นจาก ครอบครัวมากกว่า ถ้าจะกักก็ต้องแยกคนเสี่ยงออกมา อยู่ที่ศูนย์กักกันตัวเพื่อไม่ให้แพร่กระจายและวันนี้ยอดผู้ ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศลดลงน้อยกว่าหมื่นคน แต่สี่ จังหวัดภาคใต้ยังอยู่ 1 ใน 10 ของประเทศ เรื่องที่ 2 : พิจารณาและรับรองแผนการรับ-จ่ายเงิน กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ประจำปี 2565 นายไซนัล  นิรมาณกุล ในเรื่องแผนถ้าจะเพิ่มก็เพิ่มได้ ตามแบบฟอร์มที่กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ แจกมาด้วยแล้ว สำหรับชมรมผู้สูงอายุจะเพิ่มไหม นางอะไอเซาะ สิดิ เกรงว่าจะไม่สามารถทำได้เนื่องจากสถานการณ์กรรมการ โควิด แต่มีแผนเดิมอยู่แล้วสามารถนำมาเสนอได้ เรื่องที่ 3 : การแต่งตั้งกรรมการกองทุนฯ ตัวแทนชุมชน แทนคนเดิมที่หมดวาระฯ นายไซนัล  นิรมาณกุล วันนี้ขอแนะนำลขานุการกองทุนฯ ซึ่งกรรมการกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ ชุดเดิมจะหมดวาระในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 แต่ เนื่องจากผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ได้หมดวาระไปทำให้ต้อง แต่งตั้งกรรมการคนใหม่ซึ่งก็คือนายมาหามะนอ มะดาแซ มติที่ประชุม : รับรองกรรมการคนใหม่ ระเบียบวาระที่ 5 : เรื่องอื่น ๆ นายไซนัล  นิรมาณกุล    สำหรับวาระที่ 5 นี้จะให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ ส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะได้ชี้แจงเกี่ยวกับ สถานการณ์โควิดในช่วงนี้ นายสันต์ พรมสร ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  กรรมการ มูโนะ ปีนี้ได้รับการสนับสนุนมา 5 โครงการแต่ เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด บางโครงการต้องเลื่อนและ บางโครงการต้องยุติคืนเงิน โดยสี่โครงการที่ต้องยกเลิก ได้แก่ รณรงค์กำจัดเหาในโรงเรียน โครงการแพทย์แผน ไทย โครงการ To be No.1 โครงการที่ขอขยาย ได้แก่ โครงการโควิดสำหรับสถานการณ์โควิดในประเทศ ตอนนี้มี ยอดผู้ติดเชื้อ จำนวน 9,489 คน เสียชีวิต 129 คน ป่วยสะสมตั้งแต่ เดือนเมษายน 64 หนึ่งล้านห้าแสนกว่า คน ในพื้นที่ตำบลมูโนะ มียอดสะสม 145 คน โดย ม.1 จำนวน 27 คน ม.2 จำนวน 13 คน ม.3 จำนวน 33 คน ม.4 จำนวน 38 คน ม.5 จำนวน 33 คน ในอำเภอ สุไหงโกลกมียอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด 17 ราย ส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุ การควบคุมโรคของโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลมูโนะ ถ้ารู้ว่ามี case ที่ผลตรวจเป็น Positive ก็จะส่งทีมสอบสวนโรคลงไปตามบ้านด้วย จำนวนผู้ป่วยมีมาก จำนวนศูนย์กักสามารถรับได้ 20 คน ดังนั้น จึงต้องมีมาตรการรักษาระยะห่าง ใส่หน้ากาก อนามัย ล้างมือ สำหรับการฉีดวัคซีนเชิงรุก ได้รับความ ร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ปลัด และ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ได้ให้การสนับสนุน อาหารมื้อกลางวันให้กับเจ้าหน้าที่ โดยขณะนี้จำนวนคน