กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริมสุขภาพและสร้างภูมิคุ้มกันกลุ่มเสี่ยงยาเสพติดและสิ่งอบายมุข
รหัสโครงการ 64-L2480-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษามะรือโบออก
วันที่อนุมัติ 5 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มกราคม 2564 - 13 มกราคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 11 กุมภาพันธ์ 2565
งบประมาณ 50,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัสฮาร์ อัสมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษาเป็นสิ่งที่จะต้องดำเนิน ควบคู่กันไปการพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยแก่นักเรียน การให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยการให้ความรู้ด้านสุขภาพช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปัญหายาเสพติดนั้นถือได้ว่าเป็นปัญหาระดับประเทศอีกปัญหาหนึ่ง การระบาดที่กระจายตัวอย่างรวดเร็วในสังคมไทยเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากมาก เนื่องจากคนไทยในปัจจุบันไม่รู้จักการหลีกเลี่ยงเพราะอยากรู้ อยากลองบางคนมีความโลภที่จะหาเงินทางลัด โดยการนำมาขายเพื่อหวังกำไรที่มากมายมหาศาล โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรมที่ควรปฏิบัติต่อประเทศชาติผลจากการเห็นแก่ตัวของกลุ่มคนเหล่านี้ ส่งผลต่อเด็กเยาวชนของไทยที่จะมีอนาคตในภายภาคหน้าที่สดใส แต่กลับต้องหลงเชื่อโดยการอยากรู้อยากลองสารเสพติดเหล่านั้น ถูกการชักจูง การมั่วสุม และการหลอกให้เป็นเครื่องมือในการค้าขายสารเสพติด ถ้าเยาวชนทุกคนตกเป็นทาสของยเสพติดอนาคตของประเทศคงจะพบกับการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงเป็นแน่แท้ ยาเสพติดไม่มีผลดีต่อร่างกายและยังให้โทษอีกมากมายมหาศาลเนื่องจากเยาวชนไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากสังคมอย่างเพียงพอ ครอบครัวควรเป็นแบบอย่างในการให้ความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องกับเยาวชน เพื่อเป็นการช่วยกันขับเคลื่อนไปในทางที่ถูกที่ควร สิ่งเสพติดนั้นจะเข้าหากลุ่มเยาวชนได้อย่างง่ายมาก เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีความคึกคะนองพอสมควร ถ้าปล่อยให้สิ่งเสพติดนั้นทำลายเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ประเทศไทยคงต้องพบกับสิ่งเลวร้ายอย่างยิ่ง จากคำกล่าวที่ว่า เยาวชนเป็นอนาคตของชาติถ้าไม่ป้องกันและให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและการหลีกเลี่ยงจากยาเสพติดแก่เยาวชนอนาคตของชาติคงถูกทำลายด้วยยาเสพติดเป็นแน่ ด้วยเหตุนี้โรงเรียนบ้านมะรือโบออก มิตรภาพที่ ๑๙๙ ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพ และการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดและสิ่งอบายมุข จึงได้จัดทำโครงการการส่งเสริมสุขภาพและสร้างภูมิคุ้มกันกลุ่มเสี่ยงยาเสพติดและสิ่งอบายมุขขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้องรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ นักเรียน ได้เรียนรู้การป้องกันโรคและภัยอันตรายใกล้ตัวต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียน สร้างความตระหนักในการสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนมีความแข็งแกร่งพอที่จะเผชิญกับโลกภายนอก นอกจากนี้นักเรียนยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืช สมุนไพรใกล้ตัวที่สามารถนำมารักษาโรค และสนุกสนานกับการออกกำลังด้วยกีฬาประเภทต่างๆ ที่ส่งเสริมด้านสุขภาพตลอดจนนักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและตระหนักในการดูแลรักษาสุขภาพให้ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ

นักเรียนร้อยละ ๘๐ รักสุขภาพและตระหนักในการดูแลรักษาสุขภาพให้ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ

160.00 160.00
2 เพื่อรณรงค์สร้างกระแสปลุกจิตสำนึกในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแก้ไขปัญหายาเสพติด

นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ ๙๐ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด

160.00 160.00
3 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความตระหนักของภัยยาเสพติด

นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกคน มีความตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด มีภูมิคุ้มกันและไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

160.00 160.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
12 ม.ค. 65 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน 160 29,600.00 29,600.00
12 ม.ค. 65 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล 0 0.00 -
12 ม.ค. 65 กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้พืชสมุนไพรในชีวิตประจำวัน 0 0.00 -
13 ม.ค. 65 กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันกลุ่มเสี่ยงและเฝ้าระวังยาเสพติดและอบายมุข 160 21,200.00 21,200.00
13 ม.ค. 65 กิจกรรมที่ 5 การเรียนรู้เป็นฐานเกี่ยวกับยาเสพติด 0 0.00 -
13 ม.ค. 65 กิจกรรมที่ 6 ต้นกล้าพันธุ์ใหม่ 0 0.00 -
รวม 320 50,800.00 2 50,800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนมีสุขภาพดีทุกคน ๒. โรงเรียนปลอดยาเสพติด ๓. บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย ๔. บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนมีอัตราการเจ็บป่วยที่เกิดจากการแพร่พันธุ์ของโรคลดลง ๕. นักเรียนรู้จักการจัดสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง มีสุขนิสัยและพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีตั้งแต่วัยเรียน ๖. นักเรียนมีความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติผู้อื่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2563 00:00 น.