กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6961-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 50,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุชาดา เดชนำบัญชา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละร้านชำที่ได้รับการตรวจสอบและผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
94.00
2 ร้อยละสถานประกอบการขนมจีนที่ผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ PGMP
83.00
3 ร้อยละของสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับการตรวจสอบและผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
96.00
4 ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
98.00
5 ร้อยละของร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์ Clean Food Good Taste
64.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกปี 2563 พบว่ายังมีปัญหาอีกมากมาย เช่น สถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพบางแห่งยังไม่ผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ร้านชำ ตรวจ 115 ร้าน ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 108 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 94 สถานประกอบการขนมจีน 6 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 83 นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิตและจำหน่ายบางรายการยังไม่ได้มาตรฐาน เช่นถั่วฝักยาว ผักบุ้ง องุ่น ตรวจพบยาฆ่าแมลงในระดับที่ไม่ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ผสมยาลดความอ้วน ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น จากการสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตรวจสอบสารปนเปื้อนโดยส่งตรวจวิเคราะห์ ณ ศูนย์วิทย์ฯ และตรวจสอบโดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย จำนวน 270 ตัวอย่าง ผ่านมาตรฐาน 265 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 98 ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารบางแห่งยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จากการตรวจทั้งหมด 250 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 160 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 64 ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเกิดความไม่ปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์คปสอ.สุไหงโก-ลกจึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปี 2564

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำกับดูแลสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละของสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับการตรวจสอบและผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด พร้อมแนบข้อมูลรายละเอียดการตรวจตามกลุ่มเป้าหมาย

96.00 98.00
2 เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิตให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และเกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด พร้อมแนบข้อมูลรายละเอียดการตรวจตามกลุ่มเป้าหมาย

98.00 100.00
3 เพื่อกำกับดูแลร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์ Clean Food Good Taste พร้อมแนบข้อมูลรายละเอียดการตรวจตามกลุ่มเป้าหมาย

64.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อกำกับดูแลสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิตให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และเกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อกำกับดูแลร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 - 9 เม.ย. 64 ประชุมวางแผนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 0.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก 5,600.00 -
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 64 ตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิตและจำหน่ายในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก(ทดสอบสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ) 45,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
  2. ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
  3. มีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  4. ประชาชนในพื้นที่บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย
  5. ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์ CLEAN FOOD GOOD TASTE
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2563 00:00 น.