กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนเข้มแข็ง ร่วมกันออกกำลังกายด้วยการเล่นฟุตบอล
รหัสโครงการ 64-L5300-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมฟุตบอล VIP คลองขุด
วันที่อนุมัติ 11 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 21,596.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ร้อยตำรวจโทสุทธิ์ อรุณสวัสดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
35.00
2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
60.00
3 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันกระแสของการสร้างเสริมสุขภาพกำลังเป็นที่กล่าวถึงในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับสุขภาพได้ให้ความสำคัญในประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างมาก เป็นประเด็นการเคลื่อนไหวทางสาธารณสุขที่สำคัญ และถือได้ว่าเป็นจุดหักเหหรือการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ จากจุดเน้นของการบริการแบบ "ตั้งรับ" หรือ "โรงซ่อมสุขภาพ" ซึ่งเน้นการรักษาสุขภาพ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการเจ็บป่วย เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าระบบที่มุ่งการซ่อมสุขภาพเป็นระบบที่มีความสิ้นเปลืองต้นทุน ค่าใช้จ่ายสูง เกิดผลกระทบทั้งคนไข้และสังคม ในส่วนของคนไข้นอกจากจะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลแล้วยังต้องสูญเสียรายได้เนื่องจากขาดงานแล้วอาจมีปัญหาด้านสุขภาพจิต ในส่วนของสังคมส่วนรวมต้องแบกรับภาระ ความเจ็บป่วยเกินความจำเป็น ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูผู้เจ็บป่วย พิการ เสียทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า เสียโอกาสในการนำทรัพยากรไปใช้ในด้านต่างๆ เนื่องจากต้องนำมาใช้ในการลงทุนสร้างระบบบริการ เพื่อรองรับความเจ็บป่วย การทำให้สุขภาพดีจะทำให้ระบบเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรอรักษาและฟื้นฟูเมื่อสุขภาพเสียแล้ว ระบบสุขภาพจึงควรมุ่งเน้นที่การ "สร้างสุขภาพ"
จากการดำเนินงานด้านการสร้างสุขภาพในชมรมฟุตบอล VIP คลองขุด สมาชิกส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง มีภาวะอ้วนลงพุง ชอบรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม อีกทั้งออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ จากการสอบถามสมาชิกในชมรมฟุตบอล VIP คลองขุด พบว่ามีการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือด โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ซึ่งจากการที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายโดยการเล่นฟุตบอลใน 1 ปีที่ผ่านมาทำให้สมาชิกในชมรมที่มาออกกำลังกายเป็นประจำ จำนวน 22 คน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น อาการป่วยด้วยโรคประจำตัวไม่มีสมาชิกคนไหนที่มีอาการรุนแรงกว่าเดิม มี 4 คนที่มีค่าดัชนีมวลกายดีขึ้น และมี 3 คนที่มีความดันโลหิตลดลง ทางชมรมฟุตบอล VIP คลองขุดจึงได้จัดทำโครงการชุมชนเข้มแข็ง ร่วมกันออกกำลังกายด้วยการเล่นฟุตบอล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ต่อเนื่อง เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคและลดความรุนแรงของโรคให้กับสมาชิกชมรมฟุตบอล VIP คลองขุด เพื่อให้ชมรมฟุตบอล VIP คลองขุด มีการดูแลสุขภาพของตนเองที่ดียิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ที่สามารถลดภาวะเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนในตำบลคลองขุดมาร่วมกิจกรรมออกกำลังกายโดยการเล่นฟุตบอลเพิ่มขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีของคนเข้าร่วมกิจกรรม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนมาร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 3 วัน อย่างน้อยร้อยละ 80 ของสมาชิกชมรม

60.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมออกกำลังกายมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงลดภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย

ประชาชนที่เข้าร่วมออกกำลังกายมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงลดภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย อย่างน้อยร้อยละ 50

20.00 50.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

35.00 40.00
4 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

60.00 65.00
5 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

50.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 21,596.00 1 21,596.00
1 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดให้มีการออกกำลังกายโดยการเล่นฟุตบอลต่อเนื่องทุกวัน 40 21,596.00 21,596.00

1.จัดให้มีการออกกำลังกายโดยการเล่นฟุตบอลต่อเนื่องทุกวัน   จัดให้มีการออกกำลังกายโดยการเล่นฟุตบอลทุกวันจันทร์ - อาทิตย์
  เวลา 17.00 น - 19.00 น.
2.ประเมินผล การประเมินผล       ๑.นับจำนวนสถิติการมาเข้าร่วมออกกำลังกายของประชาชนในแต่ละวัน ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมออกกำลังกายมีการออกกำลังกายทุกวันหรืออย่างน้อย 3 วัน / สัปดาห์       ๒.ประเมินดัชนีมวลกายและรอบเอวจากแบบบันทึกรายประจำเดือน 3.สรุปและประเมินผลโครงการ พร้อมรายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ   เทศบาลตำบลคลองขุด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สมาชิกในชมรมมีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน อย่างน้อยร้อยละ 80 ของสมาชิกชมรมและสมาชิกที่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน) มีความตระหนักถึงการออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อลดภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย และมีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมในชมรมเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2563 00:00 น.