ที่ได้ฉีดคิดเป็น 60 % จากเป้าหมายของแผนที่ต้องฉีดให้ ได้ 70 % ซึ่งจำนวนผู้ที่ต้องฉีดทั้งหมด 6,345 คน ฉีด แล้ว 3,860 คน คิดเป็น 60.84 % โดยที่ ม.1 คิดเป็น  59.30 % ม.2 คิดเป็น 55.14% ม.3 คิดเป็น  57.94 % ม.4 คิดเป็น 72.46 % ม.5 คิดเป็น  58.71 % นางอะไอเซาะ สิดิ กรณีที่คนฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ไม่ได้มาฉีดเข็มที่ 2 กรรมการ ตามนัดหมาย จะมีวิธีอย่างไรบ้าง นายสันต์ พรมสร โดยปกติหลังจากเข็มที่ 1 Sinovac ใช้เวลา 3 กรรมการ สัปดาห์ ในการฉีดเข็มที่ 2 แต่บวก ลบได้ 1-2 สัปดาห์นายแปนดี อารง    สอบถามเพิ่มเติมคำถามที่ 1 โรงพยาบาลสุไหง กรรมการ โก-ลก จะมารับผู้ป่วยแบบไหน และโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลมูโนะรับผู้ป่วยแบบไหน คำถามที่ 2 กรณี เป็นหวัด ไอ ไปตรงที่โรงพยาบาลเลยได้ไหม คำถามที่ 3 รถกู้ชีพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ เรียกไปส่งสวอป ได้ไหม นายสันต์ พรมสร ในผู้ป่วยเคสโควิด ทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก กรรมการ จะแจ้งมายังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ จากนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะแจ้งให้ ผู้ป่วยทราบ และมีรถโรงพยาบาลมารับภายในวันนั้น หรือวันรุ่งขึ้น รถ refer ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลจะสงวนไว้ใช้ในการขนถ่ายอุปกรณ์ในการรักษา โรคเท่านั้น จึงสงวนไว้ใช้ในการนี้ เท่านั้น ไม่สามารถรับ ผู้ป่วยโควิดได้ รถกู้ชีพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ นำส่ง คนป่วยได้ สำหรับกรณีคนที่มีอาการแล้วอยาก สวอป สามารถไปคลินิกทางเดินหายใจ (ARI) ได้เลยเปิด ทั้งวัน นายรอปา อีซอ สอบถามใครมีอะไรเพิ่มเติมไหม ประธานกองทุนฯ นางสาวสุดสาย แดงดี ฝากกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ทุกคนให้กรรมการและเลขานุการกองทุนฯ เร่งดำเนินการตามระเบียบกองทุนฯ ในปี 2565 โครงการน่าจะดำเนินการได้ตามแผน การหมดวาระของ คณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ เมื่อหมด วาระและจะแต่งตั้งได้อีกครั้ง ในปี พ.ศ.2565 ใน ระหว่างประธานหมดวาระ รองประธานจะดำเนินการ แทน การเลือกตั้งมีแผน วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง วันที่ 11-15 ตุลาคม 2564 รับสมัครนายกฯ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 วันเลือกตั้ง วันที่ 28 ธันวาคม 2564 ประกาศผลการ เลือกตั้ง 27 มกราคม 2564 อาจยืดถึงวันนี้หากมีการ ร้องเรียน ระเบียบการเลือกตั้งปี 2562 กำหนดว่า ตำบลมูโนะ มี 5 เขต 5 หมู่บ้าน มีจำนวนสมาชิกได้  6 คน นายรอปา อีซอ    ขอชี้แจงว่าองค์การบริหารส่วนตำบลได้สนับสนุน ประธานกองทุนฯ งบประมาณกองทุนฯ ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเกือบ 100 % ซึ่งบางแห่งไม่ค่อยสนับสนุนและ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือประชุมใน ครั้งนี้ มติที่ประชุม รับทราบ ปิดการประชุม 11.00 น.


