กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายจัดโครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพปีงบประมาณ 2564 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันและลดอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรและสร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคในชุมชนทั้ง 6 หมู่บ้าน หมู่ละ 50 คน รวมทั้งหมด 300 คน มีผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี จำนวน 300 คน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร จำนวน 271 คน รับจ้างพ่น 29 คน ปัจจุบันที่ยังเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี จำนวน 198 คน ใช้วิธีธรรมชาติในการทำเกษตร จำนวน 171 คน ส่วนใหญ่ใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์มากที่สุด จำนวน 152 คน
  • ผลการตรวจหาสารเคมีในเลือด พบว่า ผลเลือดเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 51.33 รองลงมา คือ กลุ่มไม่ปลอดภัย จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 กลุ่มปลอดภัย จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 15.33 สำหรับผู้ที่มีผลเลือดค่าสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัยจำนวน 50 คน ได้เข้ารับการอบรมและให้ดื่มชาสมุนไพรรางจืดและตรวจประเมินซ้ำ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน ที่ดื่มสมุนไพรรางจืด จำนวน 7 วันติดต่อกัน และตรวจเลือดซ้ำ พบว่าส่วนใหญ่ผลเลือดเปลี่ยนมาเป็รนกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมา กลุ่มปลอดภัย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 28 กลุ่มปกติ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 14

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง จากการใช้สารเคมีในเกษตรกร
ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง จากการใช้สารเคมีในเกษตรกร ร้อยละ 80
68.00 80.00 80.00

 

2 กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดที่มีภาวะเสี่ยง หรือเสี่ยงสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดื่มสมุนไพรรางจืด
ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดที่มีภาวะเสี่ยง หรือเสี่ยงสูงทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดื่มสมุนไพรรางจืด
115.00 300.00 300.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 300 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
กลุ่มเกษตรกรที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 300 300

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง จากการใช้สารเคมีในเกษตรกร (2) กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดที่มีภาวะเสี่ยง หรือเสี่ยงสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดื่มสมุนไพรรางจืด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ตรวจคัดกรองและสำรวจพฤติกรรมการใช้สารเคมีในเลือดเกษตรกร (2) อบรมความรู้ทักษะการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และดื่มสมุนไพรรางจืด (3) ตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรซ้ำ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh