กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน
รหัสโครงการ 64-L1542-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน หมู่ที่ 4
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 1 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 31,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลยา เหลือแดง
พี่เลี้ยงโครงการ นายกิตติศักดิ์ บุญทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.033,99.449place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2564 1 ก.ย. 2564 31,500.00
รวมงบประมาณ 31,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านตะเสะ มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลและมีร่องน้ำยื่นเข้าไปใต้อ่าว ในช่วงฤดูมรสุมคลื่นจะซัดพาขยะจากทะเลเข้ามาแนวชายฝั่ง ซึ่งมีต้นไม้โกงกางในป่าชายเลน ประกอบกับประชาชนได้ปลูกที่พักอาศัยในรอบบริเวณแนวชายขอบป่าชายเลนซึ่งมีแนวเขื่อนที่ก่อสร้างขวางกั้นไว้ไม่ให้เกิดการกัดเซาะ ชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณตลอดแนวเขื่อนขาดการจัดการขยะ จึงทำให้ครัวเรือนดังกล่าวขาดวินัยในการจัดการขยะ ทิ้งขยะลงในทะเล ทิ้งเกลื่อนกลาดบริเวณฝั่งริมถนน อีกทั้งหมู่ที่ ๔ บ้านตะเสะมีท่าเรือที่ใช้เดินทางข้ามฝั่งไปเกาะสุกร และเกาะอื่นๆ ประชาชน นักท่องเที่ยว ทั้งในฤดูกาลท่องเที่ยวและนอกฤดูแม้นกระทั้งคนบนเกาะสุกรที่ข้ามฝั่งมา สร้างขยะไว้ในพื้นที่ซึ่งเป็นขยะจร บริเวณท่าเรือในแต่ละวันมีปริมาณหลายกิโลกรัม/วัน บวกกับคนชุมชนในละแวกดังกล่าวก็ขาดการจัดการขยะ ทำให้ขยะล้น ไม่มีที่กำจัด อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านพร้อมด้วยผู้นำในพื้นที่ เกิดการวิตกกังวลต่อปัญหาที่เกิดขึ้น หากปล่อยไว้คงทำให้โรคระบาดอาจจะตามมา
      ดังนั้น  เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคที่อาจจะเกิดขึ้น อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน หมู่ที่ ๔ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อให้ครัวเรือนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างถูกต้อง และเพื่อเป็นส่งเสริมสุขภาพของของบุคคลในครัวเรือนให้มีสุขภาพดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ .๑ เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของตนเองอย่างเป็นระบบ ข้อที่ ๒ เพื่อป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นจากขยะที่ได้หมักหมมไว้ในครัวเรือน

ร้อยละ ๘๐ ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการจัดการขยะ               ของตนเองได้ดี
ร้อยละ ๘๐  ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสุขภาพดี                 ป้องกันโรคที่เกิดจากขยะได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 31,500.00 1 31,500.00
1 ม.ค. 64 - 1 ก.ย. 64 โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน 50 31,500.00 31,500.00

๑. จัดทำโครงการเสนอกองทุน สปสช. อบต.ตะเสะ เพื่อขออนุมัติ   .๒ จัดประชุมครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อทำความเข้าใจและแนวทางในการจัดการขยะในครัวเรือนอย่างเป็นระบบ   ๓.จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์/ป้ายรณรงค์ห้ามทิ้งขยะ/ทิ้งขยะให้ถูกที่/ลงถัง ฯลฯ   .๔ กำหนดจุดวางท่อซิเมนต์พร้อมฝาปิดเพื่อจัดการขยะที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หลังจากคัดแยกจากครัวเรือน   ๕ รายงานผลหลังสิ้นเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของตนเองอย่างมีระบบ     ๒. สามารถป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นจากขยะได้     ๓. ขยะลดลง เกิดพื้นที่ไร้ขยะในชุมชนบ้านตะเสะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2563 15:06 น.