กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี ประจำปี 2564
รหัสโครงการ L5298-64-04-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขฯกองทุน
วันที่อนุมัติ 3 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 94,855.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมณฑา อีมาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.702,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 23 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)
10.00
2 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
100.00
3 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เป็นการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนทุกคนในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น โดยให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตโดยมีกิจกรรมที่กองทุนสามารถสนับสนุนแยกได้เป็น 5 ประเภท คือ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ และกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ซึ่งกิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานอื่น ๆ ที่กรรมการกองทุนแต่งตั้งให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็น กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีเพื่อใช้ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีเป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ 2. เพื่อจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานกองทุนฯ 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพกรรมการ คณะกรรมการกองทุนฯ เจ้าหน้าที่และบุคลากรสำหรับดำเนินงานและช่วยงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีให้เกิดประสิทธิภาพ 4. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ 2. เพื่อจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานกองทุนฯ 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพกรรมการ คณะกรรมการกองทุนฯ เจ้าหน้าที่และบุคลากรสำหรับดำเนินงานและช่วยงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีให้เกิดประสิทธิภาพ 4. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

3 พ.ย. 63 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี ครั้งที่ 1/64 20.00 5,800.00 -
8 ธ.ค. 63 ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 2 20.00 6,675.00 -
11 ก.พ. 64 ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 1/2564 20.00 2,350.00 -
19 ก.พ. 64 ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 2/2564 24.00 2,150.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ 1. ติดต่อประสานงานคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมายการประชุม 2. จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน 3. จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 4. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด - จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา อย่างน้อย 6 ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 6 ครั้ง/ปี - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ 1. จัดอบรมแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แก่คณะกรรมการกองทุนฯและคณะอนุกรรมการ 2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับกองทุนฯอื่น ๆ
3. เข้าร่วมการประชุม สัมมนา อบรมการดำเนินงานกองทุนฯ กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามประเมินโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ 1. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีโดยคณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 2 คน /โครงการ 2. นำเสนอผลการติดตามประเมินโครงการให้คณะกรรมการกองทุนฯรับทราบในการประชุมคณะกรรมการฯ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2564 1. จัดประชุมทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2564 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี 2. บันทึกข้อมูลแผนสุขภาพตำบลในระบบออนไลน์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่ม / ชมรม ผู้ขอรับสนับสนุนงบประมาณมีความเข้าใจหลักการในการเขียนโครงการมากขึ้น
  2. คณะกรรมการกองทุนฯมีความรู้และเข้าใจบทบาทของตนเองและสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. คณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุนฯ มีความเข้าใจความสามารถเกิดการประสานงานความร่วมมือของเครือข่ายภาคีภาครัฐ ให้การสนับสนุนและผลักดันให้เกิดกระแสดีๆริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านการดูแลป้องกันเรื่องสุขภาพ
  4. คณะกรรมการกองทุนฯนำความรู้ความเข้าใจจากการพัฒนาศักยภาพมาเป็นกระบวนการพัฒนาบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดีห่างไกลภัยไข้เจ็บ
  5. สำนักงานเลขากองทุนฯสามารถบริหารจัดการงานสำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2563 11:47 น.