    นายไซนัล นิรมาณกุล                      นายรอปา อีซอ     ผู้บันทึกการประชุม                      ผู้ตรวจทานการประชุม

 

เบิกเงินค่าจ้างเหมาบริการเดือนพฤศจิกายน 2563 1 พ.ย. 2563 1 ธ.ค. 2563

 

๖.๑  จัดทำโครงการ ๖.๒  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๖.๓  ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน ๖.๔  ติดตามผลการดำเนินงาน

 

  1. การบริหารการดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการสร้างความตระหนักให้ชุมชนและเห็นความสำคัญของสังคมมีการดำเนินงานบูรณาการ
  4. เกิดความสามัคคีกันและทำให้การบริหารงานกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

เบิกเงินค่าจ้างเหมาบริการเดือนธันวาคม 2563 1 ธ.ค. 2563 4 ม.ค. 2564

 

1.  จัดทำโครงการ 2.  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.  ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน 4.  ติดตามผลการดำเนินงาน

 

  1. การบริหารการดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการสร้างความตระหนักให้ชุมชนและเห็นความสำคัญของสังคมมีการดำเนินงานบูรณาการ
  4. เกิดความสามัคคีกันและทำให้การบริหารงานกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

เบิกเงินค่าจ้างเหมาบริการเดือนมกราคม 2564 1 ม.ค. 2564 25 ก.พ. 2564

 

1.  จัดทำโครงการ 2.  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.  ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน 4.  ติดตามผลการดำเนินงาน

 

  1. การบริหารการดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการสร้างความตระหนักให้ชุมชนและเห็นความสำคัญของสังคมมีการดำเนินงานบูรณาการ
  4. เกิดความสามัคคีกันและทำให้การบริหารงานกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

เบิกเงินค่าจ้างเหมาบริการเดือนกุมภาพันธ์ 2564 1 ก.พ. 2564 8 มี.ค. 2564

 

1.  จัดทำโครงการ 2.  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.  ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน 4.  ติดตามผลการดำเนินงาน

 

  1. การบริหารการดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการสร้างความตระหนักให้ชุมชนและเห็นความสำคัญของสังคมมีการดำเนินงานบูรณาการ
  4. เกิดความสามัคคีกันและทำให้การบริหารงานกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

เบิกเงินค่าจ้างเหมาบริการเดือนมีนาคม 2564 1 มี.ค. 2564 16 เม.ย. 2564

 

  1. จัดทำโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน
  4. ติดตามผลการดำเนินงาน

 

  1. การบริหารการดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการสร้างความตระหนักให้ชุมชนและเห็นความสำคัญของสังคมมีการดำเนินงานบูรณาการ
  4. เกิดความสามัคคีกันและทำให้การบริหารงานกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

เบิกเงินค่าจ้างเหมาบริการเดือนเมษายน 2564 1 เม.ย. 2564 5 พ.ค. 2564

 

  1. จัดทำโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน
  4. ติดตามผลการดำเนินงาน

 

  1. การบริหารการดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการสร้างความตระหนักให้ชุมชนและเห็นความสำคัญของสังคมมีการดำเนินงานบูรณาการ
  4. เกิดความสามัคคีกันและทำให้การบริหารงานกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

เบิกเงินค่าจ้างเหมาบริการเดือนพฤษภาคม 2564 1 พ.ค. 2564 1 มิ.ย. 2564

 

  1. จัดทำโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน
  4. ติดตามผลการดำเนินงาน

 

  1. การบริหารการดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการสร้างความตระหนักให้ชุมชนและเห็นความสำคัญของสังคมมีการดำเนินงานบูรณาการ
  4. เกิดความสามัคคีกันและทำให้การบริหารงานกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

เบิกเงินค่าจ้างเหมาบริการเดือนมิถุนายน 2564 1 มิ.ย. 2564 3 ก.ย. 2564

 

1.  จัดทำโครงการ 2.  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.  ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน 4.  ติดตามผลการดำเนินงาน

 

  1. การบริหารการดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการสร้างความตระหนักให้ชุมชนและเห็นความสำคัญของสังคมมีการดำเนินงานบูรณาการ
  4. เกิดความสามัคคีกันและทำให้การบริหารงานกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

เบิกเงินค่าจ้างเหมาบริการเดือนกรกฎาคม 2564 1 ก.ค. 2564 3 ก.ย. 2564

 

1.  จัดทำโครงการ 2.  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.  ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน 4.  ติดตามผลการดำเนินงาน

 

  1. การบริหารการดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการสร้างความตระหนักให้ชุมชนและเห็นความสำคัญของสังคมมีการดำเนินงานบูรณาการ
  4. เกิดความสามัคคีกันและทำให้การบริหารงานกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

เบิกเงินค่าจ้างเหมาบริการเดือนสิงหาคม 2564 1 ส.ค. 2564 1 ก.ย. 2564

 

1.  จัดทำโครงการ 2.  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.  ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน 4.  ติดตามผลการดำเนินงาน

 

  1. การบริหารการดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการสร้างความตระหนักให้ชุมชนและเห็นความสำคัญของสังคมมีการดำเนินงานบูรณาการ
  4. เกิดความสามัคคีกันและทำให้การบริหารงานกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

เบิกเงินค่าจ้างเหมาบริการเดือนกันยายน 2564 1 ก.ย. 2564 30 ก.ย. 2564

 

1.  จัดทำโครงการ 2.  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.  ดำเนินการจัดประชุม ซื้อวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน 4.  ติดตามผลการดำเนินงาน

 

  1. การบริหารการดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมูโนะ มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการสร้างความตระหนักให้ชุมชนและเห็นความสำคัญของสังคมมีการดำเนินงานบูรณาการ
  4. เกิดความสามัคคีกันและทำให้การบริหารงานกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย