กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลด ละ เลิก บุหรี่ ในโรงเรียนมูฮัมมาดียะห์ ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L2981-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนมูฮัมมาดียะห์
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 1 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2564
งบประมาณ 21,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนมูฮัมมาดียะห์
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลก้อเดช โต๊ะยะลา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่สูบบุหรี่
30.00
2 จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี (คน)
40.00
3 ร้อยละของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน
20.00
4 จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงาน เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ (คน)
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่ถือเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสุขภาพทั้งต่อผู้สูบและผู้ที่อยู่รอบข้าง และยังถือเป็นสาเหตุลำดับที่สองของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรในคนไทย จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน 11.4ล้านคน อัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคน อยู่ในกลุ่มอายุ 25-59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6 และกลุ่มอายุ 15-24 ปีร้อยละ 14.7ตามลำดับเป็นผู้ชายร้อยละ 40.5 และผู้หญิงร้อยละ 2.2 มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว2-3 แสนคนต่อปี คนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คน และเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมดผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสอง หากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 8 ล้านคน ใน 20 ปีข้างหน้า และจากข้อมูลสถานการณ์การบริโภคยาสูบรายจังหวัดพบว่า ในปี 2557 จังหวัดปัตตานีมีอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป อยู่ที่ร้อยละ 28 เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ และมีอัตราการสูบบุหรี่ของเพศชายอายุ 15 ปีขึ้นไป สูงถึงร้อยละ 57 นอกจากนี้ยังพบรายงานการวิจัยการประเมินสถานการณ์ยาสูบจังหวัดปัตตานี เพื่อการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ปี 2556 สุ่มตัวอย่างประชากรในพื้นที่จำนวน 1,762 ราย พบว่า อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่อยู่ที่ 17 ปี และพบอายุต่ำที่สุดที่เริ่มสูบคือ อายุ 7 ปี ในพื้นที่ตำบลนาประดู่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 6,160 คน มีประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 941 คน เป็นเพศชาย 464 คน และเพศหญิง 464 คน ปัจจุบันมีเยาวชนจำนวนไม่น้อยมีการสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุยังน้อย และการร่วมกลุ่มกันของเยาวชนหรือวัยรุ่นในวัยอยากรู้อยากลองนี้ ทำให้เสี่ยงต่อการชักชวนกันสูบบุหรี่ในโรงเรียนมากขึ้น การให้ความรู้และทำความเข้าใจหรือการปรับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่ จะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เยาวชนรู้เท่าทันและป้องกันตนเองจากบุหรี่ได้ไม่มากก็น้อย อีกทั้งใน ปัจจุบันเยาวชนและประชาชนจำนวนไม่น้อยยังมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ในเขตโรงเรียน สถานที่ราชการ และสถานที่สาธารณะ สาเหตุหนึ่งมาจากขาดการทำข้อตกลงที่ชัดเจนและกำหนดพื้นที่เฉพาะสำหรับผู้สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดนักสูบรายใหม่ และเป็นการเพิ่มโอกาสให้นักสูบรายเก่าสูบบุหรี่มากขึ้น ยากต่อการเลิกบุหรี่ และยังเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดโทษแก่ผู้ที่อยู่รอบข้าง ได้รับควันบุหรี่มือสองและสร้างความรำคาญ จากการสำรวจ พบว่าโรงเรียนมูฮัมมาดียะห์ถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นพื้นที่มีความน่าสนใจในการจัดทำโครงการ ในการนี้องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่เล็งเห็นถึงความสำคัญ และประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการปลอดบุหรี่ในโรงเรียนมูฮัมมาดียะห์ ในปีงบประมาณ 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน

อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

30.00 25.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี

จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ (ร้อยละ)

40.00 30.00
3 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน

อัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้านของตนเองลดลงเหลือ(ร้อยละ)

20.00 10.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

0.00 3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,000.00 0 0.00
4 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 เพิ่มผู้ขับเคลื่อนการควบคุมการสูบบุหรี่ในโรงเรียน 0 2,300.00 -
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมบริการช่วยเลิกหรือส่งเสริมการเลิกยาสูบอย่างเป็นระบบ 0 17,200.00 -
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 เพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้ข้อบังคับหรือกฏโรงเรียนโดยการสร้างและพัฒนามาตรการควบคุมการสูบบุหรี่ในโรงเรียน สำหรับควบคุมการสูบบุหรี่ 0 1,500.00 -
  1. ตั้งคณะทำงาน และจัดประชุมคณะทำงาน

2.ประชาสัมพันธ์โครกงารให้นักเรียนในโรงเรียนทราบ

3.สำรวจแะวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายด้วยแบบสำรวจก่อนและหลังการดำเนินโครงการ

4.จัดทำทะเบียนนักเรียนที่มีความประสงค์เข้าร่วมกิจกกรรม (กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มติดบุหรี่)

5.สนับสนุนให้โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ พร้อมติดป้ายเขตปลอดบุหรี่ในจุดต่างๆ และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย

6.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภัยของบุหรี่และเคล็ดลับการเลิกบุหรี่

7.จัดทำเอกสารให้ความรู้ความเข้าใจเคล็ดลับการเลิกบุหรี่ มอบสื่อและป้ายต่างๆให้แก้โรงเรียน

8.สนับสนุนสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มติดบุหรี่ เลิกบุหรี่ โดยมีการมอบรางวัลคนต้นแบบในการเลิกบุหรี่

9.สนับสนุนให้มีกลุ่มหรือชมรมเลิกบุหรี่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีฐานข้อมูลของผู้สูบบุหรี่ในโรงเรียน ผู้สูบที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ

2.เยาวชนและประชาชนมีความรู้ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภัยของบุหรี่และเคล็ดลับการเลิกบุหรี่

3.มีนโยบายการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดการสูบบุหรี่ในโรงเรียน

4.เกิดกลุ่ม / ชมรม เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในโรงเรียน และกลุ่มอาสาเฝ้าระวังบุหรี่ในโรงเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2563 09:52 น.