กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L2491-2-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศสมช.หมู่ที่ 10
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอนิง ยูนุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.404,101.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงฤดูฝนมักมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ (Dengue) เชื้อไวรัสชิคุนกุนย่า (Chikungunya) เป็นสาเหตุของโรคซึ่งปัจจุบันจากการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการพบว่าเชื้อไวรัสเด็งกี่มี 4 ชนิดเชื้อดังกล่าวสามารถทำให้เลือดออกรุนแรงได้ ดังนั้นเมื่อเชื้อตัวใดตัวหนึ่งเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อตัวนั้นอย่างถาวรและยังต่อต้านข้ามไปเชื้ออื่นๆอีก 3 ชนิดแต่อยู่ไม่ถาวร โดยทั่วไปอยู่ได้นาน 6-12 เดือน หลังระยะนี้แล้ว คนที่เคยติดเชื้อเด็งกี่ชนิดหนึ่ง อาจติดเชื้อเด็งกี่ชนิดอื่นต่างจากครั้งแรกก็ได้ถือเป็นการติดเชื้อครั้งที่สอง การติดเชื้อซ้ำๆ เชื่อกันว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากเพราะมีผู้ป่วยป่วยและตายจำนวนมากในแต่ละปีเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ การระบาดตลอดปีและพบมากในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบวางไข่ในแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ด้วยความตระหนักถึงสาเหตุของปัญหา หากไม่มีการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ถูกต้องทันที จนมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของประชาชนเพิ่มจำนวนขึ้นอีกก็เป็นได้ทางศูนย์สุขภาพสาธารณสุขมูลฐาน นำโดยอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 10 โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตำบลกะลุวอเหนือ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นตัวพาหะนำโรค

อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นตัวพาหะนำโรค ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายชนิดต่างๆ

รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายชนิดต่างๆ ร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ร้อยละ90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนการวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1. จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก
      3.1.1 จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่อสม. และประชาชนทั่วไปในพื้นที่
3.2. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในเขตพื้นที่ชุมชนหมู่บ้าน
      3.2.1 ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนทุกครัวเรือน       3.2.2 เดินรณรงค์สำรวจบ้าน และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกครัวเรือน
4. ประเมินผลการดำเนินงาน 5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 2. ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน 3. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2563 14:26 น.