กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างสุขผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 60-L1523-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2560 - 31 ตุลาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,179.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจินดาสินฝาด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุณีจำนงค์
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 3 - หมู่ที่ 6 ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 354 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากปีงบประมาณ 2559 ผู้สูงอายุได้มีการดูแลและพัฒนาศักยภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเป็นอย่างดี ตลอดถึงด้านสาธารณสุข ร่วมกิจกรรมมีการติดตามภาคีเครือข่าย/แกนนำมาด้วยดีตลอด ทำให้อัตราการตายลดลง ซึ่งผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมาย แต่ทั้งนี้ผู้สูงอายุยังมีผลกระทบจาการเสื่อมถอยของร่ายการตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุที่เกิดแก่ผู้สูงอายุ ทำให้ต้องมีการส่งเสริมสุขภาพดูแลรักษาและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ ทำให้ต้องมีการส่งเสริมสุขภาพดูแลรักษาและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ 3,4,5 และ 6 ตำบลนาเมืองเพชร ปี 2557 - 2559 พบว่า ปี 2557 มีผู้สูงอายุ จำนวน 324 คน อัตราการเพิ่มร้อยละ 12.63 ปี 2558 มีผู้สูงอายุ จำนวน 340 คน อัตราการเพิ่มร้อยละ 13.32 ปี 2559 มีผู้สูงอายุ จำนวน 354 คน อัตราการเพิ่มร้อยละ 13.87 นับว่าเป็นชุมชนที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุทุก ๆ ปีนั้น จำเป็นต้องมีการส่งเสริมเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มองเห็นความสำคัญของตนต่อสังคมรอบข้างว่าตนไม่ถูกทอดทิ้งให้เป็นผู้อยู่เดียวดายสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขอย่างมีคุณค่าและทำประโยชน์ให้แก่สังคมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสุข สุขภาพแข็งแรง พึ่งพาตนเองได้ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง จากผูู้ดูแลผู้สูงอายุ อสม./แกนนำ และภาคีเครือข่าย 3. เพื่อได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์สุขภาพมีการแสดงออกเป็นผู้กล้าทำกล้าคิด

1.ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองข้อมูล ความสามารในการประกอบกิจวัตรประจำวัน 2.ร้อยละ 30 ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1 (ติดสังคม) มีสุขภาพที่พึงประสงค์

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 พ.ค. 60 - 30 มิ.ย. 60 จัดอบรมชี้แจง อสม./ภาคีเครือข่าย/คณะทำงาน/ตัวแทนผู้ศุงอายุ 80 2,000.00 -
1 ก.ค. 60 - 31 ต.ค. 60 ประเมินคัดกรองความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ/การมีสุขภาพที่พึงประสงค์ 354 5,531.00 -
1 ก.ค. 60 - 31 ต.ค. 60 จัดอบรม อสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุ 90 13,648.00 -
รวม 524 21,179.00 0 0.00
  1. สำรวจ จัดทำและปรับปรุงทะเบียนรายชื่อผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน
  2. จัดเตรียมสถานที่ฝึกอบรม และประสานงานวิทยากร
  3. อบรมชี้แจง อสม./ภาคเครือข่าย/คณะทำงาน/ตัวแทนผู้สูงอายุ ชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน แนวทางการดูแลผู้สูงอายุ ก่อนเริ่มดำเนินการ
  4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับทีมงาน อสม. ประเมินคัดกรองความสามารถในการประกอบกิจวตรประจำวันของผู้สูงอายุ/การมีสุขภาพที่พึ่งประสงค์ ประเมินวิเคราะห์สภาพปัญหา สมรรถนะสุขภาพปัญหา
  5. กิจกรรมอบรม อสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตามสภาพปัญหา
  6. ทีมหมอครอบครัวร่วมให้ความรู้ด้านสุขภาพ ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมตามแต่โอกาส
  7. ทีมหมอครอบครัวร่วมกับ อสม.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ เพื่อประเมินสุขภาพและติดตามผลตามความจำเป็นของแต่ละคน
  8. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ภาคีเครือข่ายสุขภาพและแกนนำ สามารถประยุกต์ใช้ศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ได้อย่างเต็มที่
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง สามารถดูแลตนเองและเข้าร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองและสังคม ตลอดทั้งร่วมผสมผสานวัฒนธรรมในท้องถิ่นและวิถีชุมชนอย่างแท้จริง
  3. ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีเกิดความเชื่อมั่นในตนเองในการแสดงออกและการวางตัว ต่อครอบครัวตลอดถึงสังคม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2560 09:57 น.