กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ หมู่ที่5
รหัสโครงการ 64-L3013.02-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มัสยิดกูวิงบ้านกูวิง หมู่ที่5
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 มีนาคม 2564 - 24 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 24 มิถุนายน 2564
งบประมาณ 17,280.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวอุมา เจะโวะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 14 มี.ค. 2564 24 พ.ค. 2564 17,280.00
รวมงบประมาณ 17,280.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มัสยิดเป็นองค์กรที่สำคัญยิ่งในศาสนาอิสลาม เป็นองค์กรที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคนให้เป็นคนดีและพัฒนามุสลิมให้เป็นมุสลิมที่สมบูรณ์ มัสยิดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนมุสลิมและเป็นสัญลักษณ์ที่สามารถบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรือง และความเสื่อมถอยของชุมชนนั้น ๆ ได้อย่างดี เมื่อหันมาดูบทบาทของมัสยิดในปัจจุบัน พบว่ามีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการที่สามารถทำให้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนได้ นอกจากนี้ความสะอาดถือเป็นหลักการสำคัญในศาสนาอิสลาม เป็นกึ่งหนึ่งหรือครึ่งหนึ่งของการศรัทธา อิสลามได้กำหนดบทบาทหน้าที่ประจำวันของมุสลิม ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนให้ครอบคลุมและผูกพันกับการรักษาความสะอาด ร่างกาย เสื้อผ้า อาหาร และอื่น ๆ ทั้งส่วนตัวและสาธารณะ และอิสลามยังกำหนดให้ความสะอาดนั้นเป็นเงื่อนไขสำคัญที่มีผลผูกพันกับการปฏิบัติศาสนกิจของผู้ศรัทธาหลายประการ เช่น การละหมาด เป็นต้น
ดังนั้น จึงมีแนวคิดปลูกจิตสำนึกในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมผ่านทางศาสนาและผู้นำศาสนา เพื่อให้ผู้นำศาสนาและประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จัดการด้านความสะอาดและควบคุมป้องกันโรค จึงได้จัดทำโครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ หมู่ที่5 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำศาสนา และประชาชนทั่วไปเข้าใจหลักศาสนากับการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

ร้อยละ 80 ของประชาชนนำหลักศาสนามาปรับใช้กับการปรับปรุงสภาพแวดล้อม รักษาความสะอาดภายในมัสยิดเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
26 ก.พ. 64 ปรับปรุงภูมิทัศน์ สภาพแวดล้อมและการรักษาความสะอาดของมัสยิด 30 1,500.00 -
26 ก.พ. 64 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ และเด็กตั้งครรภ์ 30 13,780.00 -
14 มี.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 20 500.00 -
14 มี.ค. 64 - 24 พ.ค. 64 ประชุมบริหารจัดการโครงการ 0 0.00 -
15 มี.ค. 64 - 23 พ.ค. 64 สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี 0 0.00 -
29 มี.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2 20 500.00 -
29 เม.ย. 64 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3 20 500.00 -
24 พ.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4 20 500.00 -
รวม 140 17,280.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มัสยิดเป็นแหล่งที่มีการสร้างสุขภาวะที่ดี

2.ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกมัสยิดให้ถูกสุขลักษณะ

3.ประชาชนในชุมชนสามารถนำหลักคำสอนของศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2563 15:38 น.