กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลเมืองรามันห์
วันที่อนุมัติ 5 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางโนรฮาวา บิลฮีม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 39 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙ หมวด ๓ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา ๕๘ ได้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เพื่อให้คณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการ และแกนนำชุมชนสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจสามารถนำเสนอจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ และรู้บทบาทของคณะบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้สามารถศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาและร่วมกันวางแผนในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มได้อย่างเป็นระบบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ๒. เพื่อพิจารณาออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุนฯ ๓. เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ๔. เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนฯอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด ๕. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ

100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผนกำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการกองทุน และคณะอนุกรรมการ ltc
- กำหนดวันประชุมงบประมาณ

๒. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อกำหนดนัดหมาย - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการ LTC ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน
- จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม

๓. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด - จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯทศบาลตำบลเมืองรามันห์ จำนวน ๔ ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการ LTC เทศบาลตำบลเมืองรามันห์ จำนวน ๒ ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ จำนวน ๔ ครั้ง/ปี - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการกองทุนฯ /คณะอนุกรรมการกองทุนฯ /คณะอนุกรรมการ LTC

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. คณะกรรมการกองทุนฯ อนุกรรมการกองทุนฯ มีการบริหารงานกองทุนอย่างมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นและมีศักยภาพในการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ๒. คณะกรรมการกองทุนฯ อนุกรรมการกองทุนฯ มีความรึความเข้าใจสามารถเกิดการประสานงานความร่วมมือจองเครือข่ายภาคีภาครัฐ ให้การสนับสนุนและผลักดันให้เกิดกระแสดีๆ ริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านการดูแลป้องกันเรื่องสุขภาพ ๓. คณะกรรมการกองทุนฯ อนุกรรมการกองทุนฯ มีเวทีแสดงออกในกิจกรรมดีๆที่เหมาะสม ริเริ่มสร้างสรรค์ ได้มีการเสนอโครงการเรื่องการดูแลและป้องกัน เรื่องสุขภาพโรคภัย ไข้เจ็บ ๔. นำความรู้ความเข้าใจจากการพัฒนาศักยภาพมาเป็นกระบวนการพัฒนาบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดีห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ ๕. นำความรู้ความเข้าใจจากการพัฒนาศักยภาพมาเป็นกระบวนการพัฒนาบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดีห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2563 10:23 น.